Advertisement
|
ดวงตา คือประตูแห่งการเรียนรู้โลกกว้าง เด็กปกติสามารถมองเห็นได้ตั้งแต่แรกเกิด พัฒนาการทางสมอง การเรียนรู้ หรือพัฒนาการทางด้านร่างกายอื่น ๆ เช่น การคว่ำตัว คลาน นั่ง เดิน ต้องอาศัยการมองเห็นเป็นสำคัญ
นอกจากนี้ดวงตายังเป็นหน้าต่างของหัวใจ ความรู้สึกยินดีหรือไม่เป็นที่สบอารมณ์ก็ทำให้คนข้างเคียงสามารถรับรู้ได้จากการมองตา ทั้งนี้ ดวงตายังเป็นหน้าต่างของสมอง เนื่องจากโรคของสมองบางอย่างสามารถทำการวินิจฉัยเบื้องต้นได้โดยการมองผ่านดวงตา เมื่อดวงตามีความ สำคัญมากมายเช่นนี้ จึงควรมาสำรวจดูดวงตาของเราและคน ใกล้ชิดว่ามีความผิดปกติใด ๆ หรือไม่ โดยเฉพาะในเด็กซึ่ง ยังไม่สามารถสื่อสารให้ทราบได้ว่าตาของตัวเองมีความผิดปกติ แต่ปัญหาเกี่ยวกับตาบางอย่างถ้าเรารู้ได้เร็ว ก็สามารถรักษาให้เป็นปกติได้ เช่น “โรคตาขี้เกียจ”
โรคตาขี้เกียจ คืออะไร?
ตาขี้เกียจ คือ ภาวะที่การมองเห็นไม่เท่าปกติ หมายถึงตาข้างหนึ่ง ไม่ได้ใช้มองอันเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ การตรวจหาสาเหตุสามารถทำได้โดยการวัดความสามารถในการมองเห็น เด็กจะต้องได้รับการวัดสายตาและสวมแว่นตาก่อน แต่สำหรับในรายที่จำเป็นต้องใส่แว่น อาจพบว่าเป็นตาขี้เกียจข้างเดียวหรือสองข้างได้ โดยที่ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ในดวงตาและเส้นประสาทตา
ตาขี้เกียจพบได้บ่อยแค่ไหน?
พบได้ประมาณร้อยละ 2 ของประชากร หากคิดสัดส่วนประชากรไทย 60 ล้านคน จะมีคนเป็นตาขี้เกียจได้ถึงหนึ่งล้านสองแสนคน นับว่าไม่น้อยเลยทีเดียว แต่คนเราอาจจะไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหามากนัก เนื่องจากส่วนใหญ่มักจะเป็นข้างเดียว และคิดว่ายังมีตาอีกข้างที่มองเห็นได้ดี สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้เหมือนคนปกติ โดยไม่ทราบว่าถ้าคนเราสามารถใช้ตาทั้งสองข้างพร้อม ๆ กันจะชัดเท่า ๆ กัน จึงจะทำให้สามารถ มองเห็นภาพ มิติ หรือกะระยะลึกตื้นได้ ยกตัวอย่างเช่น ลองปิดตาหนึ่งข้างแล้วเดินลงบันได อาจต้องเกาะราวไว้แน่น ๆ เพราะไม่สามารถกะความลึกของบันไดขั้นต่อ ๆ ไปได้
สาเหตุใดทำให้เกิดตาขี้เกียจ?
1.โรคตาเหล่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กมีอาการตาขี้เกียจมากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดตาเหล่เข้าตั้งแต่กำเนิดหรือภายในหกเดือนแรกเกิด เมื่อใดที่เด็กเริ่มมีตาเหล่เข้า สมองก็จะสั่งการให้ตาข้างที่เหล่มองไม่เห็น เวลามองสองข้างพร้อม ๆ กัน มิฉะนั้นภาพซ้อนที่เกิดขึ้นจากตาเหล่จะรบกวนการดำเนินชีวิตของเขา เมื่อสมองสั่งให้มองไม่เห็นก็จะไม่มีการพัฒนาทางการมองเกิดขึ้น ตาข้างนั้นก็จะขี้เกียจไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมองไม่เห็นตลอด เมื่อเราปิดตาข้างที่ดี เอาข้างที่เหล่มามอง เด็กก็ยังสามารถมองเห็นได้ แต่จะไม่ดีเท่าตาปกติ
เด็กที่เป็นตาเหล่เข้าตั้งแต่เกิดทุกคน ไม่จำเป็นต้องมีตาขี้เกียจเหมือนกันหมด เนื่องจากบางคนตาอาจสลับกันเหล่ เดี๋ยวเหล่ตาซ้ายใช้ตาขวามอง เดี๋ยวเหล่ตาขวาใช้ตาซ้ายมอง ซึ่งจะทำให้สมองได้รับการพัฒนาทางการมองเห็นของตาทั้งสองข้างไปด้วยกัน ก็จะไม่มีปัญหาตาขี้เกียจ ดังนั้นเมื่อบุตรหลานหรือคนใกล้ชิดมีภาวะตาเหล่เข้าชนิดนี้ควรพาไปพบจักษุแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ การรักษาด้วยการผ่าตัดให้ตาตรงได้ก่อนอายุ 2 ขวบ จะทำให้เด็กมีโอกาสเห็นภาพสามมิติอย่างหยาบ ๆ และพอกะระยะได้ ถึงแม้จะไม่ดีเท่าคนปกติก็ตาม ในขณะที่การผ่าตัดหลังอายุ 2 ขวบ เด็กจะมองทีละตา ทำให้สูญเสียความสามารถดังกล่าวไป
2.โรคสายตาสั้น ยาว หรือเอียงสองข้างไม่เท่ากัน ถ้าสายตาทั้งสองข้างต่างกันจนทำให้ตาข้างหนึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ชัดในทุกระยะที่มอง ตาข้างนั้นก็จะไม่มีพัฒนาการเกิดขึ้น ความแตกต่างของความสั้น ยาว เอียง ก็มีผลต่อความรุนแรงของภาวะตาขี้เกียจ ยิ่งต่างกันมากก็ยิ่งขี้เกียจมาก
3.โรคสายตาสั้น ยาว หรือเอียงสองข้างมากพอ ๆ กัน เห็นไม่ชัดทั้งสองข้างในทุกระยะการใช้งาน ตาทั้งสองข้างจะขี้เกียจทั้งคู่
4.โรคที่ทำให้แสงผ่านเข้าในตาได้น้อย เช่น กระจกตาดำขุ่น ต้อกระจกตั้งแต่กำเนิด เลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา หนังตาตกมากจนปิดรูม่านตา โรค เหล่านี้อาจเกิดขึ้นในตาข้างเดียวหรือทั้งสองข้างได้ ทำให้ภาพที่ไปตกบริเวณจอประสาทตาไม่ ชัดและเป็นตาขี้เกียจขึ้นมา โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นต้อกระจกตั้งแต่เกิด ตาขุ่นขาวทึบจนแสงไม่สามารถผ่านเข้าในตาได้ ต้องรีบทำการผ่าตัดลอกต้อออกภายในสองเดือนแรกที่เกิด มิฉะนั้น ถึงแม้ผ่าตัดให้ดีอย่างไร ก็ไม่สามารถแก้ไขภาวะตาขี้เกียจที่รุนแรงได้
ตาขี้เกียจสามารถรักษาได้หรือไม่อย่างไร?
เราสามารถรักษาตาให้หายขี้เกียจได้ แต่จะได้ผลดีควรรักษาก่อนการมองเห็นจะพัฒนาเต็มที่หรือก่อนอายุ 8 ขวบ ส่วนขั้นตอนในการรักษามีดังนี้
1. ถ้าพบว่ามีสาเหตุที่สามารถผ่าตัดได้ก็ให้รีบทำก่อน เช่น ต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นในลูกตา หนังตาตก แล้วค่อยมากระตุ้นการมองเห็นโดยการปิดตาในภายหลัง
2. ถ้าวัดแว่นสายตาแล้ว มีสายตาสั้น ยาว เอียง ที่น่าจะเป็นสาเหตุของตาขี้เกียจ ก็ให้ใส่แว่นไปก่อน แล้วสายตาก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นเอง ถ้าใส่แว่นเต็มที่แล้วอย่างน้อย 6 เดือนยังขี้เกียจอยู่ ก็ให้กระตุ้นการมองเห็นโดยการปิดตาข้างที่ดี
3. ถ้ามีตาเขและตาขี้เกียจ ให้ปิดตาข้างที่ดี กระตุ้นใช้ตาข้างที่ขี้เกียจ ถ้าขี้เกียจมาก ให้ปิดอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง ถ้าขี้เกียจน้อยก็ปิดวันละ 2 ชั่วโมง ปิดจนกว่าสายตาสองข้าง จะเท่ากัน
อนึ่ง การปิดตากระตุ้นการมองเห็นควรให้เด็กมีกิจกรรมที่ใช้สายตา ไม่ใช่ปิดตาแล้วแอบนอนหลับ ต้องมีคนช่วยดูแล การรักษาภาวะตาขี้เกียจทำได้ไม่ยาก แต่ต้องอาศัยความร่วมมือของเด็ก ผู้ปกครอง รวมทั้งคุณครูที่โรงเรียน และถึงแม้ตาขี้เกียจจะรักษาได้ แต่ถ้าไม่ทราบว่ามีภาวะนี้ก็อาจสายเกินแก้ จึงควรพาบุตรหลานของท่านไปรับการตรวจเช็กดวงตา วัดสายตา เมื่อสงสัยว่ามีความผิดปกติหรือไม่ก่อนเข้าโรงเรียน.
รศ.พญ.อภัทรสา เล็กสกุล
หัวหน้าหน่วยโรคตาเด็ก ภาควิชาจักษุวิทยา
คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
|
|
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ |
วันที่ 14 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,860 ครั้ง |
เปิดอ่าน 91,422 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,210 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,571 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,958 ครั้ง |
|
|