Advertisement
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี โดย นายสันติ เล็กสุขุม
จิตรกรรมหรือภาพเขียนในประเทศไทยมีอยู่เมื่อหลายพันปีมาแล้ว เป็นภาพเขียนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือก่อนที่จะเกิดจิตรกรรมไทยแบบประเพณี
ผู้คนสมัยก่อนประวัติศาสตร์เขียนภาพบนผนังถ้ำ เพิงผา เช่น ภาพที่เกี่ยวกับการล่าสัตว์การเกษตรกรรม หรือพิธีกรรม ซึ่งนักวิชาการในปัจจุบันแม้ว่ายังอธิบายให้ชัดเจนไม่ได้ แต่ภาพเขียนเก่าแก่เหล่านี้ก็ช่วยให้เรานึกถึงลักษณะทางสังคมของคนในยุคนั้น เช่น หากเป็นภาพการล่าสัตว์ หรือการเพาะปลูก ผู้คนในยุคนั้นก็ย่อมมีวิถีชีวิตในระดับสังคมล่าสัตว์ หรือระดับสังคมเกษตรกรรม ซึ่งมีพัฒนาการทางเทคโนโลยีสูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง เป็นต้น
ภาพเขียนเหล่านี้ยังไม่มีระเบียบแบบแผนชัดเจน องค์ประกอบภาพซึ่งมีรูปบุคคลกิริยาท่าทางต่างๆ หรือรูปสัตว์ ที่ล้วนเขียนขึ้นอย่างอิสระ ไม่ถูกต้องตามสัดส่วนสรีระ คงเขียนขึ้นเพื่อสื่อความในหมู่เหล่าของตน
ภาพเขียนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เกิดจากการใช้เครื่องมือที่อาจเป็นกิ่งไม้ทุบปลายให้แตกเป็นฝอย ใช้เป็นแปรงเพื่อจุ่มสีเขียนภาพซึ่งได้เป็นเส้นหยาบๆ หรือระบายให้เป็นรูปร่างอย่างคร่าวๆ นอกจากนี้ยังมีการพ่นสี คงเป็นการอมสีไว้ในปากแล้วพ่นออกมา หรือพ่น โดยผ่านกระบอกไม้ลงบนมือซึ่งทาบทับบนผนังก็จะได้รูปมือ ตลอดจนพิมพ์ทาบทับ เช่น ทาบฝ่ามือที่ชุบสีลงบนผนังให้เกิดเป็นรูปรอยฝ่ามือบางแห่งได้พบว่ามีการเขียนแต่งเติมให้เป็นรูปมือที่สมบูรณ์ยิงขึ้น การสะบัดสีให้เป็นรูปรอยต่างๆ ก็มีอยู่ด้วย
|
|
หัวข้อ
จิตรกรรมในพุทธศาสนา
เริ่มสมัยประวัติศาสตร์เมื่อวัฒนธรรมทางศาสนาแพร่หลายเข้ามาศิลปกรรม และภาษาหนังสือ ก็ย่อมแพร่หลายเข้ามาพร้อมกันนั้นด้วยศิลปกรรมเป็นอุปกรณ์สำคัญในการสั่งสอนโดยเพิ่มเติมการถ่ายทอดภาษาพูดและภาษาเขียนด้วย ภาษาภาพ กล่าวคือ เล่าเรื่องด้วยภาพ เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาในหมู่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น
แหล่งกำเนิดศาสนาที่เผยแผ่เข้ามานั้นคือประเทศอินเดีย อารยธรรมอินเดียซึ่งแพร่หลายออกสู่โลกภายนอกราว ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐ - ๑๑ก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่เรียกว่า ทวาราวดี ซึ่งรับนับถือพุทธศาสนา
ศิลปกรรมในวัฒนธรรมทางทวาราวดี ทำหน้าที่ถ่ายทอดคำสอนในพุทธศาสนาให้เป็นรูปธรรม เช่น สร้างพระพุทธรูป หรือสร้างงานประติมากรรมเล่าเรื่องในศาสนา เช่น พุทธประวัติชาดก โดยสลักลงบนหิน หรือใช้ปูนปั้น รวมทั้งสร้างอาคารศาสนสถานที่ก่อด้วยอิฐ ปรากฏเป็นหลักฐานร่องรอยให้เห็นอยู่ แต่ไม่เหลือปรากฏหลักฐานทางด้านจิตรกรรม คงชำรุดเสียหายไปหมดแล้ว เพราะงานจิตรกรรมเขียนด้วยวัสดุที่ไม่คงทน ถูกแดดถูกฝนไม่นานก็หมดไป
สมัยสุโขทัยเริ่มต้นเมื่อราวปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีการติดต่อเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาของประเทศพม่า ลังกา จิตรกรรมของสมัยสุโขทัยจึงมีส่วนคล้ายคลึงกับจิตรกรรมของลังกา และพม่าอยู่บ้าง แต่ยังมีเอกลักษณ์ของตนเองที่เด่นชัดเป็นพิเศษตามลักษณะไทย มีการสืบทอดผ่านมาสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การติดต่อกับต่างบ้านต่างเมืองนำพาให้มีการถ่าย-รับอิทธิพลทางด้านศิลปวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน จิตรกรรมไทยแบบประเพณีได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีนที่เข้ามาผสมผสานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้ว และเด่นชัดมากในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งรัชกาลพระบาทสมเด็จ-พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะมีการติดต่อค้าขายกับประเทศจีนอย่างใกล้ชิดยิ่งกว่าอดีต จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บทบาทอย่างมากมายของอิทธิพลตะวันตกจึงมีผลต่อโฉมหน้าของจิตรกรรมไทยแบบประเพณี การผสมผสานครั้งนี้ได้ทำให้ลักษณะแบบประเพณีแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดก็กลายมาเป็นลักษณะสากล หรือที่เรียกว่าจิตรกรรมร่วมสมัยในปัจจุบัน
|
ข้อมูลจาก www.sanook.com
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 84,647 ครั้ง เปิดอ่าน 48,045 ครั้ง เปิดอ่าน 94,974 ครั้ง เปิดอ่าน 30,718 ครั้ง เปิดอ่าน 18,673 ครั้ง เปิดอ่าน 40,525 ครั้ง เปิดอ่าน 51,356 ครั้ง เปิดอ่าน 46,688 ครั้ง เปิดอ่าน 24,349 ครั้ง เปิดอ่าน 41,856 ครั้ง เปิดอ่าน 38,277 ครั้ง เปิดอ่าน 15,325 ครั้ง เปิดอ่าน 18,240 ครั้ง เปิดอ่าน 10,858 ครั้ง เปิดอ่าน 33,587 ครั้ง เปิดอ่าน 140,946 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 10,858 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 35,045 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 48,045 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 45,359 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,325 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 125,730 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 41,680 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 61,104 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,824 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,232 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,729 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,396 ครั้ง |
|
|