อย่าสิไลลืมถิ่ม มูลมังตั้งแต่เก่า
อย่าสิเผามอดเมี้ยนเสียถิ่มบ่มีเหลือ
บาดว่าเทื่อมื้อหน้า สิพาเฮาให้เฮืองฮุ่ง
อีสานเอาสิพุ่ง เจริญขึ้นก็แต่หลัง เด้อ...."
บทความข้างต้นเป็นบทกลอนที่เรียกว่า "ผญา" เป็นบทกลอนของคนอีสาน
สำหรับความหมายของคำผญาข้างต้นมีใจความรณรงค์ให้คนไทยร่วมกันอนุรักษ์
สืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไปเผื่อว่าวัฒนธรรมเหล่านี้จะสามารถนำ
ความเจริญมาสู่ประเทศของเราก็ได้ ..........
ฮีตที่ ๔ บุญเผวส หรือ บุญเดือนสี่ หรือ บุญมหาชาติ บุญพระเวส หรือ บุญเผวส เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บุญมหาชาติ หนังสือมหาชาติหรือพระเวสสันดรชาดกแสดงถึงจริยวัตรขอ' พระพุทธเจ้าคราวพระองค์เสวย พระชาติเป็นพระเวสสันดร เป็นหนังสือเรื่องยาว 13 ผูกการทำกันเดือนใดเดือนหนึ่งในระหว่างออกพรรษา จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่ส่วนมากนิยมทำกันในเดือนสี่ ดังคำพังเพยว่า
“ เดือนสามค้อยเจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ เดือนสี่ค้อยจัวน้อยเทศน์มะที ” คำว่า “เจ้าหัว” หมายถึง พระภิกษุ “จัว” หมายถึง สามเณร “มะที” หมายถึงมัทรี บางแห่งทำในเดือนหก หรือเดือนเจ็ดก็มี และถ้าทำในเดือนหกหรือเจ็ด มักจะทำบุญบั้งไฟด้วยกัน ก่อนการจัดงานทางบ้านและวัดจะมีการปรึกษาหารือตกลงกันให้เรียบร้อยเสียก่อน ทางชาวบ้านจะจัดอาหารการกิน และจัดหาปัจจัยไทยทานสำหรับใส่กัณฑ์เทศน์ เพื่อถวายพระภิกษุ สามเณร
ส่วนทางวัดก็จะแบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ หนังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลายกัณฑ์ก็ได้ เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์โดยทั่วถึงกัน แล้วมอบหนังสือให้พระภิกษุ สามเณร ในวัดนั้นเพื่อเตรียมไว้เทศน์ นอกนั้นจะเป็นการนิมนต์พระภิกษุจากวัดอื่นมาเทศน์ โดยจะมีฎีกาใบนิมนต์พร้อมบอกชื่อกัณฑ์ และบอกเชิญชวนชาวบ้านที่วัดนั้นตั้งอยู่มาร่วมทำบุญด้วย ซึ่งตามปกติเมื่อพระภิกษุ สามเณรมาร่วมงานก็จะมีญาติโยมในหมู่บ้านนั้น ๆ ตามมาฟังเทศน์ และร่วมงานด้วย หัวหน้าหรือผู้จัดงานในหมู่บ้านที่เป็นเจ้าของงานจะบอกบุญชาวบ้านในหมู่บ้านของตน ให้รับเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ กัณฑ์ใดกัณฑ์หนึ่งจนทั่วถึงกัน และบอกจำนวนคาถาของแต่ละกัณฑ์ให้ทราบด้วย เพื่อเตรียมเทียนมาตามจำนวนคาถาของกัณฑ์ที่ตนรับ
"ฮีตหนึ่ง พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผามาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้อย่าได้ไลหนีเว้นแนวคองตั้งแต่เก่า ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ ให้ฝูงซาวเฮาแท้อย่าไลคองตั้งแต่ก่อน มันสิหมองเศร้าเมืองบ้านสิทุกข์จนแท้แหล่ว"
ในการทำบุญพระเวสฟังเทศน์มหาชาติ มูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัย แสนว่า ถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะพบพระศรีอริยะเมตไตย หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธองค์แล้ว จง อย่าฆ่าบิดามารดา สมณะ พราหมณาจารย์ อย่ายุยงให้พระสงฆ์แตกสามัคคีกัน กับให้อุตส่าห์ฟัง เทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบสิ้นภายในวันเดีนว เป็นต้น ในงานบุญนี้มักจะมีผู้นำ ของมาถวายพระ ซึ่งเรียกว่า "กัณฑ์หลอน" หรือถ้าจะถวายเจาะจงเฉพาะพระนักเทศน์ที่ตนนิมนต์ มา ก็เรียกว่า "กัณฑ์จอบ" เพราะต้องแอบซุ่มดูให้แน่เสียก่อนว่าใช่พระรูปที่จะถวายเฉพาะเจาะจง หรือไม่?
บุญเดือนสี่ บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ
"ฮีตหนึ่งนั้นพอเถิงเดือนสี่ให้เก็บดอกบุปผา
หามาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้
อย่าไลคองนี้เสียศรีสูญเปล่า
หาเอาตากแดดไว้ใทแท้สู่คนแท้ดาย
อย่าไลหนีเว้นแนวคองตั้งแต่เก่า
ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ
ให้ฝูงชาวเฮาแท้อย่าไลคองตั้งแต่ก่อน
มันสิหมองหม่นเศร้าเมืองบ้านสิทุกข์จน แท้แหล่ว"
บุญเดือนสี่หนือบุญมหาชาติหรือบุญเผวส ก็คือบุญอันยิ่งใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับพระมหาเวสสันดรชาดกนั่นเอง กำหนดการทำบุญเผวสจะเป็นในช่วงเดือนสี่ข้างแรมถึงเดือนห้า จะถือเอาวันใดเป็นวันบุญก็ได้ตามแต่จะตกลงกันในหมู่บ้าน เมื่อตกลงวันกันได้แล้ว ก่อนถึงวันงานก็จะมีการเตรียมงานบุญโดยมีการเตรียมดอกไม้ อาหารคาวหวาน ขนม ข้าวต้ม ไว้สำหรับถวายพระและเลี้ยงแขกในงาน และเตรียมหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ เทียน ธูป มีดดาบอย่างละพัน และข้าวดอกดอกไม้ไว้สำหรับบูชาคาถาพัน
ส่วนผู้ที่มีฝีมือในการวาดภาพก็จะช่วยกันวากภาพบนผืนผ้าสีขาวไว้สำหรับแห่ ส่วนทางวัดก็แบ่งหนังสือออกเป็นกัณฑ์ ๆ หนังสือผูกหนึ่งอาจแบ่งเป็นหลาย ๆ กัณฑ์ก็ได้ เพื่อให้ชาวบ้านได้รับกัณฑ์ทั่วถึงกัน มอบหนังสือให้พระภิกษุสามเณรในวัดเพื่อเตรียมไว้เทศน์ หรืออาจนิมนต์พระจากวัดอื่นมาเทศน์ด้วย
ว่ากันว่า สาเหตุที่มีการทำบุญเผวสมาจากโบราณกาลเล่าไว้ในหนังสือมาลัยหมื่นมาลัยแสนว่า เมื่อครั้งที่พระมาลัยเถรเจ้าได้เดินทางไปไหว้สักการะพระธาตุเกษแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ได้พบกับพระศรีอาริยเมตไตรยพระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระมาลัยว่า หากมนุษย์ผู้ใดต้องการพบกับพระองค์และเกิดในศาสนาของพระศรีอารย์ก็ขออย่าได้กระทำบาปหนัก คือ ไม่ฆ่าบิดามารดา ไม่ฆ่าครูบาอาจารย์ ไม่ฆ่าพระสงฆ์สามเณร จงเคารพพวกท่านเหล่านั้น และต้องฟังเทศน์มหาชาติคาถาพันให้จบภายในวันเดียว ด้วยหวังในอานิสงฆ์นั้น พุทธศาสนิกชนชาวไทยและชาวอีสานจึงมีความศรัทธาที่จะทำบุญมหาชาติหรือบุญเผวสกันในเดือนนี้
ในวันโฮมหรือวันรวมชาวบ้านจะออกมารวมตัวกันเพื่อทำพิธีนิมนต์พระอุปคุตในตอนเช้ามืด พอตอนประมาณบ่ายสามหรือสี่โมงในวันโฮมหรือวันรวมชาวบ้านก็มารวมกันอีกครั้งที่วัดเตรียมตัวจัดขบวนแห่ไปอัญเชิญพระมหาเวสันดรและพระนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติป่าแห่งใดแห่งหนึ่งในหมู่บ้านเป็นที่ที่สองอยู่ ในพิธีอัญเชิญก็จะมีพระพุทธรูป 1 องค์ พระภิกษุ 4 รูป ขบวนประชาชนและทิวผ้าที่เขียนเรื่องราวของพระเวสสันดร เวียนขวารอบวัดหรือศาลาโรงธรรม 3 รอบ ในตอนเย็นก็จะมีการเทศน์มหาชาติ ในขณะที่พระกำลังเทศน์อยู่นั้นหากผู้ใดพอใจก็จะมีการถวายเงินด้วยความเลื่อมใสศรัทธา การบริจาคของชาวอีสานมีสองรูปแบบคือกัณฑ์หลอนและกัณฑ์จอบ กัณฑ์หลอนคือ หากแห่ขบวนเครื่องไทยทานและเงินบริจาคที่รวบรวมไว้ไปถึงวัดขณะที่พระรูปใดกำลังเทศน์อยู่ก็จะมอบให้รูปนั้น ส่วนกัณฑ์จอบก็คือ หากชาวบ้านต้องการเจาะจงว่าจะมอบให้พระรูปใดก็ส่งสายลับไปแอบไปดูก่อนว่าพระรูปนั้นเทศน์ตอนไหน ก็จะกะระยะเวลเคลื่อนขบวนให้พอดี