ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมศิลปศึกษาและดนตรี  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การสร้างจิตรกรรมฝาผนังของช่างไทยในสมัยโบราณ


ศิลปศึกษาและดนตรี เปิดอ่าน : 18,443 ครั้ง
Advertisement

การสร้างจิตรกรรมฝาผนังของช่างไทยในสมัยโบราณ

Advertisement

การสร้างจิตรกรรมฝาผนังของช่างไทยในสมัยโบราณ โดย นายสันติ เล็กสุขุม
          กรรมวิธีสร้างจิตรกรรมฝาผนังไทยโบราณไม่ได้มีการบันทึกไว้แน่ชัดว่ามีขั้นตอนโดยละเอียดอย่างไร ใช้วัสดุอะไรบ้าง แต่เท่าที่มีผู้ศึกษาและสอบถามช่างเขียนรุ่นเก่าที่ยังมีชีวิตอยู่ สามารถเรียบเรียงเป็นความรู้เบื้องต้นได้ว่าต้องมีการเตรียมผนัง มีการลงสีรองพื้นด้วยวิธีการพิเศษก่อนที่จะเขียนภาพ

         
การเตรียมผนังต้องมีกรรมวิธีที่ดี ต้องให้ผิวพื้นเรียบ เมื่อระบายสีและตัดเส้น จะทำได้อย่างประณีต ผนังที่เตรียมอย่างดีแล้วต้องไม่ดูดสีที่ระบายอีกด้วย

         
เพื่อไม่ให้พื้นผนังดูดสีที่จะเขียน การเตรียมผนังจึงต้องหมักปูนขาวที่จะฉาบผนังไว้นานราว ๓ เดือน หรือนานกว่านั้น ระหว่างหมักปูนต้องหมั่นถ่ายน้ำจนความเค็มของปูนลดน้อยลง ต่อจากนั้นจึงนำปูนที่หมักมาเข้าส่วนผสม มีน้ำอ้อยที่เคี่ยวจนเหนียวประมาณความเหนียวของน้ำผึ้ง และยังมีส่วนผสมของกาวที่ได้จากยางไม้ หรือกาวหนังสัตว์ที่ได้จากการเคี่ยวหนังวัว หนังควาย หรือหนังกระต่าย ก็มีบางแห่งมีทรายร่อนละเอียดเป็นส่วนผสมอยู่ด้วยส่วนผสมดังกล่าวจะทำให้ปูนมีความแข็งเหนียว และผิวเรียบเป็นมัน เมื่อปูนฉาบแห้งสนิทแล้วมีการชโลมผนังด้วยน้ำต้มใบขี้เหล็กเพื่อลดความเป็นด่างของผนัง เพราะเชื่อว่าด่างจะทำปฏิกิริยากับสีบางสีเช่นสีแดงให้จางซีด

         
การทดสอบว่าผนังยังมีความเป็นด่างอยู่อีกหรือไม่ กระทำได้ด้วยการใช้ขมิ้นขีดที่ผนัง หากสีเหลืองของขมิ้นเปลี่ยนเป็นสีแดง แสดงว่าผนังยังมีความเป็นด่าง ต้องชะล้างด้วยน้ำต้มใบขี้เหล็กต่อไปอีก

         
เสร็จจากขั้นตอนการเตรียมผนัง ก็ถึงการทารองพื้นก่อนการเขียนภาพ โดยใช้ดินสอพองบดละเอียด นำไปหมักในน้ำ   กรองเอาสิ่งสกปรกออกไป แล้วทับน้ำให้หมาด นำมาผสมกับกาวที่ได้จากน้ำต้มเม็ดในของมะขาม เมื่อแห้งจึงขัดให้เรียบก่อนเริ่มขั้นตอนการเขียนภาพ อนึ่งภาพเขียนบนผืนผ้า (พระบฏ) ภาพเขียนบนแผ่นไม้ หรือบนกระดาษที่เรียกว่า สมุดข่อยก็ต้องรองพื้นด้วยวิธีเดียวกันด้วย

         
สีที่ใช้ระบายภาพเตรียมจาก ธาตุ หรือแร่ เช่น สีดำได้จากเขม่า หรือถ่านของไม้เนื้อแข็งสีเหลือง สีนวล ได้จากดินตามธรรมชาติ สีแดงได้จากดินแดง บางชนิดเตรียมจากแร่ ก่อนเขียนต้องนำมาบดให้ละเอียดสีจะละลายน้ำได้ง่ายน้ำที่ใช้ผสมกับน้ำกาวเตรียมจากหนังสัตว์ หรือกาวกระถิน โดยผสมในภาชนะเล็กๆ เช่น โกร่งหรือกะลา เมื่อใช้ไปสีแห้งก็เติมน้ำ ใช้สากบด ฝนให้กลับเป็นน้ำสีใช้งานได้อีก สีแดง เหลือง เขียว คราม ขาว ดำ ใช้เป็นหลักโดยนำมาผสมกันเกิดเป็นสีอื่นๆ ได้อีก

         
นอกจากนี้ยังมีสีทองคือแผ่นทองคำเปลวใช้ปิดส่วนสำคัญที่ต้องการความแวววาว ก่อนปิดทองต้องทากาว เช่น กาวได้จากยางต้นรักหรือจากยางต้นมะเดื่อ หลังจากปิดทองแล้วจึงตัดเส้นเป็นรายละเอียด การตัดเส้นมักตัดด้วยสีแดง หรือสีดำ เพราะ ๒ สีนี้ช่วยขับสีทองให้เปล่งประกายได้ดีกว่าสีอื่น จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นิยมปิดทองมาก เช่น ภาพพระราชาที่เครื่องแต่งพระองค์ เครื่องสูง ปราสาทราชมณเฑียร ราชรถ ตลอดจนเครื่องประดับฉากอื่นๆ มีผู้กล่าวว่าในรัชสมัยดังกล่าวนี้เป็นช่วงแห่งความเจริญสูงสุดของจิตรกรรมไทยแบบประเพณี

         
การตัดเส้น ใช้พู่กันขนาดเล็ก เรียกกันตามขนาดที่เล็กว่า พู่กันหนวดหนู ความจริงทำจากขนหูวัว มีขนาดใหญ่ขึ้นตามการใช้งาน เช่น ระบายบนพื้นที่ขนาดเล็ก แปรงสำหรับระบายพื้นที่ขนาดใหญ่ทำจากรากต้นลำเจียก หรือจากเปลือกต้นกระดังงาโดยนำมาตัดเป็นท่อนพอเหมาะต่อการใช้ นำไปแช่น้ำเพื่อจะทุบปลายข้างหนึ่งให้แตกเป็นฝอยได้ง่าย เพื่อใช้เป็นขนแปรง นอกจากใช้ระบายพื้นที่ใหญ่ที่กล่าวมาแล้ว ช่างไทยยังใช้ปลายแปรงแตะสีหมาดๆ เพื่อแตะ แต้มหรือที่เรียกว่า กระทุ้ง ให้เกิดเป็นรูปใบไม้เป็นกลุ่มเป็นพุ่ม นิยมทำกันในจิตรกรรมสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วิธีการนี้ใช้แทนการระบายสีและตัดเส้นด้วยพู่กันให้เป็นใบไม้ทีละใบ ซึ่งต้องใช้เวลามากกว่าการใช้แปรงกระทุ้ง การระบายสีตัดเส้นเป็นใบไม้ทำกันในช่วงเวลาของจิตรกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยา

         
ในช่วงเวลาต่อมาอิทธิพลตะวันตกที่ไหลบ่าเข้ามาในประเทศไทยอย่างมากมายตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีผลต่อการปรับเปลี่ยนลักษณะของจิตรกรรมไทยแบบประเพณี โดยมีพัฒนาการตามแนวจิตรกรรมตะวันตกเรื่อยมา เช่น เขียนให้มีบรรยากาศตามธรรมชาติ จนกลายเป็นภาพเหมือนจริงยิ่งขึ้นทุกทีรูปแบบจิตรกรรมเช่นนี้สอดคล้องกับแนวความคิดของสังคมที่เริ่มปรับเปลี่ยนเข้าสู่แนวสัจนิยมอย่างตะวันตก เรื่องราวแนวอุดมคติอันเนื่องในพุทธศาสนา ถูกแทนที่ความนิยมด้วยภาพเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ เช่น พระราชพงศาวดาร หรือพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้น

         
พัฒนาการดังกล่าวได้กลายเป็นจิตรกรรมแบบสากลในที่สุด ดังจิตรกรรมที่เขียนขึ้นในปัจจุบันซึ่งมีแนวทางการแสดงออกที่หลากหลาย มีสีให้เลือกใช้มากมายหลายชนิด เป็นสีที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ สีน้ำมัน สีอะคริลิกสีน้ำ เป็นต้น เรื่องราวไม่จำกัดอยู่กับเรื่องราวทางศาสนาอีกต่อไป



บรรณานุกรม
นายสันติ เล็กสุขุม

 

ข้อมูลจาก www.sanook.com


การสร้างจิตรกรรมฝาผนังของช่างไทยในสมัยโบราณ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี


เปิดอ่าน 140,440 ครั้ง
เทคนิคพิเศษในการระบายสี

เทคนิคพิเศษในการระบายสี


เปิดอ่าน 83,805 ครั้ง
ดนตรีไทย

ดนตรีไทย


เปิดอ่าน 184,972 ครั้ง
ความรู้เกี่ยวกับ "สี"

ความรู้เกี่ยวกับ "สี"


เปิดอ่าน 10,451 ครั้ง
การวาดภาพนกเบื้องต้น

การวาดภาพนกเบื้องต้น


เปิดอ่าน 73,396 ครั้ง
การแรเงา

การแรเงา


เปิดอ่าน 79,144 ครั้ง
ศิลปะและสิ่งแวดล้อม

ศิลปะและสิ่งแวดล้อม


เปิดอ่าน 15,294 ครั้ง
เพลง "วันแม่"

เพลง "วันแม่"


เปิดอ่าน 24,289 ครั้ง
ประณีตศิลป์ไทย

ประณีตศิลป์ไทย


เปิดอ่าน 37,438 ครั้ง
เทคนิคการแรเงาน้ำหนัก

เทคนิคการแรเงาน้ำหนัก


เปิดอ่าน 79,343 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การวาดภาพนกเบื้องต้น

การวาดภาพนกเบื้องต้น

เปิดอ่าน 73,396 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เครื่องปั้นดินเผา (CERAMICS)
เครื่องปั้นดินเผา (CERAMICS)
เปิดอ่าน 30,777 ☕ คลิกอ่านเลย

9 เพลงที่มีจังหวะตรงตามงานวิจัยว่าจะช่วยให้คุณผอม!!
9 เพลงที่มีจังหวะตรงตามงานวิจัยว่าจะช่วยให้คุณผอม!!
เปิดอ่าน 30,672 ☕ คลิกอ่านเลย

จิตรกรรม
จิตรกรรม
เปิดอ่าน 21,398 ☕ คลิกอ่านเลย

เทคนิคพิเศษในการระบายสี
เทคนิคพิเศษในการระบายสี
เปิดอ่าน 83,805 ☕ คลิกอ่านเลย

คำกล่าวทักทาย กลุ่มประเทศอาเซียน
คำกล่าวทักทาย กลุ่มประเทศอาเซียน
เปิดอ่าน 51,247 ☕ คลิกอ่านเลย

ละครสังคีต
ละครสังคีต
เปิดอ่าน 93,187 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ยุบ ศธจ.ศจภ? : การทับซ้อนของอำนาจบริหาร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
ยุบ ศธจ.ศจภ? : การทับซ้อนของอำนาจบริหาร? โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
เปิดอ่าน 18,719 ครั้ง

รมต.สาธารณสุข แนะเลี้ยงลูกเทพให้พอดี ถ้าคิดว่าตอบโต้ได้ควรปรึกษาแพทย์
รมต.สาธารณสุข แนะเลี้ยงลูกเทพให้พอดี ถ้าคิดว่าตอบโต้ได้ควรปรึกษาแพทย์
เปิดอ่าน 8,079 ครั้ง

แนะนำแนวทางสำหรับครูรุ่นใหม่ ในการเตรียมเด็กสอบ TGAT
แนะนำแนวทางสำหรับครูรุ่นใหม่ ในการเตรียมเด็กสอบ TGAT
เปิดอ่าน 3,265 ครั้ง

9 หนทางสู่การลดน้ำหนักแบบทันใจ
9 หนทางสู่การลดน้ำหนักแบบทันใจ
เปิดอ่าน 12,671 ครั้ง

5 ซุปเปอร์ฟู้ดส์...ที่สาวๆ ขาดไม่ได้
5 ซุปเปอร์ฟู้ดส์...ที่สาวๆ ขาดไม่ได้
เปิดอ่าน 10,945 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ