Advertisement
วรรณคดีมรดกของไทยสมัยสุโขทัย โดย นางสิทธา พินิจภูวดล
สมัยสุโขทัย (ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ - ๑๘๙๕) วรรณกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ประวัติวรรณคดี และประวัติภาษาไทยคือ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง และไตรภูมิพระร่วง
|
|
หัวข้อ
ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง
รูปแบบการแต่งเป็นร้อยแก้ว เขียนลงบนแท่งหินสี่เหลี่ยมทั้งสี่ด้าน ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทยตามแบบอย่างการใช้ภาษาสมัยสุโขทัยเนื้อเรื่องแบ่งเป็น ๓ ตอน
ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ - ๑๘ เป็นอัตชีวประวัติของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์สุโขทัยราชวงศ์พระร่วง ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คำอ่านปัจจุบัน "พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสืยง..." และอีกตอนหนึ่ง "...ตนกูพุ่งช้างขุนสามชน ตัวชื่อมาสเมืองแพ้ ขุนสามชนพ่ายหนี พ่อกูจึงขึ้นชื่อกู ชื่อพระรามคำแหงเพื่อกูพุ่งช้างขุนสามชน..."
ข้อความตัวอย่าง กล่าวถึงพระราชประวัติและความเก่งกล้าสามารถจนได้รับพระราชทานพระนาม "พระรามคำแหง"
ตอนที่ ๒ เล่าเรื่อง เหตุการณ์และธรรมเนียมนิยมของคนสุโขทัย การดำเนินชีวิต การนับถือพุทธศาสนา การนับถือผี และการประดิษฐ์ตัวอักษรไทย
ตอนที่ ๓ เป็นคำสรรเสริญและยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตของเมืองสุโขทัย
จะเห็นได้ว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง มีคุณสมบัติเด่นในแง่ประวัติศาสตร์ ประวัติวรรณคดี และประวัติภาษาไทย
[กลับหัวข้อหลัก]
|

ศิลาจารึก หลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง |
 |
|
|
ไตรภูมิพระร่วง
พระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพญาลิไท กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๘ โดยได้ทรงรวบรวมเรื่องราวทางศาสนาจากคัมภีร์โบราณต่างๆ ถึง ๓๐ คัมภีร์ กล่าวถึงไตรภูมิซึ่งแปลว่า แดน ๓ แดน คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ สัตว์โลกทั้งหลายย่อมวนเวียนเกิดและตายอยู่ใน ๓ ภูมินี้ การพรรณนาถึงแต่ละภูมิสร้างภาพอย่างชัดเจนอ่าน แล้วได้รับความเพลิดเพลิน อีกทั้งมีการสั่งสอนให้ประพฤติดีและกลัวบาป ซึ่งเป็นพระราชประสงค์ในการแต่งคือ เพื่อเทศนาถวายพระราชมารดา และเพื่อเป็นธรรมทานแก่บุคคลทั่วไป ตัวอย่างเช่น การพรรณนาถึงนรกตอนหนึ่ง ดังนี้
"คนฝูงใดอันเจรจาซื้อสิ่งสินท่าน...แลตน ใส่กลเอาสินท่านด้วยตาชั่งก็ดี...ครั้นว่ามันตาย ได้ไปเกิดในนรกนั้น ฝูงยมพะบาลเอาคีมคาบ ลิ้นเขาชักออกมา แล้วเอาเบ็ดเหล็กเกี่ยวลิ้นเขา ลำเบ็ดนั้นใหญ่เท่าลำตาล เทียรย่อมเหล็กแดง ลุกบ่มิเหือดสักเมื่อ..."
ความตอนนี้กล่าวถึงคนขายของที่โกงตาชั่งเมื่อตายแล้วจะตกนรก ยมบาลเอาคีมหนีบลิ้นดึงออกมา แล้วเกี่ยวด้วยเบ็ดเหล็กที่ลุกเป็นไฟไม่มีวันดับ จะเห็นสำนวนการเขียนที่เรียบง่ายเป็นที่เข้าใจได้ดีสำหรับคนในสมัยนั้น เหมาะกับการเทศน์สั่งสอนบุคคลทั่วไป
นอกจากไตรภูมิพระร่วงจะมีคุณค่าทาง ศาสนาแล้ว ยังมีอิทธิพลต่อคนไทยในอาณาจักรไทยอื่นๆ ในสมัยเดียวกันต่อลงมาจนถึงสมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันวรรณคดีมรดกไทยเรื่องนี้ปลูกฝังให้คนไทยนิยมยกย่องคนมีบุญที่มีจิตใจเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม
[กลับหัวข้อหลัก]
|

ไตรภูมิพระร่วง : ภาพนรก |
 |
|
|
ร่มรถ ร่มติดรถยนต์ ร่มกันแดดรถยนต์ ม่านบังแดด ผ้าคลุมหลังคารถพับเก็บได้ กันแดดกันสาด กันขี้นก Car Sunclose
฿479 - ฿1,439https://s.shopee.co.th/8Kb790kwhT?share_channel_code=6
Advertisement
 เปิดอ่าน 20,771 ครั้ง  เปิดอ่าน 382,416 ครั้ง  เปิดอ่าน 23,944 ครั้ง  เปิดอ่าน 28,160 ครั้ง  เปิดอ่าน 21,072 ครั้ง  เปิดอ่าน 8,771 ครั้ง  เปิดอ่าน 34,885 ครั้ง  เปิดอ่าน 13,557 ครั้ง  เปิดอ่าน 642 ครั้ง  เปิดอ่าน 48,132 ครั้ง  เปิดอ่าน 121,308 ครั้ง  เปิดอ่าน 230,960 ครั้ง  เปิดอ่าน 30,456 ครั้ง  เปิดอ่าน 58,304 ครั้ง  เปิดอ่าน 25,085 ครั้ง  เปิดอ่าน 8,925 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 80,897 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 46,822 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 80,897 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 230,960 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 11,076 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 12,059 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 83,019 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 43,656 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 41,480 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 10,552 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,397 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 919 ครั้ง |
|
|