ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมภาษาไทย  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ภาษาเขียนและตัวอักษร


ภาษาไทย เปิดอ่าน : 23,774 ครั้ง
Advertisement

ภาษาเขียนและตัวอักษร

Advertisement

ภาษาเขียนและตัวอักษร โดย นางวิไลวรรณ ขนิษฐานันท์

          นักภาษาประมาณว่าในโลกเรามีภาษที่ใช้พูดกันอยู่ราวๆ ๓,๐๐๐ ภาษา แต่ภาษาที่มีตัวอักษรมีอยู่ไม่ถึง ๕% การประดิษฐ์ภาษาเขียนขึ้นในสังคมใดๆ ก็ตาม นับเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ของสังคมนั้นๆ เพราะภาษา เขียนทำให้สังคมพัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสังคมไปจากเดิมมาก ในสังคมที่ไม่มีภาษาเขียน การ ดำเนินชีวิตมักเป็นไปตามกรอบประเพณีที่สืบทอดมาอย่างเคร่งครัด การเรียนการสอนใดๆ  ย่อมอาศัยการฟัง การฝึกปฏิบัติ เป็นหลักสำคัญการท่องจำการทำซ้ำแล้วอีกเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการท่องจำนับเป็นสิ่งที่มีค่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเก็บรักษา ไม่พึงทำให้เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ในการเรียนการพูดใดๆ จะต้องมี ๒ ฝ่ายเสมอ เนื่องจากความจำของมนุษย์มีขอบเขตจำกัด การจำจึงทำได้อย่างมีขอบเขตที่จำกัดเช่นกัน ตัวอักษรทำให้ข้อจำกัดนี้หมดไปมนุษย์สามารถบันทึกเรื่องราวใช้หูฟังมาเป็นการใช้เครื่องมือเขียนและใช้สายตาอ่าน การเขียนทำให้เกิดสภาพการใช้ภาษาเพียงคนเดียวหรือฝ่ายเดียวได้ คือ อ่านและเขียนคนเดียวได้ ภาษาเขียนทำให้เกิดการเรียนการสอนที่ กว้างไกล ผู้เรียนไม่ต้องเห็นหน้าผู้สอนก็ได้ เพราะเหตุนี้การเผยแพร่ศาสนา การศึกษาในโรงเรียน วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีต่างๆ จึงเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ว่าการเขียนจะทำให้เกิดความก้าวหน้าเท่าใดก็ตาม ภาษาเขียนก็ยังต้องผูกพันกับภาษาพูด สังคมมนุษย์ทุกสังคมมีภาษาพูด แต่ตัว อักษรมีในบางสังคมเท่านั้น และไม่มีสังคมใดที่มี แต่ภาษาเขียนและตัวอักษรโดยไม่มีภาษาพูด
          ตัวอักษรที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมีหลายรูปแบบแบบแรกเริ่มเป็นภาษาเขียนที่ใช้แทนความหมายสัญลักษณ์หนึ่งใช้แทนความคิดหรือความหมายหนึ่ง เช่น ดวงอาทิตย์ หมายถึงวัน แต่รูปแบบภาพธรรมดา ที่ไม่ได้ใช้แทนความหมายอื่นไม่นับเป็นตัวอักษร ตัวอักษรจีนซึ่งมีใช้นานหลายพันปีเป็นภาษาเขียนที่ใช้แทนคำหรือความคิด ดังนั้นคนจีนที่พูดกันคนละภาษา เช่น จีนกลางกับจีนแต้จิ๋ว ซึ่งต่าง กันมาก และไม่สามารถพูดกันได้รู้เรื่อง สามารถอ่านภาษาเดียวกันได้เพราะเป็นภาษาที่แทนคำหรือความคิด ตัวอักษรหนึ่งอาจใช้แทนความคิดว่า เช่น คน หรือ น้ำ ได้โดยไม่เกี่ยวกับเสียงในภาษาเลย ผู้ที่ออกเสียงคำต่างกันจึงอ่านภาษาเดียวกันได้แต่คำในภาษาหนึ่งๆ มีจำนวนมากมาย การเขียนแบบนี้จึงต้องมีตัวเขียนจำนวนมหาศาลด้วยการเขียนอีกแบบหนึ่งเป็นตัวเขียนแทนพยางค์ เช่น  ภาษาญี่ปุ่น ตัวเขียนแบบนี้หนึ่งตัวแทนพยางค์หนึ่งพยางค์ จำนวนตัวเขียนในภาษาน้อยลงกว่าแบบแทนคำ แต่ก็ยังมีจำนวนมากอยู่
          ตัวอักษรแบบที่พัฒนามากที่สุดเป็นตัวอักษรแทนเสียงที่ใช้อยู่ในภาษา แต่ละภาษาใช้เสียงจำนวนจำกัด ในขณะที่คำในแต่ละภาษามีคำเป็นจำนวนพันจำนวนหมื่น ไม่มีภาษาใดที่ใช้เสียงถึง ๑๐๐ เสียง ภาษาเขียนแบบนี้จึงมีตัวหนังสือน้อยกว่าภาษาเขียน ๒ แบบแรกมาก การเขียนแบบตัวอักษรนี้เกี่ยวข้องกับเสียงในภาษาโดยเฉพาะ จึงเป็นเรื่องเฉพาะของภาษาใดภาษาหนึ่งการเขียนแบบตัวอักษรที่ประดิษฐ์ในยุคแรกๆไม่มีตัวอักษรแทนเสียงสระ เช่น ภาษาฮีบรู   ภาษาอารบิค การเขียนในสมัยต่อมาได้พัฒนาให้มีทั้งอักษรแทนเสียงพยัญชนะและสระ และการเขียนของไทยนับว่าพัฒนาไปไกลมาก คือนอกจากมีตัวเขียนแทนเสียงพยัญชนะและสระแล้ว ยังมีตัวเขียนกำกับเสียงวรรณยุกต์อีกด้วย นับว่าเป็น ตัวเขียนที่เป็นตัวอักษรแทนเสียงในภาษาได้ใกล้เคียงที่สุด
          ภาษาเขียนต่างจากภาษาพูดตรงที่เมื่อเขียนขึ้นมาแล้วมักคงรูปอยู่แบบเดิม ผู้ใช้มักไม่เปลี่ยนแปลงภาษาเขียน และในหลายสังคมถือว่าภาษาเขียนเป็นศักดิ์สิทธิ์และเป็นมรดกจากสังคมโบราณ ซึ่งพึงอนุรักษ์ ไว้ ส่วนภาษาพูดนั้นเป็นสิ่งที่ติดอยู่กับตัวผู้ใช้ภาษาจึงเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและสภาพการใช้ภาษาตลอดเวลาเพราะเหตุนี้ ในปัจจุบันภาษาเขียนของหลายภาษาจึงต่างจากภาษาพูด โดยเฉพาะภาษาที่ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้มานานแล้ว เสียงในภาษาพูดปัจจุบันอาจเปลี่ยนไปหรือต่างไปจากเสียงเดิม ตัวอักษรซึ่งประดิษฐ์มานานแล้วจึงยังแทนเสียงในภาษาเดิมอยู่ และไม่ใช่ตัวแทนเสียงของภาษาในปัจจุบันอย่างสมบูรณ์
          ในสังคมโบราณของโลก การเขียนการบันทึกทั้งหมดเกิดจากสังคมที่เป็นเมืองแล้ว ซึ่งหมายถึงว่าเป็นสังคมที่มีคนมากและเป็นคนที่มีการประกอบอาชีพต่างกัน ไม่เหมือนสังคมหมู่บ้านที่ส่วนใหญ่คนมักมีอาชีพเดียวกัน และคนในเมืองมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่นหลากหลายมากกว่า มีการซื้อขาย การแลกเปลี่ยน ฯลฯ รวมความแล้วก็คือ กิจกรรมต่างๆ ของคนในสังคมเมือง เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดการเขียน การบันทึกขึ้น ภาษาเขียนสุเมเรียนซึ่งเป็นภาษาเขียนที่เก่าแก่ที่สุดในโลกมีอายุประมาณ ๕,๐๐๐ ปี มีบันทึกรายชื่อสิ่งของและรายชื่อคนมากมายศาสนาก็เป็นแรงผลักดันที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการเขียนขึ้น วัดหรือโบสถ์ในสังคมโบราณ หลายแห่งในโลก มักมีบัญชีรายชื่อคนและสิ่งของที่ผู้คนนำมาบริจาคให้



การเรียนการสอนผ่านทางสื่อสารมวลชน


ในระยะแรกเริ่ม มนุษย์ใช้ภาพเป็นสื่อแทนความหมายและความคิด


ตัวอักษรในสมัยปัจจุบัน

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

บรรณานุกรม
นางวิไลวรรณ ขนิษฐานันท์

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


ภาษาเขียนและตัวอักษร

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เสียงในภาษาไทย

เสียงในภาษาไทย


เปิดอ่าน 1,333,151 ครั้ง
วรรณคดีมรดก

วรรณคดีมรดก


เปิดอ่าน 29,200 ครั้ง
รามเกียรติ์

รามเกียรติ์


เปิดอ่าน 24,811 ครั้ง
ภาษาพูด

ภาษาพูด


เปิดอ่าน 20,891 ครั้ง
คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ

คำเรียกชื่อฤดูต่าง ๆ


เปิดอ่าน 10,981 ครั้ง
ภาษาและอักษรไทย

ภาษาและอักษรไทย


เปิดอ่าน 22,000 ครั้ง
"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล

"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล


เปิดอ่าน 27,559 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

วังสุโขทัยหรือวังศุโขทัย

วังสุโขทัยหรือวังศุโขทัย

เปิดอ่าน 30,188 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
สุภาษิตอิศรญาณ
สุภาษิตอิศรญาณ
เปิดอ่าน 368,930 ☕ คลิกอ่านเลย

การเขียนรายงาน
การเขียนรายงาน
เปิดอ่าน 60,182 ☕ คลิกอ่านเลย

อักษรไทยสมัยสุโขทัย
อักษรไทยสมัยสุโขทัย
เปิดอ่าน 46,495 ☕ คลิกอ่านเลย

สุภาษิตพระร่วง
สุภาษิตพระร่วง
เปิดอ่าน 352,322 ☕ คลิกอ่านเลย

หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ (ใหม่)
หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ (ใหม่)
เปิดอ่าน 47,982 ☕ คลิกอ่านเลย

ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก
ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก
เปิดอ่าน 60,299 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

น้ำเปล่า ช่วยให้คุณสวยได้ยังไง
น้ำเปล่า ช่วยให้คุณสวยได้ยังไง
เปิดอ่าน 17,207 ครั้ง

ติดฟิล์มรถยนต์ราคาถูก ติดรุ่นไหนดี ควรเลือกอย่างไร ?
ติดฟิล์มรถยนต์ราคาถูก ติดรุ่นไหนดี ควรเลือกอย่างไร ?
เปิดอ่าน 6,024 ครั้ง

วันปิยมหาราช
วันปิยมหาราช
เปิดอ่าน 9,726 ครั้ง

วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม วันพ่อ
วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม วันพ่อ
เปิดอ่าน 22,274 ครั้ง

Adjectives Formation (การทำให้เป็นคำคุณศัพท์ )
Adjectives Formation (การทำให้เป็นคำคุณศัพท์ )
เปิดอ่าน 33,428 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ