Advertisement
3 พื้นฐานเพื่อความมั่นคงทางการเงิน
ก่อนจะฝันไปไกลถึงความร่ำรวยและอิสรภาพทางการเงิน เราควรปูพื้นฐานของความมั่นคงทางการเงินให้แน่นเสียก่อน
ก่อนจะฝันไปไกลถึงความร่ำรวยและอิสรภาพทางการเงิน เราควรปูพื้นฐานของความมั่นคงทางการเงินให้แน่นเสียก่อน เมื่อต่อยอดการลงทุนไปสู่ความมั่งคั่งแล้ว จะได้ไม่ต้องกังวลกับเหตุการณ์ไม่ปกติที่เข้ามากระทบกับชีวิตมากนัก เช่น การเจ็บป่วย หรือตกงาน เป็นต้น สำหรับพื้นฐานความมั่นคงทางการเงินที่ทุกครอบครัวควรมีให้ครบนั้นมีอยู่ 3 อย่าง ดังนี้
1. เงินสำรอง 6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนของครอบครัว วัตถุประสงค์ของเงินจำนวนนี้เพื่อเอาไว้เป็นหลักประกันพื้นฐานว่า หากตกงาน หรือขาดรายได้ขึ้นมา ก็ยังมีเงินสำรองที่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวให้เป็นปกติสุขต่อไปได้อีกอย่างน้อยครึ่งปี ในระหว่างนี้ ก็จะต้องหางานใหม่ให้ทันก่อนที่เงินสำรองหมดลง นอกจากนี้ เงินสำรองยังมีเอาไว้เผื่อคนในครอบครัวเจ็บป่วยขึ้นมา จะได้ไม่ต้องไปหยิบยืมหรือกู้เงินให้เสียดอกเบี้ยราคาแพง
2. ทุนประกันชีวิตอย่างน้อย 3 เท่าของรายได้ทั้งปี พูดถึงเรื่องประกันชีวิต อาจไม่จำเป็นต้องทำทุกคน แต่สำหรับคนที่มีครอบครัว หรือคนโสดที่มีคนที่รักอยู่เบื้องหลัง เช่น คุณพ่อคุณแม่ ญาติพี่น้อง หรือหลาน ๆ ประกันชีวิตนับว่ามีความสำคัญ โดยควรมีทุนประกันชีวิตไม่น้อยกว่า 3 เท่าของรายได้ทั้งปี เนื่องจากหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา ผู้ที่อยู่เบื้องหลังเราจะได้รับเงินจากทุนประกันชีวิต เพื่อให้สามารถใช้จ่ายได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งหากลองคำนวณว่า คน 1 คนมีค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่ใช้ในชีวิตปกติประมาณ 50% ของรายได้ทั้งปี แล้วส่วนที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายของคนในครอบครัว เท่ากับว่าความคุ้มครอง 3 เท่าของรายได้ทั้งปี จะช่วยให้คนที่อยู่ข้างหลังเรามีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายได้นานถึง 6 ปีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในแต่ละปีสำหรับทุนประกันที่มากถึง 3 เท่าของรายได้ทั้งปีนั้น อาจเป็นจำนวนเงินที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นเบี้ยประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ดังนั้น เพื่อให้ทุนประกันชีวิตมีความคุ้มครองที่สูงเพียงพอ การเลือกประกันชีวิตแบบตลอดชีพจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะด้วยจำนวนเบี้ยที่เท่ากัน ประกันชีวิตแบบตลอดชีพจะให้ทุนประกันที่สูงกว่าประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ แต่ถ้าหากต้องการได้รับความคุ้มครอง และได้รับเงินเมื่อครบอายุสัญญา การเลือกประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ จะเป็นทางเลือกที่เหมาะกว่า นอกจากนี้ ควรตรวจสอบสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลจากที่ทำงานว่ามีเพียงพอแล้วหรือยัง หากไม่พอก็แนะนำให้เพิ่มประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุไว้บางส่วน เพื่อสำรองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น จะได้กระทบกับเงินสำรองของเราน้อยลง เพราะมีประกันช่วยรับเอาไว้ได้ระดับหนึ่ง
3. ภาระผ่อนหนี้ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อเดือน การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ วลีนี้ยังคงใช้ได้อยู่ทุกยุคทุกสมัย การไม่มีหนี้จะทำให้เราไม่มีความกังวลใจ ว่าจะสามารถหาเงินมาใช้หนี้ได้ตลอดรอดฝั่งหรือไม่ หรือถ้าจำเป็นต้องก่อหนี้ ก็ขอให้เป็นหนี้ที่ดีที่สามารถก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต เช่น หนี้สินเชื่อบ้าน หรือคอนโด เหตุผลที่ทำให้สินเชื่อบ้านเป็นหนี้ที่ดีนั้น เพราะ 1.เป็นหนี้ที่มีอัตราดอกเบี้ยถูก และสามารถโปะเมื่อไหร่ก็ได้ 2.มีระยะเวลาผ่อนชำระนานที่สุด ทำให้ยอดผ่อนแต่ละเดือนไม่สูงมาก 3.มูลค่าบ้านมักเพิ่มขึ้นในระยะยาว เปรียบเสมือนเป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 4.เราสามารถใช้ประโยชน์จากบ้าน ทั้งจากการอยู่อาศัยเอง หรือปล่อยให้คนอื่นเช่า อย่างไรก็ดี เราไม่ควรมียอดผ่อนบ้านเกินกว่า 30% ของรายได้ต่อเดือน เพราะถ้าเกินกว่านี้ รายได้ของเราอาจไม่พอใช้จ่ายในแต่ละเดือน ซึ่งมีโอกาสส่งผลให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่อบ้านก็เป็นได้ ส่วนหนี้ที่อันตราย ไม่ว่าจะเป็น หนี้นอกระบบ หนี้สินเชื่อส่วนบุคคลต่างๆ ไม่ควรสร้างขึ้น เพราะนอกจากไม่ช่วยให้มีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีดอกเบี้ยในอัตราที่สูงมากด้วย
เมื่อมีพื้นฐานทั้ง 3 อย่างที่ได้กล่าวมาครบหมดแล้ว เงินออมในแต่ละเดือนที่เก็บเพิ่มได้ ก็สามารถนำมาลงทุนต่อยอดจากความมั่นคง สู่ความมั่งคั่งเพื่อเป็นเงินใช้หลังเกษียณ หรืออาจสามารถเกษียณก่อนกำหนดได้ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการปรึกษาวางแผนเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับที่ปรึกษาลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย ได้ที่ K-Expert@kasikornbank.com และ เว็บบอร์ด K-Expert ซึ่งจัดทำขึ้นผ่านทางเว็บไซต์ www.askKBank.com/K-Expert และติดตามข่าวสารการเงินได้ที่ Twitter@KBank_Expert
ขอบคุณที่มาจาก เดลินิวส์
Advertisement
เปิดอ่าน 78,553 ครั้ง เปิดอ่าน 9,585 ครั้ง เปิดอ่าน 3,786 ครั้ง เปิดอ่าน 11,005 ครั้ง เปิดอ่าน 4,056 ครั้ง เปิดอ่าน 14,564 ครั้ง เปิดอ่าน 2,293 ครั้ง เปิดอ่าน 28,033 ครั้ง เปิดอ่าน 12,488 ครั้ง เปิดอ่าน 3,966 ครั้ง เปิดอ่าน 27,764 ครั้ง เปิดอ่าน 33,223 ครั้ง เปิดอ่าน 9,012 ครั้ง เปิดอ่าน 3,990 ครั้ง เปิดอ่าน 10,674 ครั้ง เปิดอ่าน 2,987 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 10,259 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,325 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,768 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,517 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 44,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,433 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,207 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 18,503 ครั้ง |
เปิดอ่าน 33,950 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,804 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,690 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,509 ครั้ง |
|
|