ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ประเพณีทำบุญเดือนสิบ (ชิงเปรต)


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,359 ครั้ง
Advertisement

 ประเพณีทำบุญเดือนสิบ (ชิงเปรต)

Advertisement

❝ ประเพณีทำบุญเดือนสิบ (ชิงเปรต) ❞

นาย.. เปรต จากนครศรีธรรมราช



"วัดถะสถา"

ที่เขาว่ากันว่า ทรงเกียรติ

ขณะนี้ได้มี "เปรต" ฝูงหนึ่งเข้ามาหากิน



โฉมหน้านาย ยกรัดถะโมนตรี หัวหน้าคณะฝูงเปรต



ถ่ายรูปร่วมกับ นายรองรัด ถะโมนตรี




เหล่าคณะรัดถะโมนเปรต

วันนี้ฝูงเปรตทั้งคณะ กำลังเดินทางสู่ "วัดถะสภา" เพื่อเข้าไปหาเศษหาเลยกิน
และเป็นธรรมดาของพวกเปรต ที่กินเท่าไหร่ก็ไม่มีวันอิ่ม



เปรต เพศเมียชื่อ อาน้งวัน แลบลิ้นปากมัน จะงาบป่า


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - -

 

งานประเพณีเดือนสิบ 2551






งานประเพณีบุญเดือนสิบ 2551
23 กันยายน -2 ตุลาคม 2551

ณ บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) อำเภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช

สืบ สายธารแห่งศรัทธา ที่ถือปฏิบัติมาช้านานของคนคอนในงานประเพณีบุญเดือนสิบอันยิ่งใหญ่ ชมขบวนแห่หมรบ ในวันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน 2251 จากสนามหน้าเมืองไปยังวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเลือกซื้อสินค้าหลากหลายภายใน บรรยากาศตลาดย้อนยุคสนุกกับมหกรรมการแสดงมากมาย

สารทเดือนสิบ

        พีธีกรรม เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พญายมปล่อยตัวผู้ล่วงลับไปแล้วที่ (เรียกว่า "เปรต") มาจากนรก สำหรับวันนี้บางคนก็ประกอบพิธี บางคนจะประกอบพิธีในวันแรม 13 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ โดยการนำอาหารไปทำบุญที่วัดเรียกว่า "หม.รับเล็ก" เป็นการต้อนรับบรรพบุรุษ และญาติมิตรที่ขึ้นมาจากนรกเท่านั้น
        การเตรียมการสำหรับประเพณีสารทเดือนสิบ เริ่มขึ้นในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 วันนี้ เรียกว่า "วันจ่าย" เป็นวันที่เตรียมหม.รับ และจัดหม.รับ คือการเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดหม.รับ เมื่อได้ของตามที่ต้องการแล้วก็เตรียมจัดหม.รับรับการจัดหม.รับแต่เดิมใช้กระบุงเตี้ย ๆ ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ แต่ภายหลังใช้ภาชนะได้หลายชนิด เช่น กระจาด ถาด กะละมัง ถัง หรือ กระเชอ สำหรับสิ่งของการจัดหม.รับ ชั้นแรกใส่ข้าวสารรองกระบุงแล้วใส่หอม กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำตาล และเครื่องปรุงอาหารคาว หวาน ที่เก็บไว้ได้นาน ๆ เช่น มะพร้าว ฟัก มัน กล้วย (ที่ยังไม่สุก) อ้อย ข้าวโพด ข่า ตะไคร้ ขมิ้น และพืชผักอื่น ๆ นอกจากนั้นก็ใส่ของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าดไต้ ไม้ขีดไฟ หม้อ กะทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย เครื่องเชี่ยนหมาก ได้แก่ หมาก พลู ปูน กานพลู การบูน พิมเสน สีเสียด ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูปเทียน แล้วใส่สิ่งอันเป็นหัวใจอันสำคัญของหม.รับคือ ขนม 5 อย่างมี ดังนี้


       
         ขนมลา เป็นสัญลักษณ์แทนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม



        ขนมพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพสำหรับบุรพชน ใช้ลอ่งข้ามห้วงมหรรณพ
        ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทนสะบ้า สำหรับบุรพชนจะได้ใช้เล่นสะบ้า ในวันสงกรานต์
        ขนมกง (ขนมไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับ
        ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทนเงินเบี้ย สำหรับใช้สอย



                หมรับ


การประกอบพิธี
        1. การยกหม.รับ การนำหม.รับที่จัดเตรียมไว้ในวันแรม 13 ค่ำ ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด เรียกว่า "วันยกหม.รับ" การยกหม.รับไปวัดจะจัดเป็นขบวนแห่ อาจเป็นขบวนเล็กหรือใหญ่ก็แล้วแต่ ขนาดของหม.รับ และจำนวนคนที่ร่วมกันจัดหม.รับ คือ อาจจะมี 3 - 4 คน หรือ 10 - 20 คน หรือ 100 คน ถ้าเป็นหม.รับใหญ่ ก็จะมีขบวนแห่ใหญ่โต ผู้ร่วมขบวนก็จะแต่งตัวสวยงาม หรืออาจแต่งเป็น "เปรต" แล้วแต่ความคิดของผู้ร่วมขบวนแห่
        2. การตั้งเปรต เมื่อยกหม.รับและถวายภัตตาหารพระภิกษุสงฆ์แล้ว ก็จะมีการ "ตั้งเปรต"โดยการนำเอาขนมส่วนหนึ่งไปวางไว้ในที่       ต่าง ๆ ตรงทางเข้าวัด ริมกำแพงวัด หรือตามโคนต้นไม้เพื่อแผ่ส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปที่ไม่มีญาติ หรือญาติไม่ได้มาร่วมทำบุญด้วย ส่วนการตั้งเปรตในระยะหลังได้มีการสร้างร้านสูงพอสมควรเรียกว่า "หลาเปรต" หรือ "ศาลเปรต" แล้วนำขนมไปวางไว้บนร้านนั้น นำสายสิญจน์ที่พระสงฆ์จับเพื่อสวดบังสุกุลมาผูกไว้กับหลาเปรต เพื่อแผ่ส่วนบุญกุศลไปยังผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อจากนั้นเป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า "ชิงเปรต" คนเฒ่าแก่หนุ่มสาวและเด็ก ๆ ก็จะกรูกันเข้าไปแย่งขนมที่ตั้งเปรต เชื่อที่ว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้ ใครได้ไปกินก็จะได้กุศลแรง เป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
        3. การฉลองหม.รับและการบังสุกุล กระทำกันในวันแรม 15 ค่ำ ซึ่งเป็นวันสารท มีการทำบุญเพื่อเป็นการฉลองหม.รับ เรียกว่า "วันฉลองหม.รับ" นอกจากนี้มีการทำบุญเลี้ยงพระและการบังสุกุล เพื่ออุทิศส่วนกุศลแก่บรรพบุรุษและญาติพี่น้องกลับไปเมืองนรก หากมิได้จัดหม.รับหรือทำบุญ อุทิศส่วนกุศลที่วัดในวันนี้ บรรพบุรุษและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วจะอดอยาก ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะเป็นคนอกตัญญู

        วิวัฒนาการ ปัจจุบันประเพณีสารทเดือนสิบของเมืองนครศรึธรรมราชได้เปลี่ยนแปลงไปทั้งพิธีการและรูปแบบคือ เนื่องจากในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 10 ที่เรียกว่า "วันจ่าย" ชาวนครจะชวนกันไปชุมนุมซื้อของตามที่นัดหมาย หรือตามตลาดจ่ายต่าง ๆ กันมาก ดังนั้นเมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมาได้จัดงานรื่นเริงสมทบกับประเพณีสารทเดือนสิบด้วยด้วยชื่อว่า "สารทเดือนสิบ" จัดขึ้นที่สนามหน้าเมืองเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2466 และจัดสืบมาถึงปัจจุบัน อนึ่ง ในวันแรม 15 ค่ ำ เดือนสิบ ซึ่งเป็นวันยกหม.รับนั้น มีการจัดขบวนแห่หม.รับกันอย่างสนุกสนาน เพื่อนำหม.รับไปประกวดที่ศาลาประดู่หก และหม.รับก็จะจัดแต่งอย่างสวยงามเพื่อประกวดแข่งขันกันด้วย ส่วนตามชนบทก็ยังคงปฏิบัติตามแบบเดิม



ชิงเปรต   

เป็นประเพณีเนื่องในเทศกาลวันสารทเดือนสิบของชาวภาคใต้   โดยทำร้าน จัดหฺมฺรับอาหารคาวหวาน ไปวางเพื่อุทิศส่วนกุศลส่งไปให้เปรตชน (ปู่ ย่า ตา ยาย  และบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว)   หลังจากวางหฺมฺรับลงบนร้านเปรตแล้ว   พวกลูกหลานที่ยังมีชีวิตก็จะเข้าแย่งอาหาดรนั้นแทน  จึงเรียกว่า "ชิงเปรต"

พระยาอนุมานราชธน  ได้กล่าวไว้ในสารานุกรมราชบัณฑิตยสถานว่าการชิงเปรตที่ปฏิบัติกันในประเพณี สารทเดือนสิบนี้  มีลักาณะคล้ายกับการทิ้งกระจาดของจีน  ดังความตอนหนึ่งว่า

"เรื่องชิงเปรต นี้   ดูไม่ผิดอะไรกับเรื่องทิ้งกระจาดของจีนที่เขาทำในกลางเดือน 7  ของเขา  ซึ่งตรงกับเดือน 9  ของไทย  คือ  เขาปลูกเป็นร้านยกพื้นสูง  นำเอาขนมผลไม้เป็นกระจาดขึ้นไปไว้บนนั้น   นอกนี้ยังมีของมีราคาเช่นเสื้อผ้า  หุ้มคลุมบนเครื่องสานไม้ไผ่คล้ายตะกร้า   เมื่อถึงเวลามีเข้าหน้าที่ 2 - 3  คนขึ้นไปประจำอยู่บนนั้นแล้วจับโยนสิ่งของบนพื้นลงมาข้างล่างให้แย่งชิง กัน   เดิมเห็นจะโยนทิ้งลงมาทั้งกระจาด  จึงได้เรยกชื่อว่าอย่างนั้น   ต่อมาใช้หยิบของในกระจาดบนร้านทิ้งลงมาเท่านั้น   ส่วนเสื้อผ้าโดยส่วนมากเป็นผ้าขาวม้า  เขาทิ้งลงมาทั้งตะกร้าที่อาผ้าติดไว้   ผลไม้และชนมโดยมากเป็นขนมแข่ง  ที่ทิ้งลงมานั้นมีแต่พวกเด็ก ๆ  และผู้หญิงแย่งกัน  ส่วนผู้ชายไม่ใคร่แย่งเพราะคอยแย่งเสื้อผ้าดีกว่าลูกไม้   และขนมที่ทิ้งมากว่าจะแย่งเอาได้ก็เหลวแหลกบ้างเป็นธรรมดา   แต่เสื้อผ้าที่ทิ้งลงมานั้นแย่งกันจนขาดไม่มีชิ้นดี บางทีคนแย่งไม่ทันใจปีน ร้านขึ้นไปแย่งกันบนนั้น   เจ้าหน้าที่มีน้อยห้ามไม่ไหว   คราวนี้ชุลมุนวุ่นวายกันใหญ่   ถึงกับร้านทานน้ำหนักไม่ไหวพังลงมาก็เคยมี   ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเป็นทิ้งสลากสำหรับเสื้อผ้า   ส่วนของอื่นยังคงทิ้งลงมาให้แย่งกัน  การทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานรให้แก่พวกผีไม่มีญาติ  ส่วนการไหว้เจ้าชิดง่วยปั่วหรือสารทกลางปีของเขา  เป็นการเซนผีปู่ย่าตายายคือทำบุญให้แก่ญาติที่ตายไป"

การทิ้งกระจาดของจีนมีป้าเมหายตรง กับการตั้งเปรด - ชิงเปรตของไทยเพียงบางส่วนเท่านั้น   กล่าวคือากดรทิ้งกระจาดของจีนเป็นการทิ้งทานให้แก่พวกผีไม่มีญาติเท่านั้น  ส่วนการตั้งเปรต - ชิงเปรดของไทยเป็นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ทั้งผี (เปรต) ทั้งที่เป็นญาติพี่น้องของตนเองและที่ไม่มีญาติด้วย   นอกจาน้นแล้ววิธีการปฏิบัติในการทิ้งกระจาดและการชิงเปรตก็ต่างกันด้วย


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


แต่ก็ยังมีเปรตอีกหลายตัว ที่ไม่สามารถเข้าไปยัง "วัดถะสภา" ได้
เนื่องจากเป็นเปรตไร้ญาติ หรือญาติไม่มีอำนาจพอจึงไม่มีใครช่วยผลักดันส่งเสริม
ให้เข้า "วัดถะสภา"
ได้




หลังจากที่ได้เห็นหน้าตาของเปรตฝูงนี้ เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า การจะสามารถเข้ามาหากินใน
"วัดถะสภา" ของฝูงเปรตได้นั้นต้องได้รับอณุญาตจาก

ยมมะทัก

จากนรกภูมิขุมลอนดอน ที่รู้จักกันดี








- - - - - - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - - -- - - - - - - - - - - -
ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
และจากการค้นหาภาพทำให้ผมได้เจอ entry เก่าๆดีๆเกี่ยวกับประเพณีเดือนสิบ ของ "เณรรูน" ที่นี่ครับ

บุญเดือนสิบ วิถีสะท้อนความกตัญญูต่อบรรพบุรุษของคนใต้

                                  โดย  "วัฒน์"

                

 

 

U

 

 


โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3577 วันที่ 10 มี.ค. 2552

หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244

https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6


ประเพณีทำบุญเดือนสิบ (ชิงเปรต)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ความรักมักเป็นเช่นนี้...

ความรักมักเป็นเช่นนี้...


เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง
โห...น้องจ๋า น่าสงสาร...

โห...น้องจ๋า น่าสงสาร...


เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง
เรื่องของพริก...ที่ควรรู้

เรื่องของพริก...ที่ควรรู้


เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง
รู้เรื่อง "การคุมกำเนิด"

รู้เรื่อง "การคุมกำเนิด"


เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง
English For Tourism Vocabulary ..MindMapping

English For Tourism Vocabulary ..MindMapping


เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว

เปิดอ่าน 7,160 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
จะล่มจมเพราะไล่ล่ากันเองนี่แหล่ะ 2
จะล่มจมเพราะไล่ล่ากันเองนี่แหล่ะ 2
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย

8  ผลไม้  ......แห่งความงาม
8 ผลไม้ ......แห่งความงาม
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย

ฝึก "หายใจ" ให้ "หายง่วง"
ฝึก "หายใจ" ให้ "หายง่วง"
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีเผาผลาญพลังงาน .....เมื่อไม่มีเวลาออกกำลังกาย
วิธีเผาผลาญพลังงาน .....เมื่อไม่มีเวลาออกกำลังกาย
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย

โรงเรียนใหม่ ครูก็ใหม่
โรงเรียนใหม่ ครูก็ใหม่
เปิดอ่าน 7,172 ☕ คลิกอ่านเลย

ภาพรีสอร์ทในหุบเขา2
ภาพรีสอร์ทในหุบเขา2
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

5 สมุนไพรเพื่อวัยสูงอายุ
5 สมุนไพรเพื่อวัยสูงอายุ
เปิดอ่าน 17,177 ครั้ง

วิตามินไม่ป้องกันโรคหัวใจ คนทั่วโลกเป็นล้านหลงกินกันมานมนาน
วิตามินไม่ป้องกันโรคหัวใจ คนทั่วโลกเป็นล้านหลงกินกันมานมนาน
เปิดอ่าน 8,440 ครั้ง

เตือนน้ำมังคุด ไม่ได้ช่วยรักษาโรค
เตือนน้ำมังคุด ไม่ได้ช่วยรักษาโรค
เปิดอ่าน 14,803 ครั้ง

ลายมือนักบริหาร ต้องมีเส้นอิทธิพล
ลายมือนักบริหาร ต้องมีเส้นอิทธิพล
เปิดอ่าน 32,924 ครั้ง

ธุรกิจเทคโนโลยีกับการคืนกำไรสู่สังคม
ธุรกิจเทคโนโลยีกับการคืนกำไรสู่สังคม
เปิดอ่าน 31,219 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ