ธรรมชาติบำบัด ร้อน-เย็น
การใช้อาหารหรือสมุนไพรถอนพิษร้อนแล้วอาการดีขึ้น แสดงว่าอาการดังกล่าวเป็นสภาพตีกลับจากร้อนเป็นเย็น
พุทธสถาน สันติอโศก กรุงเทพฯ ธรรมชาติบำบัด เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพแนวบุญ
นิยม.. เน้นการปรับความสมดุลของร่ายกายและจิตใจด้วยหลัก ๗ อ. ได้แก่ อิทธิบาท ๔ อารมณ์ อาหาร อากาศ ออกกำลังกายอเนกายและเอาพิษออก...และใช้แนวธรรมชาติบำบัดในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพ..
ธรรมชาติบำบัด เป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสุขภาพแนวบุญนิยม ที่พยายามพึ่งตนเองในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนบุญนิยม ด้วยการพยายามใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น ใช้เทคนิควิธีการที่ชุมชนสามารถดำเนินการเองได้อย่างเรียบง่ายโดยพยายามลดภาระของทางภาครัฐ และลดการใช้ยาแผนปัจจุบันให้ได้มากที่สุด เน้นการปรับความสมดุลของร่ายกายและจิตใจด้วยหลัก ๗ อ. ได้แก่ อิทธิบาท ๔ อารมณ์ อาหาร อากาศ ออกกำลังกาย อเนกายและ เอาพิษออก ดังจะได้นำเสนอตัวอย่างบุคคลที่ใช้แนวธรรมชาติบำบัดในการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพ
คุณ กุลสตรี สิงอุปโป ชื่อเล่น มุกดา ชื่อทางธรรม ป่าฝน เกิดวันที่ ๒๑ ก.ค. ๑๖ อายุ ๓๓ปี น้ำผสม ลม ญาติธรรมจากพุทธสถานภูผาฟ้าน้ำ จังหวัดเชียงใหม่ โทรศัพท์ (๐๕๓) ๒๒๘๕๕๘-๙ ประวัติความเจ็บป่วย เมื่อ ๒ สิงหาคม ๒๕๔๗ เริ่มมีอาการท้องอืด ท้องผูก มักมีอาการเรอในช่วงเย็น อาการจะเป็นมากขึ้นถ้ามีความเครียด กลัว วิตกกังวล ต่อมาได้รักษาด้วยการรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยสมุนไพรเผ็ดร้อน ต่อมาช่วงงานพุทธาฯ ที่จังหวัด นครสวรรค์ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ได้รับประทานอาหารที่มีเครื่องเทศมาก ทำให้มีอาการช็อค เจ็บหัวใจ กระเพาะปัสสาวะเกร็งปวด ปวดเบ่งแต่ปัสสาวะไม่ออก หมดแรง หายใจแผ่วๆ จึงแก้ด้วยการคลายลมปราณและกินรางจืด รู้สึกดีขึ้น หลังจากนั้นก็ยังรักษาตัวเองด้วยสมุนไพรเผ็ดร้อนต่อเนื่องมาเรื่อยๆ เพราะเข้าใจว่าเกิดจากภาวะร่างกายเย็นเกิน อาการเจ็บป่วย จึงเป็็นมาเรื่อยๆ จนถึงเดือนมีนาคม ๒๕๔๙ ได้มาเข้าค่ายสุขภาพที่สวนส่างฝัน
การวินิจฉัยอาการเป็นภาวะไม่สมดุลของร่างกายแบบร้อนเกินโดยอาการส่วนใหญ่ปรากฏชัดว่าอยู่ในกลุ่มร้อนเกินแต่ก็มีอาการบางอย่างเริ่มดีกลับ (ร้อนที่สุดจะดีกลับเป็นเย็น และเย็นที่สุดกลับเป็นร้อน) ในกรณีนี้เป็นภาวะร้อนที่ตีกลับเป็นเย็น คือ ท้องอืดและลมเรอ ซึ่งโดยปกติอาการดังกล่าวเป็นเย็นเกิน ซึ่งทำให้ผู้ดูแลหรือตัวผู้ป่วยเอง มักเข้าใจผิดว่า ต้นเหตุเกิดจากเย็นเกิน จึงมุ่งเน้นการรักษาด้วยวิธีการที่ทำให้ร้อนขึ้น ส่งผลให้อาการยิ่งแย่ลงเมื่อใช้วิธีการดังกล่าวแต่ตรงกันข้าม เมื่อใช้วิธีการที่ทำให้ร่างกายและจิตใจเย็นลง อาการดังกล่าวกลับทุเลาลง
วิธีการที่จะรู้ได้ว่าอาการดังกล่าวเป็นภาวะที่ตรงๆตามหลักการ หรือเป็นสภาพดีกลับก็คือ ขั้นตอนแรก ตรวจสอบที่ต้นเหตุว่าพฤติกรรมของผู้ป่วยหรือสิ่งที่ผู้ป่วยสัมผัสนั้น ทำให้เกิดภาวะร้อนหรือเย็นเกิน ขั้นตอนที่สอง ทดลองแก้ไขแบบตรงๆ ดูถ้าอาการดีขึ้น แสดงว่าเป็นภาวะที่ตรงไปตรงมา ถ้าไม่ดีขึ้นให้ทดลองแก้ไขแบบตรงกันข้าม ถ้าอาการดีขึ้นแสดงว่าเป็นภาวะตีกลับ เช่น อาการท้องอืด ลมเรอ ถ้ากินสมุนไพรเผ็ดร้อน แล้วอาการทุเลาลงแสดงว่าเป็นภาวะที่ตรงไปตรงมา คือ เกิดจากเย็นเกิน แต่ถ้าอาการแย่ลง แสดงว่าอาจเกิดจากสภาพตีกลับ และเมื่อทดลองใช้อาหารหรือสมุนไพรถอนพิษร้อน แล้วอาการทุเลาลง แสดงว่า อาการดังกล่าวเป็นสภาพตีกลับนี้ มักพบได้มากในยุคปัจจุบันรวมถึงกรณีตัวอย่างนี้ด้วย
ธรรมชาติบำบัด ร้อน-เย็น โดย หมอเขียว การแก้ไขปัญหาสุขภาพ ในภาวะร่างกายร้อนเกิน
๑. การรับประทานอาหารฤทธิ์เย็น ปรุงแต่งน้อย รสไม่จัด รับประทานอาหารตามลำดับการย่อยง่ายและการคุ้มครองร่างกายโดยมีเทคนิคคือ เริ่มรับประทานผลไม้ก่อนจนมีความรู้สึกว่า โอชะลดลง เลี่ยน ฝืดคอ หรือเริ่มมีสภาพด้านหรือเริ่มมีอาการไม่สบายบางอย่าง นั่นคือ ร่ายกายต้องการปริมาณแค่นั้น จึงเริ่มรับประทานผักเป็นลำดับต่อมาผักใช้รับประทานสด ที่ถอนพิษร้อนได้ดี ได้แก่ เบญจรงค์ (อ่อมแซบ) ผักบุ้ง หญ้าปักกิ่ง บัวบก หวานบ้านก้านตรง เป็นต้นโดยรับประทานพร้อมกับอะไรก็ได้ที่ทำให้รัประทาน ผักได้ จนมีความรู้สึกเริ่มฝืดคอ แสดงว่าร่างกาย ต้องการผักปริมาณเท่านั้น ถือว่าพอดี แล้วจึงรับประทานข้าวพร้อมกับข้าวเคี้ยวข้าวให้ละเอียดจนน้ำลาย ออกมาเต็มที่แล้วจึงกลืน จนรู้สึกเริ่มฝืดคอ แล้วจึงรับประทานถั่วเป็นลำดับต่อมา จนรู้สึกเริ่มฝืดคอจึงหยุด (การที่เรารับประทานอาหารทีละอย่างทำให้รูู้้ปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกาย ในขณะที่ร่างกายต้องการ ก็จะหลั่งน้ำลาย น้ำย่อยออกมาบ่อย เมื่อพอกับความต้องการก็จะไม่หลั่งออกมาย่อย ทำให้รู้สึกเริ่มฝืดคอหรือมีปฏิกริยา อาการต้าน) ถ้ามีแกงจืดก็รับประทานล้างคอตบท้าย ไม่ควรดื่มน้ำหลังอาหารทันที เพราะจะรบกวนระบบย่อย ยกเว้นน้ำ ที่ผ่านไฟ เช่นน้ำต้มหรือน้ำแกง เราจะเริ่มดื่มน้ำก็ต่อเมื่อรู้สึกกระหายหรือปากคอแห้งบางครั้ง หลังอาหารถ้าเราปากคอแห้งกระหายน้ำก็สามารถดื่มน้ำได้ แต่ถ้าเรารับประทานอาหารได้ถูกต้องสมดุล
พอเหมาะกับร่างกายแล้วหลังอาหารปากคอจะชุ่ม(ซึ่งรายละเอียด ศึกษาเพิ่มเติมได้ในหนังสือถอดรหัส สุขภาพร้อน-เย็น ไม่สมดุล)
๒. กดจุดลมปราณ กายบริหารและโยคะ
๓. ดื่มสมุนไพรฤทธิ์เย็น ได้แก่ ย่านาง ซึ่งธาตุน้ำผสมลม จะใช่ย่านางสด ๑๕-๒๐ ใบ ขยี้กับน้ำ ๑ แก้ว กรองเอาแต่น้ำดื่มก่อนอาหาร
๔. สวนล้างลำไส้ใหญ่ ด้วยสมุนไพรฤทธิ์เย็น โดยใช้ใบเตย ๑ ใบ ต้มกับน้ำ ๓-๕ แก้ว ให้เดือด ๑๐ นาที เอาน้ำที่ได้ผสมน้ำธรรมดาให้อุ่น แล้วใช้สวนล้างลำไส้ใหญ่ วันละ ๑-๒ ครั้ง ผลของการดูแลแก้ไขปัญหาสุขภาพหลังจากที่ลงมือ ปฏิบัติตัวตามวิธีการดังกล่าวเป็นเวลา ๑ สัปดาห์ อาการเจ็บป่วยต่างๆ จึงได้์ทุเลาลงมาก รู้สึกสบายตัว มีเหงื่อออกหายใจโล่งขึ้น มีเรี่ยวแรงในการทำงาน
บทสรุปและข้อคิดเห็น การดูแลสุขภาพแนวธรรมชาติบำบัดนั้น ถ้าวินิจฉัยและปรับความสมดุลได้ถูกต้อง อาการเจ็บป่วยก็จะทุเลาได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดทรัพยากรเรียบง่ายและพึ่งตนเองได้