Advertisement
นักดาราศาสตร์ค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาลที่มีลักษณะเหมือนโลกเป็นครั้งแรก (จากข่าว http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/6589157.stm)
ดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบนี้มีลักษณะอุณหภูมิที่ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไปเหมือนดาวเคราะห์อื่นๆที่ถูกค้นพบมาก่อน อุณหภูมิของดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ที่ประมาณ 0 ถึง 40 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่น้ำจะอยู่ในรูปของของเหลว และนั่นก็หมายถึงสิ่งมีชีวิตสามารถที่จะอาศัยอยู่ได้ เพราะน้ำเป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต จากโครงสร้างจำลองนักวิทยาศาตร์คาดว่าพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงนี้น่าจะเป็นหินเหมือนโลกเรา หรือไม่ก็ปกคลุมไปด้วยทะเล
ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาลดวงนี้มีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่เคยพบ มีรัศมีประมาณ 1.5 เท่าของโลก มีมวลสารมากกว่าโลก 5 เท่าและโคจรรอบดาวฤกษ์ ชื่อ Gliese 581 (เปรียบได้กับดวงอาทิตย์ของระบบสุริยะจักรวาลเรา) โดยระยะเวลาในการโคจรใช้เวลาเพียงแค่ 13 วัน ทั้งนี้เพราะว่ามันอยู่ใกล้กับดาวฤกษ์ Gliese 581 มาก เมื่อเปรียบเทียบระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์แล้ว ดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ใกล้ดาวฤกษ์ Gliese 581 มากกว่าถึง 14 เท่า แต่เนื่องจากดาวฤกษ์ Gliese 581 มีขนาดเล็กกว่า และอุณหภูมิต่ำกว่าดวงอาทิตย์ของเรามาก อุณหภูมิของดาวเคราะห์จึงไม่ร้อนจนเกินไป และตำแหน่งที่อยู่นั้นมีอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้
ดาวฤกษ์ Gliese 581 อยู่ห่างจากโลกเรา 20.5 ปีแสง อาศัยอยู่ในกลุ่มดาว Libra ถูกค้นพบโดยใช้กล้องดูดาว Eso 3.6m ที่หอดูดาว European Southern Observatory ที่เมือง La Silla ในทะเลทราย Atacama ประเทศชิลี การสำรวจพบว่าดาวฤกษ์ Gliese 581 มีดาวเคราะห์โคจรรอบๆอยู่สามดวง เริ่มจากดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกเรา 15 เท่าโคจรอยู่รอบในสุด ถัดมาเป็นดาวเคราะห์ที่กล่าวถึง และถัดมาเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่กว่าโลกเรา 8 เท่าโคจรอยู่รอบนอก
การตรวจสอบหาดาวเคราะห์ที่อยู่ระยะใกลมากๆนั้นนักดาราศาสตร์ต้องใช้วิธีตรวจสอบทางอ้อม โดยใช้เครื่องมือที่มีความไวต่อแสงสูง ที่สามารถวัดการเปลี่ยนแปลงของอัตราความเร็วในการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ในขณะที่ถูกแรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งนี้เนื่องจากนักดาราศาสตร์ไม่สามารถมองเห็นดาวเคราะห์โดยตรงได้เพราะแสงที่สว่างจ้ามากของดาวฤกษ์ที่มันโคจรอยู่ เทคโนโลยีของกล้องดูดาวปัจจุบันยังไม่สามารถจับภาพวัตถุที่อยู่ใกลๆและจางมากๆได้ โดยเฉพาะเมื่อวัตถุโคจรใกล้กับดาวฤกษ์ที่มีแสงสว่างจ้า
การค้นพบครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นในวงการดาราศาสตร์มาก เพราะในบรรดาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักวาลที่ค้นพบตอนนี้ประมาณ 200 กว่าดวง ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเหมือนดาวจูปีเตอร์ คือเป็นกลุ่มก๊าซที่มีอุณหภูมิร้อนมากๆ เพราะโคจรอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ที่ร้อนมาก มีดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะจักรวาลดวงนี้เป็นดวงแรกที่มีบรรยากาศเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต จึงจุดประกายความหวังให้กับนักดาราศาสตร์ที่จะใช้จะดาวเคราะห์ดวงนี้เป็นเป้าหมายของโครงการทางอวกาศในอนาคตเพื่อสำรวจหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก อย่างไรก็ตามเนื่องจากดาวเคราะห์ดวงนี้อยู่ห่างจากโลกเราถึง 20 ปีแสง ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่ตอนนี้เรายังไม่สามารถเดินทางไปสำรวจได้ แต่เราสามารถตรวจสอบค้นหาข้อมูลของมันทางกล้องส่องดูดาวได้ โครงการจะติดตั้งกล้องส่องดวงดาวในอวกาศเพื่อสังเกตการณ์ต่างๆที่อาจบ่งชี้หรือเชื่อมโยงถึงกระบวนการของสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ โดยจะสังเกตหาร่องรอยของก๊าซเช่น ก๊าซมีเทน (methane) และสิ่งที่บ่งชี้ถึงสารครอโรฟีน สารสีเขียวในพืชที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะแสง
ที่มาของภาพ จากข่าว BBC
HY300 โปรเจคเตอร์ 1080P 4K มินิโปรเจคเตอร์ Project Android 12.0 5G WIFI บลูทูธ รองรับการมิเรอร์หน้าจอ เชื่อมต่อกับมือถือ
฿940 - ฿2,699https://s.shopee.co.th/3LCRC5o6j5?share_channel_code=6
Advertisement
 เปิดอ่าน 25,408 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,184 ครั้ง  เปิดอ่าน 18,096 ครั้ง  เปิดอ่าน 21,745 ครั้ง  เปิดอ่าน 22,516 ครั้ง  เปิดอ่าน 25,263 ครั้ง  เปิดอ่าน 26,580 ครั้ง  เปิดอ่าน 21,409 ครั้ง  เปิดอ่าน 18,925 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,075 ครั้ง  เปิดอ่าน 20,710 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,612 ครั้ง  เปิดอ่าน 14,936 ครั้ง  เปิดอ่าน 4,290 ครั้ง  เปิดอ่าน 99,582 ครั้ง  เปิดอ่าน 18,324 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 19,184 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 35,049 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 29,582 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 45,068 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 1,848 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 14,396 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 52,011 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 1,787 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 93,682 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 13,652 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 237 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 14,827 ครั้ง |
|
|