Advertisement
สาเหตุของความดันโลหิตสูง (หมอชาวบ้าน)
โดย นพ.พินิจ ลิ้มสุคนธ์
ปัจจุบันนี้เกือบทุกคนที่เป็นผู้ใหญ่คงคุ้นเคยกับโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งประกอบด้วยการมีความดันโลหิตที่มีค่าสูงเกินปกติ และมีผลกระทบต่ออวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจและหลอดเลือด
หัวใจจะทำงานหนักขึ้นเพราะต้องสูบฉีดแรงขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น หัวใจโตและหัวใจล้มเหลวตามมา หลอดเลือดแดงทั่วทั้งตัวจะมีผนังหนาขึ้น โดยเฉพาะหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่อยู่ในเนื้อเยื่อต่าง ๆ จะได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด จึงเกิดการเสื่อมของผนังหลอดเลือดเหล่านี้ ซึ่งจะนำไปสู่การตีบตันหรือแตก และอวัยวะที่เกี่ยวข้องเกิดความเสียหายและขาดเลือดหรือมีเลือดออก
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางฟิสิกส์ คือ ความดันหรือแรงดันในหลอดเลือดสูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี คือ การที่เซลล์ของผนังหลอดเลือดมีความผิดปกติ เกิดการเสื่อมและมีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดไขมันจับผนังหลอดเลือด และมีการดื้ออินซูลิน ทำให้เกิดโรคเบาหวาน หรือการควบคุมเบาหวานยากขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อนง่ายขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีนี้เป็นเรื่องที่เข้าใจยากและถูกมองข้ามไป แพทย์ส่วนใหญ่จึงให้ความสนใจเพียงแค่ค่าความดันโลหิตที่วัดได้ซึ่งไม่ถูกต้องนัก
นอกจากการมองข้ามผลกระทบทางชีวเคมี ทั้งแพทย์และผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังละเลยการสืบค้นสาเหตุของความดันโลหิตสูง ถึงแม้ว่าผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเกือบทั้งหมดจะไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด โดยมากจะมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น อายุมาก กรรมพันธุ์ การสูบบุหรี่ การบริโภคเกลือเป็นประจำ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความเครียด แต่มีผู้ป่วยทางรายที่มีสาเหตุและบางอย่างก็สามารถแก้ไขได้ ทำให้ไม่ต้องใช้ยาควบคุมความดันโลหิตไปตลอด ซึ่งสาเหตุต่าง ๆ มีดังนี้
โรคไต ได้แก่ ไตพิการเรื้อรัง หรือหลอดเลือดแดงของไตตีบตัน ซึ่งการตรวจร่างกายจะต้องตรวจหาร่องรอยของไตพิการ และต้องฟังที่ท้องและเอวว่ามีเสียงฟู่ของหลอดเลือดตีบหรือไม่ ต้องตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และตรวจไตด้วยวิธีพิเศษ เช่น อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือตรวจด้วยสนามแม่เหล็ก
โรคของต่อมไร้ท่อ โดยเฉพาะต่อมหมวกไต ซึ่งจะผลิตฮอร์โมนบางอย่างทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยมักจะมีความดันโลหิตสูงมากเป็นพัก ๆ หรือมีความดันโลหิตสูงร่วมกับภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลังเป็น ๆ หาย ๆ การตรวจวินิจฉัย คือ การตรวจฮอร์โมนและการใช้อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือการตรวจด้วยสนามแม่เหล็ก
นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคของต่อมหมวกไตอาจเกิดอาการผิดปกติที่มีลักษณะพิเศษ คือ ความดันโลหิตสูง อ้วนบางส่วน คือหน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ ท้องโต หลังนูนเป็นหนอก แต่แขนขาลีบเล็กลงอ่อนกำลัง มีหนวดขึ้นหรือมีขนที่ใบหน้ามากขึ้น บวมทั้งตัวแต่ไม่มาก ท้องลายเป็นสีม่วงจาง ๆ ต่างจากคนตั้งครรภ์หรือคนอ้วนทั่วไปที่ลายซีด ๆ
โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในอกตีบแคบมาแต่กำเนิด หรือหลอดเลือดขนาดใหญ่อักเสบเรื้อรังจนตีบตัน ตรวจร่างกายพบชีพจรแขนขาแรงไม่เท่ากัน หรือชีพจรบางแห่งเบาผิดปกติ การวัดความดันโลหิตจึงต้องวัดเทียบกันทั้งแขนขวากับแขนซ้ายและแขนกับขา
สาเหตุจากยา ได้แก่ ยากลุ่มสตีรอยด์ ยาต้านการอักเสบ (เช่น ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ) ยาที่มีฤทธิ์หดหลอดเลือด (เช่น ยาแก้คัดจมูก และยาที่กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติบางอย่าง) จึงต้องตรวจสอบการใช้ยาของผู้ป่วยด้วย แม้แต่ยาสมุนไพรบางอย่างก็มีสารสตีรอยด์ หรือมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุได้เช่นกัน (เช่น ชะเอม)
ดังนั้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทุกคน ควรสอบถามแพทย์ที่ตรวจรักษาตนดังนี้
สาเหตุของความดันโลหิตสูงของตนคืออะไร จะเกิดจากโรคไต โรคต่อมหมวกไต โรคหลอดเลือด หรือเกิดจากยาได้หรือไม่
ผลกระทบที่เกิดจากความดันโลหิตสูงคืออะไร ต่อไปจะมีปัญหากับหัวใจและอวัยวะที่สำคัญอื่น ๆ หรือไม่ จะทราบได้อย่างไร รวมถึงจะป้องกันและแก้ไขอย่างไร
ผู้ป่วยรายหนึ่ง เป็นชายไทยวัยทำงาน มาพบผู้เขียนด้วยอาการปวดศีรษะรุนแรงเป็นพัก ๆ ตรวจพบว่าขณะปวดศีรษะผู้ป่วยจะมีความดันโลหิตสูงขึ้นมาก และลดลงเป็นปกติพร้อม ๆ กับหายปวดศีรษะ ลักษณะเช่นนี้สงสัยว่าอาจจะเป็นเนื้องอกชนิดหนึ่งของต่อหมวกไต จึงได้ตรวจฮอร์โมนและทำอัลตราซาวนด์ท้อง ผลออกมาปกติ
แต่เนื่องจากยังข้องใจอยู่จึงส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ปรากฏว่า มีเนื้องอกของปมประสาทข้างต่อมหมวกไต (เป็นชนิดเดียวกับเนื้องอกของต่อมหมวกไต) ซึ่งจะทำให้ความดันโลหิตสูงเป็นพัก ๆ หลังการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก อาการปวดศีรษะ จึงหายสนิทและความดันโลหิตปกติดี
ผู้ป่วยจึงกลับบ้านด้วยความรู้สึกทั้งดีใจที่หายสนิท โดยไม่ต้องกินยาความดันไปหลอด และอีกความรู้สึกหนึ่งคือความประหลาดใจที่ตนเองมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดที่ศีรษะ แต่กลับมีสาเหตุอยู่ในท้อง จนต้องผ่าตัดมีแผลที่หน้าท้องยาวมากกว่าคีบ
นี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าสาเหตุของความดันโลหิตสูงอาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่คาดไม่ถึงก็ได้
ขอบคุณที่มาจาก นิตยสารหมอชาวบ้าน
Advertisement
เปิดอ่าน 3,991 ครั้ง เปิดอ่าน 11,534 ครั้ง เปิดอ่าน 491 ครั้ง เปิดอ่าน 25,423 ครั้ง เปิดอ่าน 26,317 ครั้ง เปิดอ่าน 12,285 ครั้ง เปิดอ่าน 13,574 ครั้ง เปิดอ่าน 13,710 ครั้ง เปิดอ่าน 11,255 ครั้ง เปิดอ่าน 15,651 ครั้ง เปิดอ่าน 9,861 ครั้ง เปิดอ่าน 28,409 ครั้ง เปิดอ่าน 10,165 ครั้ง เปิดอ่าน 9,545 ครั้ง เปิดอ่าน 10,372 ครั้ง เปิดอ่าน 10,389 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 12,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,301 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 4,484 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,160 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 26,176 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,648 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,499 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 21,006 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,897 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,151 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,835 ครั้ง |
เปิดอ่าน 109,831 ครั้ง |
|
|