ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมคณิตศาสตร์  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data)


คณิตศาสตร์ เปิดอ่าน : 51,692 ครั้ง
Advertisement

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data)

Advertisement

การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data) โดย นางกรรณิกา ทิตาราม
          เมื่อมีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูล เราอาจดำเนินการเก็บรวบรวมด้วยตนเองหรืออาจนำเอาข้อมูลจากแหล่งที่มีผู้รวบรวมไว้แล้วมาใช้ก็ได้ ที่จำเป็นต้องเก็บรวบรวมเองอาจเป็นเพราะข้อมูลที่เราต้องการใช้ไม่สามารถหาได้เลยไม่ว่าจากแหล่งใด หรือข้อมูลดังกล่าวพอหาได้แต่ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อถือได้ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจว่าจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองหรือไม่  คือเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน  โดยทั่วไปการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้มักจะต้องใช้คนดำเนินงานเป็นจำนวนมากด้วย ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญๆ และมีขอบเขตกว้างขวาง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประชากร การเกษตร อุตสาหกรรม คมนาคม เป็นต้น  หน่วยงานของรัฐบาลจึงเป็นผู้เก็บรวบรวมและพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลดังกล่าว
[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

หัวข้อ

แหล่งที่มาของข้อมูล
          ดังได้กล่าวมาแล้ว ผู้ที่มีความจำเป็นต้องการใช้ข้อมูลอาจดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง หรือเลือกใช้ข้อมูลที่มีผู้เก็บรวบรวมไว้แล้วก็ได้ เอกชนหรือองค์การของรัฐบาลซึ่งเป็นผู้เก็บรวบข้อมูล เมื่อพิมพ์ข้อมูลเหล่านั้นขึ้นเพื่อเอาไว้ใช้เอง หรือเพื่อเผยแพร่ก็ตาม จะได้รับการอ้างอิงว่าเป็นแหล่งปฐมภูมิ (Primary source) แต่ถ้าเอกชนหรือหน่วยงานใดจัดพิมพ์เอกสารโดยมีข้อมูลซึ่งได้นำมาจากเอกสารอื่นที่มีผู้รวบรวมไว้แล้ว เอกสารที่จัดพิมพ์นั้นได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทุติยภูมิ (Secondary source) ของข้อมูลดังกล่าว ตัวอย่างเช่น สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประชากรและเคหะในปีพ.ศ. 2523 และได้พิมพ์รายงานมีชื่อว่ารายงานสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2523 เช่นนี้ รายงานดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็นแหล่งปฐมภูมิ  ในเวลาต่อมาธนาคารแห่งหนึ่งได้นำข้อมูลแสดงจำนวนประชากรเป็นรายภาคจากรายงานสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2523 ไปพิมพ์ลงในวารสารรายเดือนของธนาคาร เช่นนี้ วารสารของธนาคารได้ชื่อว่าเป็นแหล่งทุติยภูมิของข้อมูลที่นำลงพิมพ์นั้น
         อย่างไรก็ตาม แหล่งปฐมภูมิมักแสดงรายละเอียดของข้อมูลไว้มากกว่าเพราะเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลมาเอง ย่อมจะแสดงไว้ทั้งหมดทุกประเภทที่เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ส่วนแหล่งทุติยภูมิมักจะแสดงรายละเอียดไว้น้อยกว่า เพราะเลือกเอาแต่ข้อมูลชนิดที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือที่สนใจเท่านั้นไปพิมพ์ไว้

[กลับหัวข้อหลัก]

แหล่งทุติยภูมิ

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล
          ในการดำเนินงานเก็บรวบรวมข้อมูล อาจแบ่งได้เป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ โดยการสังเกตและโดยการสอบถาม
          1. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้เรียกว่าเป็นการดำเนินงานข้างเดียว เช่น การนับจำนวนผู้โดยสารรถประจำทางในช่วงเวลาหนึ่งตามสถานที่ต่างๆ ของกรุงเทพมหานคร การนับจำนวนรถที่ผ่านด่านตรวจรถในช่วงเวลาต่างๆ เป็นต้น การทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อทราบข้อมูลบางอย่างก็ถือว่าเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกต เช่น นักวิทยาศาสตร์คิดค้นหลอดไฟฟ้าชนิดใหม่แล้วนำหลอดไฟฟ้าเหล่านี้จำนวนหนึ่ง มาทดลองเปิดให้กระแสไฟฟ้าผ่านเพื่อทราบว่าจะให้แสงสว่างนานเท่าไร อายุการใช้งานของแต่ละหลอดไฟฟ้า คือข้อมูลที่เก็บรวบรวม
          2. การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้อาจแบ่งได้เป็น 3 ข้อย่อยด้วยกัน คือ
          2.1 โดยการสัมภาษณ์เป็นส่วนตัว วิธีนี้ได้แก่การซักถามโต้ตอบสนทนากัน จะเป็นโดยการพูดจาเห็นหน้ากัน หรือพูดจากันทางโทรศัพท์ก็ได้ การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เป็นส่วนตัวนี้ เป็นวิธีที่ใช้กับการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญๆ โดยทั่วไป เช่น การทำสำมะโนประชากรและเคหะ การทำสำมะโนการเกษตร การสำรวจแรงงาน การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร เป็นต้น ทั้งนี้เพราะผู้สัมภาษณ์ย่อมมีโอกาสอธิบายข้อถามให้ผู้ตอบสัมภาษณ์ได้เข้าใจแจ่มแจ้งและมีโอกาสซักถามเมื่อผู้ตอบตอบข้อความคลุมเครือ การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้มีส่วนช่วยให้การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ข้อจริงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะช่วยลดข้อเท็จที่เกิดขึ้นจากการเข้าใจข้อถามผิด หรือเกิดขึ้นโดยมิได้เจตนาลงได้มาก
          2.2 โดยการส่งแบบข้อถามทางไปรษณีย์ วิธีนี้แม้จะมีข้อดีในแง่ที่เสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานน้อย แต่ก็มีข้อเสียอยู่มากในด้านที่ผู้ตอบอาจเข้าใจคำถามไม่ถูกต้อง แล้วบันทึกข้อมูลที่ผิดวัตถุประสงค์ของข้อถามนั้น อนึ่งผู้ตอบบางคนก็ไม่สนใจกับข้อถาม ดังนั้นจึงปรากฏอยู่เสมอว่า การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้มักได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาไม่ครบถ้วนเป็นจำนวนมาก และแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืน บางรายการก็ไม่ได้รับการบันทึก นอกจากนั้นข้อเสียของวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีนี้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่สามารถใช้ได้กับชนทุกชั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบุคคลที่อ่านเขียนไม่ได้  ดังนั้นในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการส่งแบบข้อถามทางไปรษณีย์ จึงมีที่ใช้ค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ด้อยหรือกำลังพัฒนา ซึ่งประชากรของประเทศที่ยังอ่านเขียนไม่ได้มีอยู่เป็นจำนวนมาก
         2.3 โดยการลงทะเบียน วิธีนี้โดยมากประชาชนเป็นผู้ให้ข้อมูลตามกฎหมายโดยการบันทึกข้อมูลลงในทะเบียน  เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ได้จากหลักฐานการจดทะเบียนที่กองทะเบียนกรมตำรวจ ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิด การตาย การสมรส การหย่าร้าง ได้จากสำนักงานทะเบียนส่วนท้องถิ่น เป็นต้น
[กลับหัวข้อหลัก]

การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสอบถาม โดยการลงทะเบียน

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]
การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data)
          เมื่อเก็บรวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ระเบียบวิธีสถิติขั้นต่อไปก็คือการนำเสนอข้อมูล การนำเสนอที่ดีมิได้หมายความว่าเป็นการเสร็จสิ้นของการดำเนินงานทางสถิติ แต่การนำเสนอที่ดีจะช่วยปูพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะข้อความจริงต่างๆ ตลอดจนการเปรียบเทียบข้อมูลจะได้รับการนำเสนอให้แลเห็นเด่นชัด ความเข้าใจของผู้ใช้สถิติในเรื่องการนำเสนอข้อมูล จะช่วยให้สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างฉลาดและถูกต้อง
         ในการนำเสนอข้อมูลอาจทำได้ทั้งอย่างไม่มีแบบแผนและอย่างมีแบบแผน การนำเสนออย่างไม่มีแบบแผน หมายถึงการนำเสนอที่ไม่มีกฎเกณฑ์อะไรที่จะต้องถือเป็นหลักมากนัก  การนำเสนอแบบนี้ได้แก่การแทรกข้อมูลลงในบทความและข้อเขียนต่างๆ ส่วนการนำเสนออย่างมีแบบแผนนั้น เป็นการนำเสนอที่จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน ตัวอย่างการนำเสนอแบบนี้ได้แก่ การนำเสนอในรูปตาราง รูปกราฟ และรูปแผนภูมิ เป็นต้น
         1. การนำเสนอในรูปตาราง (Tabular presentation) ข้อมูลต่างๆ ที่เก็บรวบรวมมาได้เมื่อทำการประมวลผลแล้วจะอยู่ในรูปตาราง ส่วนการนำเสนออย่างอื่นเป็นการนำเสนอโดยใช้ข้อมูลจากตาราง

                  เปรียบเทียบการปรับราคาน้ำมันปี 2521-2523
                  (ราคา : บาท / ลิตร)
ชนิดน้ำมัน 2521 2522 2523
10 มี.ค. 31 ม.ค. 22 มี.ค. 13 ก.ค. 20 ก.ค. 9 ก.พ. 20 มี.ค.
   เบนซินพิเศษ 4.98 5.60 - 7.84 - 9.80 -
   เบนซินธรรมดา 4.98 5.12 - 7.45. - 9.26 -
   น้ำมันก๊าด 2.68 3.06 - 5.12 4.20 6.71 5.70
   ดีเซลหมุนเร็ว 2.64 3.03 - 4.88 - 7.39 6.50
   ดีเซลหมุนช้า 2.50 2.93 - 4.71 - 7.12 6.27
   น้ำมันเตา 450 1.52 - - - - - -
   น้ำมันเตา 600 1.66 1.86 1.90 3.04 - 3.78 -
   น้ำมันเตา 1,200 1.62 1.79 1.83 2.93 - 3.64 -
   น้ำมันเตา 1,500 1.61 1.77 1.81 2.90- - 3.61 -
                  ที่มา: ภาวะการค้าของประเทศไทยปี 2522 สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

         2. การนำเสนอด้วยกราฟเส้น (Line graph) เป็นแบบที่รู้จักกันดีและใช้กันมากที่สุดแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับข้อมูลที่อยู่ในรูปของอนุกรมเวลา เช่น ราคาข้าวเปลือกในเดือนต่างๆ ปริมาณสินค้าส่งออกรายปี เป็นต้น
         3. การนำเสนอด้วยแผนภูมิแท่ง (Bar chart) ประกอบด้วยรูปแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งแต่ละแท่งมีความหนาเท่าๆ  กัน โดยจะวางตามแนวตั้งหรือแนวนอนของแกนพิกัดฉากก็ได้
        4. การนำเสนอด้วยรูปแผนภูมิวงกลม  (Pie chart) เป็นการแบ่งวงกลมออกเป็นส่วนต่างๆ ตามจำนวนชนิดของข้อมูลที่จะนำเสนอ
[กลับหัวข้อหลัก]

การนำเสนอด้วยกราฟเส้น


การนำเสนอด้วยรูปแผนภูมิวงกลม

[ดูภาพทั้งหมดในเรื่องนี้]

บรรณานุกรม
นางกรรณิกา ทิตาราม


การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data)การเก็บรวบรวมข้อมูล(CollectionofData)

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การวัดระยะทางบนพื้นราบ

การวัดระยะทางบนพื้นราบ


เปิดอ่าน 30,204 ครั้ง
ทฤษฎีบทขิองปิทาโกรัส

ทฤษฎีบทขิองปิทาโกรัส


เปิดอ่าน 49,577 ครั้ง
เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe)

เอกภพสัมพัทธ์ (Relative Universe)


เปิดอ่าน 36,558 ครั้ง
จำนวนเต็ม (Integer) คืออะไร

จำนวนเต็ม (Integer) คืออะไร


เปิดอ่าน 19,400 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การประยุกต์สถิติในชีวิตประจำวัน

การประยุกต์สถิติในชีวิตประจำวัน

เปิดอ่าน 7,864 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มหัศจรรย์ เลข 11
มหัศจรรย์ เลข 11
เปิดอ่าน 71,997 ☕ คลิกอ่านเลย

สรุปสูตรไฮเพอร์โบลามุมฉาก
สรุปสูตรไฮเพอร์โบลามุมฉาก
เปิดอ่าน 42,907 ☕ คลิกอ่านเลย

สรุปสูตรไฮเพอร์โบลา
สรุปสูตรไฮเพอร์โบลา
เปิดอ่าน 51,590 ☕ คลิกอ่านเลย

คณิตศาสตร์ง่ายๆแต่แปลกดีแท้
คณิตศาสตร์ง่ายๆแต่แปลกดีแท้
เปิดอ่าน 62,088 ☕ คลิกอ่านเลย

ประวัติเครื่องหมายหาร  (÷)
ประวัติเครื่องหมายหาร (÷)
เปิดอ่าน 251,911 ☕ คลิกอ่านเลย

พิสูจน์กฎคณิตศาสตร์โดยใช้ภาพ
พิสูจน์กฎคณิตศาสตร์โดยใช้ภาพ
เปิดอ่าน 20,193 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ข้อกำหนดวินัย และการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้อกำหนดวินัย และการดำเนินการทางวินัย การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
เปิดอ่าน 20,293 ครั้ง

คำพังเพย
คำพังเพย
เปิดอ่าน 44,545 ครั้ง

วัคซีนป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยให้รอดพ้นโรคร้ายได้มากถึง1ใน5
วัคซีนป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยให้รอดพ้นโรคร้ายได้มากถึง1ใน5
เปิดอ่าน 9,621 ครั้ง

ข่าวดีผู้ชอบดื่ม "ชา" ไม่ใช่แค่ดื่มเท่ห์ๆ แต่ดีต่อสุขภาพ
ข่าวดีผู้ชอบดื่ม "ชา" ไม่ใช่แค่ดื่มเท่ห์ๆ แต่ดีต่อสุขภาพ
เปิดอ่าน 19,544 ครั้ง

ชาวเน็ตแห่เล่น "หิมะ" ตกในเมืองไทย
ชาวเน็ตแห่เล่น "หิมะ" ตกในเมืองไทย
เปิดอ่าน 15,197 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ