ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เกิดเป็นคนทั้งที...มีความพอดี...ซะมั่ง!!


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,137 ครั้ง
Advertisement

เกิดเป็นคนทั้งที...มีความพอดี...ซะมั่ง!!

Advertisement

ความพอดี



ความพอดี


         คนหลายคนไม่รู้จักความพอดี  จึงมักทำอะไรที่ขาดๆ เกินๆ ไม่ปกติอยู่เสมอ ตื่นตัวจนน่าตกใจหรือไม่ก็เกียจคร้าน ไม่ดูดำดูดีไปเลย หาตรงกลางไม่ได้ พูดมากจนน่ารำคาญ พูดทุกอย่างที่รู้สึกโดยไม่ต้องใช้การคิดหรือการไตร่ตรองเป็นตัวกรองให้เหมาะสมว่าอะไรควรพูดหรือไม่ควรพูด ควรพูดอย่างไร ควรพูดแค่ไหน ควรพูดเมื่อไหร่


         เอาเรื่องบางเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นธุระมาเป็นธุระ แล้วก็ทอดธุระในเรื่องสำคัญๆ ไปโดยไม่รู้สึกรู้สม เขาไม่เคยแยกได้ว่าตรงไหนคือระดับของความเหมาะสม ซึ่งหมายถึงเหมาะสมสำหรับตัวเองและเหมาะสมสำหรับผู้อื่นด้วย นั่นไม่ต้องรวมถึงกาลเทศะ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งของการขัดเกลามนุษย์ ให้รู้จักความเหมาะความควร


         หินกลายเป็นเพชรเมื่อเจียระไน


         คนหายจัญไร...เมื่อถูกขัดเกลา!


         เพชร พลอย และอัญมณีมีค่าหลายอย่าง แท้จริงก็เป็นแค่หิน จมอยู่ในดินอาจไม่มีใครรู้ค่า แต่เมื่อมาขัดมาล้าง และถูกเจียระไน ค่าของมันก็ทวีสูงขึ้น เพราะความงามของมันจะกระจ่างสายตา เมื่อได้เห็นก็ต้องการได้ครอง จึงเป็นที่ต้องการของใครต่อใคร


         เช่นเดียวกับคน... คนที่มีกิริยามารยาท รู้จักพูด รู้จักคิด รู้จักทำเท่าที่เหมาะสม ก็มักจะเป็นที่รักของใครต่อใคร และช่วยสานประโยชน์ให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นมาได้มาก ค่าของคนประการหนึ่งดูได้จากการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นได้ว่า เขาได้รับการขัดเกลามาบ้างหรือไม่ เป็นคนหยาบหรือคนละเอียด สุกหรือดิบ


         ข้าวสุกที่หอม ฟู นุ่ม น่ารับประทาน สะท้อนฝีมือคนหุงและพันธุ์ข้าวฉันใด กิริยามารยาทของลูกหลาน ก็สะท้อนฝีมือการอบรมขัดเกลาของพ่อแม่และครอบครัวฉันนั้น


         การขัดเกลาไม่สามารถทำได้เพียงวันสองวัน แต่เป็นสิ่งที่ต้องอบรมกันวันละเล็กละน้อย เพื่อค่อยๆ เกลาสิ่งที่เกินและเติมสิ่งที่พร่อง จนกว่าจะได้ระดับของความพอเหมาะพอดี


         ในทางพระพุทธศาสนา ให้หลักหรือ "ทาง" ที่จะเดินสู่ความพอดี เป็นแนวทางของการอบรมขัดเกลา ทางกาย วาจา และใจ ให้ละเอียดอ่อน งดงาม นั่นคือ อัฏฐังคิกมรรค หรือมรรค 8


มรรค 8 : ทางสู่ความพอดี    


         มรรค 8 หรืออัฏฐังคิกมรรค หรืออริยมรรค มัชฌิมาปฏิปทา ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ ทางสายกลาง คือแนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา และใจ ที่ควรดำเนินไป เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจความอยาก แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขเป็น "มัชฌิมาปฏิปทา" คือทางสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะ ดั่งสายของเครื่องดนตรีที่เทียบเสียงไว้ได้ที่แล้ว


         ที่เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" นั้น หมายความว่าจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็เมื่อพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่าง ดุจเชือกที่ฟั่นแปดเกลียว


ก้าวไปในทาง 8 สาย


         1. สัมมาทิฏฐิ ความเข้าใจถูกต้อง คือ เข้าใจอย่างทั่วถึงว่า เหตุนั้นเป็นอย่างไร ผลอย่างหยาบๆ ที่ปรากฎชัดๆ เป็นอย่างไร อย่างละเอียดที่แอบแฝงเป็นอย่างไร ทั้งเหตุและผลนั้น มีลำดับอย่างไร


         แปลง่ายๆ ได้ว่า ก่อนจะทำสิ่งใด พูดสิ่งใด ให้ใช้ความคิดที่เป็นสัมมา คือถูกต้อง รู้แจ้งแทงตลอดเป็นตัวนำ  เพื่อไตร่ตรองว่าหากพูด (ซึ่งเป็นเหตุ) ออกไป จะให้ผลอย่างไร เพื่อจะได้รู้ว่าควรพูดหรือไม่ ควรพูดอย่างไร เช่นเดียวกับการกระทำทั้งหลาย หากมีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำ ก็จะทำให้รู้ได้ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ และควรทำแค่ไหน ควรทำอย่างไร หรือควรจะงดเว้นเสีย โดยการคิดนั้นต้องคิดด้วยปัญญา คือรู้แจ้งแทงตลอดอย่างปลอดโปร่ง ไม่ใช่ด้วยอวิชชา คือรู้แจ้งแทงตลอดด้วยความมืดบอดเพราะโทสะหรือความเชื่อมั่นลำพอง หรือเพราะไม่รู้แต่ก็อยากจะอวดรู้


         บางคนพูดก็ไม่คิด ทำก็ไม่คิด พูดไปแล้วถึงเพิ่งมาคิด ทำจนเกิดผลไปแล้วจึงค่อยมารู้สึกนึกคิดว่าไม่ควรทำ เช่นนั้นก็สายเกินไปเสมอ


         2. สัมมาสังกัปปะ คือ ความใฝ่ใจถูกต้อง คือ ไม่ใฝ่ใจกระทำสิ่งที่จะนำความมืดมนมาสู่ชีวิต ยังปัญญาให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป และเดินให้ไกลจากความขุ่นแค้น ซึ่งเมตตากับกรุณา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้ดี มีความสุข และยินดีในความเจริญของเขาจะเป็นแรงขับดันที่สำคัญ


         ต้องดำเนินชีวิตทุกวัน ด้วยใจที่ปลอดจากความโลภ ปลอดโปร่งจากกาม ไม่หมกมุ่นพัวพันติดข้องในสิ่งสนองความอยากต่างๆ ปราศจากความเห็นแก่ตัวด้วยการคิดเสียสละ ไม่พยาบาท ไม่มีความเคียดแค้น ชิงชัง ขัดเคือง หรือเพ่งมองในแง่ร้ายต่างๆ แต่มีเมตตา คือปรารถนาดี มีไมตรี ต้องการให้ผู้อื่นมีความสุข ไม่มีการคิดทำร้ายหรือทำลาย ทว่าคิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์


         3. สัมมาวาจา คือ การพูดจาถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งประกอบไปด้วย


           ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก


           ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้น แล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน จงสมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ด้วยการกล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน


           ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ


           ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐานมีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร


         4. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเอง และผู้อื่น ไม่อ่อนข้อต่อการกระทำที่จะเป็นโทษทั้งหลาย ซึ่งหลายคนรู้ทั้งรู้ว่าสูบบุหรี่เป็นโทษ ดื่มสุราเป็นโทษ เครียดเป็นโทษ ฯลฯ ก็ยังอ่อนข้อหรือ "หยวน" แล้วก็ทำ


         5. สัมมาอาชีวะ คือ การดำรงชีพถูกต้อง ประกอบกิจการงานที่ถูกต้อง ไม่เป็นโทษต่อตนเองและผู้อื่น


         6. สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรถูกต้อง คือใจที่บากบั่นในอันที่จะก้าวหน้า ไม่ถอยหลังเข้าสู่ความเสื่อม 


         7. สัมมาสติ คือ การระลึกประจำใจถูกต้อง ระลึกแต่ในสิ่งที่เกื้อหนุนแก่ปัญญา มีสติระลึกอยู่เป็นนิจว่า เราจะกระทำอะไร และกำลังทำอะไรอยู่ ไม่เป็นคนเผลอ การไม่เผลอหรือการรู้ตัวอยู่เป็นนิจ เป็นทางให้หลีกได้จากการกระทำความชั่ว โดยต้องระลึกได้ยามรู้สึกสบายหรือไม่สบาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ ระลึกได้ว่าจิตกำลังเศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในจิตใจ การระลึกรู้ได้จะทำให้เราเท่าทันอารมณ์ ไม่อ่อนคล้อยตามอารมณ์ และกระทำในสิ่งที่ไม่ควรกระทำออกไป  


         8. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นถูกต้อง ได้แก่ ความมีสมาธิ สงบนิ่งอยู่ในสิ่งที่ถูก ไม่วอกแวกวอแว เยือกเย็น สุขุม สำรวม


กุญแจดอกใหญ่คืออ่อนน้อมและสำรวม


         ดังที่กล่าวมาทั้งหมด สรุปได้ง่ายๆ ว่า คนจะเสาะหาความพอดีพบและดำเนินชีวิตด้วยความพอดีได้ ต้องมีกุญแจดอกใหญ่สองดอก คือ ความอ่อนน้อมและสำรวม


         ความอ่อนน้อมทำให้ไม่ลำพอง ไม่โอ้อวด ไม่ถือโทสะเพื่อเอาชนะคะคาน อวดเบ่ง หรืออวดเก่ง หรือจ้องแต่จะแข่งขันอย่างบ้าคลั่ง ส่วนความสำรวมจะทำให้มีสติ รู้ได้ว่าจะไม่ทำอะไรให้เป็นเหตุแห่งทุกข์ แห่งปัญหา ไม่ว่าจะเกิดกับตัวเองหรือใคร


         หลายคนหาความพอดีไม่ได้เพราะสำรวมไม่เป็น ใจร้อน กร่าง ถือเอาใจของตัวเองเป็นสำคัญ ยิ่งเมื่อไปผสานกับการขาดความอ่อนน้อม ก็ย่อมเป็นพวกมุทะลุ เถื่อยถ่อย ไม่พินิจกาลเทศะ และแสดงออกอย่างหยาบๆ เหมือนเพชรที่ยังเป็นหิน ไม่ถูกเจียระไน...ไม่งดงาม!!




                                                    ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
                                                                 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1833 วันที่ 7 มี.ค. 2552


เกิดเป็นคนทั้งที...มีความพอดี...ซะมั่ง!!

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

100 Things I?ve Learned About Photography.

100 Things I?ve Learned About Photography.


เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
ชีวิตครูเฒ่า

ชีวิตครูเฒ่า


เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
ตบหัวแล้วลูบหลัง

ตบหัวแล้วลูบหลัง


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อุปมาบุคคลที่อยู่รอบตัว

อุปมาบุคคลที่อยู่รอบตัว

เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทำร้ายกระดูกสันหลังทำไม???
ทำร้ายกระดูกสันหลังทำไม???
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

"เนียน"
"เนียน"
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย

สุขอยู่ที่ใจ . . . ฉันจะให้กันและกัน
สุขอยู่ที่ใจ . . . ฉันจะให้กันและกัน
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

"เกาหลีจัดอันดับสาว!!!**หน้าอกสวย**แห่งวงการบันเทิง"
"เกาหลีจัดอันดับสาว!!!**หน้าอกสวย**แห่งวงการบันเทิง"
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย

"เผยเคล็ดลับการทำลูก นอนทุกวันอสุจิแข็งแรง"
"เผยเคล็ดลับการทำลูก นอนทุกวันอสุจิแข็งแรง"
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

?ร้อยใจภักดี 109 ปี สมเด็จย่า? วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ และวันอาสาสมัครไทย 52
?ร้อยใจภักดี 109 ปี สมเด็จย่า? วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ และวันอาสาสมัครไทย 52
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา
งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา
เปิดอ่าน 43,939 ครั้ง

ยืดอายุด้วยการเดิน
ยืดอายุด้วยการเดิน
เปิดอ่าน 11,461 ครั้ง

เด็กมี IQ อย่างเดียวไม่พอ! ต้องมี EF ทักษะฝึกสมองบ่มเพาะ "นิสัยอดทน-พากเพียร"
เด็กมี IQ อย่างเดียวไม่พอ! ต้องมี EF ทักษะฝึกสมองบ่มเพาะ "นิสัยอดทน-พากเพียร"
เปิดอ่าน 64,465 ครั้ง

พบดาวฤกษ์ดวงใหม่ สว่างกว่าดวงอาทิตย์ 10 ล้านเท่า
พบดาวฤกษ์ดวงใหม่ สว่างกว่าดวงอาทิตย์ 10 ล้านเท่า
เปิดอ่าน 20,841 ครั้ง

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล
เปิดอ่าน 29,617 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ