Advertisement
❝ ....ยุคสมัยนี้วัตถุยิ่งเจริญ..แต่จิตใจคนเริ่มเสื่อมถอย..ถ้าหยุดสักนิด นำมาคิดสักหน่อย..ปฏิบัติตามคุณธรรม...เราคงได้มีส่วนช่วยฟื้นฟูสังคมไทยด้วยกัน... เพื่อการอยู่อย่างมีความสุข... ❞
การปฏิบัติตามคุณธรรม ๔ ประการ
เป็นคุณธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงนำเอาคำแปลพระศาสนธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่าฆราวาสธรรม มารวมเป็นพระบรมราโชวาท เพื่อเป็นหลักให้ประชาชนคนไทยทุกคนได้ศึกษา และนำไปปฏิบัติปลุกฝังให้เจริญงอกงามในจิตใจ จะช่ายให้ประเทศชาติเกิดความสงบสุข ร่มเย็นประกอบด้วย.-
คุณธรรมประการที่ ๑ คือ การรักษาความสัจความจริงใจต่อตัวเองที่ ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นคุณธรรม
ความสัจ คือ สัจจะ ความจริงใจ เป็นคนพูดจริงทำจริงอย่างไรก็ปฏิบัติอย่างนั้นเป็นปกตินิสัย เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งตรงข้ามกับคนไม่มีสัจจะความจริงใจเป็นคนใจคอโลเล พูดไม่จริง ทำไม่จริงเป็นคนปากกับใจไม่ตรงกันดังคำพังเพยที่ว่า "เมื่อไม่ทำดังปากว่า และจะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน " คนที่ไม่มีสัจจะอยู่ในจิตใจเป็นบุคคลที่ไร้ค่าเป็นบุคคลที่สังคมไม่ปรารถนา
คุณธรรมประการที่ ๒ คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติและปฏิบัติ อยู่ในความสัจความดีนั้นคุณธรรม
ข้อนี้แยกได้เป็น ๒ ประการคือ รู้จักข่มใจตนเอง ให้ประพฤติและปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดีนั้นการข่มใจ หมายถึงการรู้จักบังคับตนเอง ไม่ให้โลภอยากได้ในทางทุจริตผิดศีลธรรม ไม่ให้โกรธเคืองคิดอาฆาตพยาบาทจองเวรไม่หลงงมงายคนที่มีความข่มใจจะเป็นคนเก็บอารมณ์เก่ง ไม่แสดงอาการผิดปกติออกนอกหน้าตามคำพังเพยที่ ว่า "เก็บน้ำใจขุ่นไว้ข้างใน นำน้ำใสไว้ข้างนอก"
การฝึกใจ หมายถึง การรู้จักฝึกฝนตนเองรู้จักฝึกตัวฝึกใจปรับปรุงแก้ไขตัวเอง ให้เหมาะสมกับภาวะและสถานะของตน อีกประการหนึ่งคือการหยุดใจ เป็นการรู้จักยับยั้งใจไม่ถลำลงไปสู่ความชั่ว ความผิด ความเสียหาย
คุณธรรมประการที่ ๓ คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความทุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด เป็นคุณธรรมที่สามารถแยกได้เป็น ๖ อย่าง ได้แก่
๑.การอดทน ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุประการใด
๒.การอดทน ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริตไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุประการใด
๓.การอดกลั้น ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ ไม่ว่าจะเป็นเตุประการใด
๔.การอดกลั้น ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสุจริต ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุประการใด
๕.การอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุประการใด
๖.การอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสุจริต ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุประการใด
การอดทน อดกลั้น อดออม ก็เพื่อให้พ้นจากสภาพที่เลว และให้ได้มาซึ่งสภาพที่ดี ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุประการใด
๒.การอดทน ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุประการใด
๓.การอดกลั้น ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ ไม่ว่าจะเป็นเตุประการใด
๔.การอดกลั้น ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสุจริต ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุประการใด
๕.การอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุประการใด
๖.การอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสุจริต ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุประการใด
การอดทน อดกลั้น อดออม ก็เพื่อให้พ้นจากสภาพที่เลว และให้ได้มาซึ่งสภาพที่ดี
คุณธรรมประการที่ ๔ การรู้จักละความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
คุณธรรมข้อนี้เป็นการสอนให้ละวาง ๒ อย่างคือ
๑.ละวางความชั่ว
๒.ละวางความทุจริตและสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
การละวางหมายถึง การละทิ้ง ไม่ใส่ใจอารมณ์ที่มารบกวนให้เรากระทำชั่ว ให้เรากระทำทุจริตซึ่งทำให้เสียความจริงใจ สละวัตถุ และสละอารมณ์ การเสียสละวัตถุหรือสิ่งของธรรมดา เราอยู่ในสังคมต้องรู้จักการเสียสละในคราวที่ควรจะเสียสละ ต้องรู้จักแบ่งปันแก่คนที่สมควรจะให้การแบ่งปัน เป็นการแสดงความมีน้ำใจ การเสียสละอารมณ์เป็นการปลดเปลื้องอารมณ์ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาอันจะทำให้บุคคลอื่น เกิดความขัดใจไม่พอใจ เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คือถ้าหากเราเสียสละแล้วไม่ว่าวัตถุก็ดี อารมณ์ก็ดี สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดความสุขสงบของบุคคล สังคม ก็ย่อมที่จะทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข ร่มเย็นด้วยแล้วเราก็ควรที่จะปฏิบัติ...
ขอบคุณที่มาข้อมูล www.local.moi.go.th
วันที่ 7 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,617 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,071 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,056 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,768 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,323 ครั้ง |
|
|