พิกุลเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 ม. เรือนยอดแน่นทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา มีรอยแตกระแหงตามแนวยาว
ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบสลับ ลักษณะใบมนเป็นรูปไข่ หรือรูปไข่แกมหอก มีขนาดกว้าง 2-5 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนใบสอบมอน ปลายใบเรียวหรือหยักเป็นติ่ง
ดอกเกิดเป็นกระจุกตามง่ามใบและตามยอด มีสีขาวปนเหลือง กลีบรองดอกมี 8 กลีบ เรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 8 แฉก ดอกบานมีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี
ผลรูปไข่กลมถึงรี ภายในมีเมล็ดเดียว
การแพทย์แผนไทยจะใช้ ดอกสด เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย ดอกแห้ง ใช้เป็น เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ ผลสุก รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก เปลือก ทำยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด เมล็ด นำมา ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก ใบ ใช้ ฆ่าพยาธิแก่นที่ราก ใช้ เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม ส่วนกระพี้ ใช้ แก้เกลื้อน
ที่มา เดลินิวส์ วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2556