ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ "
⇔" การเชื่อมประพจน์ ก กับ ข ด้วย ⇔ ซึ่งเขียนแทนด้วย ก ⇔ ข มีความหมายว่า ก เป็นเหตุของ ข และในขณะเดียวกัน ข ก็เป็นเหตุของ ก ด้วย ถ้าพูดตามภาษาตรรกวิทยาก็คือ ก ⇔ ข มีความหมายเดียวกันกับ (ก → ข) ^ (ข → ก) เช่น
ก แทน สมชายไปงานเย็นนี้
ข แทน สมศรีไปงานเย็นนี้
ก
⇔ ข แทน ถ้าสมชายไปงานเย็นนี้แล้ว (จะได้) สมศรีไปงานเย็นนี้ด้วย และถ้าสมศรีไปงานเย็นนี้แล้ว (จะได้) สมชายไปงานเย็นนี้ด้วย
สมมุติเหตุการณ์ว่า สุพจน์รู้จักสมชายและสมศรี และสุพจน์ได้กล่าว ประพจน์ ก ⇔ ข เราจะพิจารณาคำกล่าว ก ⇔ ข ของสุพจน์ว่าเป็นจริงหรือเท็จได้ 4 กรณีคือ
กรณีที่ 1
ก เป็นจริง เมื่อสมชายไปงานเย็นนี้
ข เป็นจริง เมื่อสมศรีไปงานเย็นนี้
จะได้ (ก → ข), (ข → ก) เป็นจริงทั้งคู่
แสดงว่า (ก →
ข) ^ (ข →ก) เป็นจริง ดังนั้น ก → ข เป็นจริง
กรณีที่ 2
ก เป็นจริง เมื่อสมชายไปงานเย็นนี้
ข เป็นเท็จ เมื่อสมศรีไม่ไปงานเย็นนี้
จะได้ (ก →ข) เป็นเท็จ, (ข →ก) เป็นจริง
แสดงว่า (ก →ข)
^ (ข →ก) เป็นเท็จ ดังนั้น ก ⇔ข เป็นเท็จ
กรณีที่ 3
ก เป็นเท็จ เมื่อสมชายไม่ไปงานเย็นนี้
ข เป็นจริง เมื่อสมศรีไม่ไปงานเย็นนี้
จะได้ (ก →ข) เป็นจริง, (ข →ก) เป็นเท็จ
แสดงว่า (ก →ข)
^ (ข →ก) เป็นเท็จ ดังนั้น ก ⇔ ข เป็นเท็จ
กรณีที่ 4
ก เป็นเท็จ เมื่อสมชายไม่ไปงานเย็นนี้
ข เป็นเท็จ เมื่อสมศรีไม่ไปงานเย็นนี้
จะได้ (ก →ข), (ก →ข) เป็นจริงทั้งคู่
แสดงว่า (ก →
ข) ^ (ข →ก) เป็นจริง ดังนั้น ก ⇔ ข เป็นจริง
เขียนแสดงด้วยตารางได้ดังนี้
|
ก |
ข |
ก ⇔ ข |
กรณีที่ 1 |
จริง |
จริง |
จริง |
กรณีที่ 2 |
จริง |
เท็จ |
เท็จ |
กรณีที่ 3 |
เท็จ |
จริง |
เท็จ |
กรณีที่ 4 |
เท็จ |
เท็จ |
จริง |
[กลับหัวข้อหลัก]