ตอนที่ 3 ...
ขั้นตอนกระบวนการทำวิจัยต่อจากตอนที่ 2
3. กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรื่อง (ได้บอกไว้แล้วในขั้นตอนที่ 2) อย่าลืมว่าชื่อเรื่องจะต้องสอดคล้องกับเนื้องานวิจัยมีความน่าสนใจ ทันสมัย อย่านำเรื่องที่ไม่น่าสนใจ มีประโยชน์น้อย หรือเป็นเรื่องที่ทราบอยู่แล้ว โดยไม่ต้องทำวิจัยมาเป็นชื่อเรื่องเด็ดขาด
4. การกำหนดวัตถุประสงค์ (ความมุ่งหมาย/จุดมุ่งหมาย) หลังจากได้กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรื่องแล้ว เราก็จะวัตถุประสงค์ให้มีความสอดคล้องกับปัญหาของการวิจัย(ชื่อเรื่อง) ควรกำหนดให้ชัดเจนเป็นข้อ ๆ ว่าจะศึกษาเรื่องอะไร หรืออยากรู้เรื่องอะไรบ้าง โดยมีหลักการสำคัญๆ ดังนี้
• เขียนให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับปัญหาการวิจัย
• ระบุให้ชัดเจนว่าจะทำอะไร/อยากรู้อะไร
• เขียนเป็นประโยคบอกเล่า เรียงตามลำดับที่ควรจะเป็น
• เขียนเป็นภาษาที่เข้าใจง่าย และแยกให้ชัดเจนเป็นข้อ ๆ
• ต้องอยู่ในขอบข่ายของประเด็นปัญหาที่กระทำได้และที่กำหนดไว้
• ถ้าตั้งสมมุติฐานแล้วต้องทดสอบได้
ตัวอย่าง
ชื่อเรื่อง : การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องการวิเคราะห์และสังเคราะห์ประโยค กลุ่มสาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คุณครูอาจจะกำหนดวัตถุประสงค์หลายข้อกว่านี้ก็ไม่เป็นไรนะคะ แต่ถ้าหลายข้อ รายละเอียดต่างๆ ก็จะเพิ่มมากขึ้น ถ้ายังไม่เชี่ยวชาญพอ ไม่ควรกำหนดหลายข้อ จะยุ่งยากเปล่า ๆ
ไว้อ่านต่อตอนที่ 4 ค่ะ
จิราภรณ์ หอมกลิ่น