Advertisement
เมื่อตอนที่แล้วเราได้พูดกันถึง Gen Y ในแง่มุมพื้นฐานของ Gen Y และแนวคิดในการทำงาน รวมถึงจุดเด่นของ Gen Y คราวนี้เรามาดูกันว่าปัญหาของ Gen Y มีอะไรบ้าง ? และเราจะมีวิธีการบริหาร Gen Y ในองค์กรกันอย่างไร ?
โดย ประสิทธิ์ องอาจตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานทรัพยากรบุคคลธนาคารกสิกรไทย
1.ปัญหาของ Gen Y
Gen Y มีจุดเด่นมากมายก็จริง แต่ก็มีจุดอ่อนมากมายด้วยเช่นกัน เรามาดูกันว่า Gen Y มีปัญหาในเรื่องอะไรกันบ้าง
เรื่องแรก Gen Y จะ "ขาดทักษะในการสื่อสาร" เนื่องจากเรากำลังอยู่ในยุคของ "สังคมแบบก้มหน้า" กล่าวคือ เกือบทุกคนจะถือ Smart Phone หรือ Tablet กันคนละเครื่อง แล้วก้มหน้าก้มตาจิ้ม Smart Phone หรือ Tablet ของตัวเอง จึงทำให้ทักษะการสื่อสารของคนในยุคปัจจุบันด้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะในการพูด ฟัง หรือแม้แต่ทักษะในการเขียน
ตอนนี้มีภาษาใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาก โดยเฉพาะภาษาเฉพาะที่เป็นของ Gen Y เช่น "ฟิน" "บ่องตง" "จุงเบย" "อิอิ" เป็นต้น ดังนั้น เมื่อต้องมาสื่อสารแบบเป็นเรื่องเป็นราวในการทำงาน จึงทำให้ Gen Y ไม่ถนัด
ปัญหาของ Gen Y ข้อต่อไป คือ การยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง เนื่องจากการที่คนนิยมมีลูกน้อยลง ทำให้ Gen Y ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวเป็นอย่างดี จนบางครั้งก็ดีเกินไป ทำให้ Gen Y บางคนเอาแต่ใจตัวเอง ยึดความต้องการของตัวเองเป็นหลัก คิดว่าคนอื่นต้องปรับตัวเพื่อให้เข้ากับความต้องการของเขา
นอกจากนี้ Gen Y ยังมีปัญหาในเรื่องความอดทนต่ำ เพราะการที่เกิดมาบนสังคมที่รวดเร็ว ชีวิตแทบจะไม่เคยรออะไร ทำให้เขาไม่สามารถทนกับเรื่องอะไรได้นาน เช่น หากงานหรือองค์กร
ไม่ตรงกับใจของเขา Gen Y ก็พร้อมจะลาออกได้ทันทีโดยไม่ต้องคิดมาก
ปัญหาอีกข้อของ Gen Y คือ เป็นคนที่จิตตกง่าย เพราะการที่เขาเป็นคนที่คิดอะไรรวดเร็ว คาดหวังอะไรสูง จึงทำให้บางครั้งเมื่อสิ่งต่าง ๆ ไม่เป็นไปตามที่เขาคิด เขาจะเกิดอาการท้อแท้, เบื่อ, เซ็ง, เครียด
ดังจะเห็นได้ว่าความนิยมในการเข้าหาที่ยึดเหนี่ยวจะมีมากขึ้นในยุคนี้ เช่น การเข้าวัดสวดมนต์ข้ามปี ซึ่งดูเหมือนจะขัดกับบุคลิกของคนรุ่นใหม่ แต่ Gen Y กลับชอบ เป็นต้น
ปัญหาของ Gen Y ที่จะหยิบยกมาเป็นข้อสุดท้าย คือ เขาเป็นคนที่มีความสับสนในเป้าหมายของชีวิต Gen Y ส่วนใหญ่เมื่อเรียนจบมายังไม่รู้ว่าเป้าหมายในชีวิตคืออะไร ตัวเองชอบอะไร ตัวเองอยากเป็นอะไร จนทำให้เขาต้องเสียเวลาไปกับการลองผิดลองถูก หรือการค้นหาตัวเอง
2.วิธีการบริหาร Gen Y
เมื่อเรารู้พื้นฐาน, แนวคิด, จุดเด่น, จุดอ่อนของ Gen Y แล้ว ทีนี้มาดูว่า แล้วเราจะบริหาร Gen Y กันอย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวเขาเองด้วย
ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการสร้างความชัดเจนในเรื่องเป้าหมาย และการมอบหมายงานที่ท้าทาย คน Gen Y ต้องการรู้ว่าองค์กรคาดหวังอะไรจากเขา งานนี้สำคัญอย่างไร จะวัดผลกันอย่างไร และหากเขาทำสำเร็จ เขาจะได้อะไร
ดังนั้น ก่อนมอบหมายงานให้ Gen Y หัวหน้างานต้องแจ้งประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ให้ Gen Y ทราบโดยละเอียดเสียก่อน เพราะ Gen Y ต้องการเป็นคนเก่ง
ดังนั้น องค์กรต้องมีหน้าที่ในการเติมความรู้ให้กับ Gen Y ผ่านช่องทางการเรียนรู้และพัฒนาต่าง ๆ เช่น การให้เรียนรู้จากการทำงานจริง (On the Job Experience) การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ (Coaching & Mentoring) และการเรียนรู้จากห้องเรียน (Classroom Training) ซึ่งรูปแบบการเรียนรู้จะต้องสนุก แปลกใหม่ จึงจะทำให้ Gen Y สนใจได้
ประเด็นต่อไปคือ องค์กรต้องให้อิสระทางความคิดแก่ Gen Y ต้องไม่ไปบล็อกความคิดของเขา เปิดโอกาสให้เขา
จินตนาการและใช้วิธีของเขาได้อย่างเต็มที่ ตราบใดที่ยังได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ ก็ปล่อยให้เขาคิด ปล่อยให้เขาทำตามแนวทางของเขา
สิ่งที่องค์กรควรทำต่อไป คือ ยืดหยุ่นในเรื่องที่สามารถยืดหยุ่นได้ เช่น เวลาในการทำงาน, การแต่งกาย หรือสถานที่ทำงาน กล่าวคือ องค์กรควรเน้นไปที่ผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ
แต่อย่างไรก็ตาม ความยืดหยุ่นนี้ต้องอยู่ในขอบเขตที่ไม่มากเกินไป จนส่งผลเสียด้านอื่น ๆ ตามมา
นอกจากนี้ องค์กรควรสร้างบรรยากาศการทำงานที่สนุกสนาน Gen Y ไม่ชอบอะไรที่เคร่งเครียด บรรยากาศการทำงานจึงควรเป็นไปอย่างสบาย ๆ เช่น ลดความเป็นทางการระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง ปรับสถานที่ทำงานให้ทันสมัย เพราะ Gen Y จะมีแนวคิด Life-Work Integration กล่าวคือ เขาจะผสมผสานการใช้ชีวิตกับการทำงานเป็นเรื่องเดียวกัน
ดังนั้น ที่ทำงานต้องตอบสนอง Lifestyle ของเขาด้วย เช่น การ Support เรื่องระบบ Wi-Fi การจัดร้านกาแฟสดมาเปิดให้บริการ เป็นต้น
สิ่งที่องค์กรควรทำอีกเรื่อง คือ ให้เขาคิดสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์ลูกค้า Gen Y เพราะเขาจะเข้าใจความรู้สึกและความต้องการของลูกค้าที่มีวัยเดียวกันกับเขามากที่สุด
ประเด็นสุดท้ายที่อยากนำเสนอ คือ ขอให้มอง Gen Y เป็นผู้ใหญ่ เพราะ Gen Y จะรู้สึกไม่ดีมาก ๆ ถ้าเรามองว่าเขาเป็นเด็ก ไม่ยอมรับความคิดเห็นของเขา เขาจะนึกเสมอว่าเขาโตแล้ว เขากล้าคิด กล้าทำ องค์กรจึงต้องกล้ามอบหมายงานที่สำคัญให้เขารับผิดชอบ
โดยอาจจัด "พี่เลี้ยง" คอยดูแลอยู่ห่าง ๆ ที่สำคัญคือ ต้องเปิดโอกาสให้ Gen Y ได้พบผู้บริหาร โดยเมื่องานแล้วเสร็จต้องให้โอกาสเขาเป็นผู้นำเสนอเอง เพราะคนวัยนี้ชอบแสดงออก และจะรู้สึกดีมากเมื่อผลงานของเขาได้รับการยอมรับจากผู้บริหารระดับสูง
จริง ๆ แล้ววิธีการบริหาร Gen Y มีอีกมากมาย แต่ทียกตัวอย่างมาเป็นประเด็นหลัก ๆ ที่ทุกองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทันที
แม้ Gen Y จะ "ป่วน" ไปบ้าง จะ "แปลก" ไปบ้าง แต่เขาจะมีบทบาทมากขึ้นทุกวัน เพราะนับวันจำนวนของพนักงานที่เป็น Gen Y จะมีเพิ่มมากขึ้นในทุกองค์กร ดังนั้น การบริหาร Gen Y คือ การบริหารอนาคตขององค์กรนั่นเอง
ประเด็นสำคัญที่อยากจะฝากทิ้งท้าย คือ ทุก ๆ Generation ต่างมีความสำคัญต่อองค์กรไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังนั้น องค์กรจึงต้องทำหน้าที่ดูแลคนทุก Generation อย่างเท่าเทียมกัน จัดระบบต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ของคนแต่ละ Gen ซึ่งเมื่อทำได้แบบนี้แล้ว องค์กรจะเป็นองค์กรในดวงใจของคนทุกเพศทุกวัยอย่างแท้จริง
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 04 ต.ค. 2556
Advertisement
เปิดอ่าน 24,752 ครั้ง เปิดอ่าน 45,426 ครั้ง เปิดอ่าน 10,915 ครั้ง เปิดอ่าน 18,559 ครั้ง เปิดอ่าน 20,079 ครั้ง เปิดอ่าน 91,933 ครั้ง เปิดอ่าน 26,787 ครั้ง เปิดอ่าน 18,993 ครั้ง เปิดอ่าน 29,489 ครั้ง เปิดอ่าน 65,655 ครั้ง เปิดอ่าน 22,154 ครั้ง เปิดอ่าน 39,573 ครั้ง เปิดอ่าน 136,281 ครั้ง เปิดอ่าน 13,956 ครั้ง เปิดอ่าน 37,354 ครั้ง เปิดอ่าน 16,380 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 13,196 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 45,024 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,849 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,993 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,406 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 53,129 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 39,573 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 36,704 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,994 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,532 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,550 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,243 ครั้ง |
|
|