Advertisement
เมื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็น 1 ในชีวิตประจำวันที่ขาดไม่ได้ และนำพาหลายอย่างเข้ามาในชีวิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต เปิดเวทีเสวนาประจำปีว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยี และสิทธิพลเมือง ในหัวข้อ "หน้าต่างมีหู ประตูมีช่อง : ความเป็นส่วนตัวออนไลน์และการสอดส่องการสื่อสาร (Online Privacy and Communications Surveillance)" เพื่อกระตุ้นเตือนให้เห็นความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยในการใช้อิน เทอร์เน็ต
"ทศพล ทรรศนุกุลพันธ์" อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ทุกวันนี้ "กูเกิล" เสิร์ชเอ็นจิ้นยอดฮิต มีสถานะไม่ต่างจาก "สปาย-สายลับ" ที่เข้ามาเก็บข้อมูลผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลาย ต่างกันแค่ว่า "สปาย" ในยุคนี้ใช้ความสะดวก ความต้องการจะใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายยินยอมที่จะให้เข้ามาล้วงข้อมูลของตนเองที่เป็นส่วนหนึ่งของปริมาณข้อมูลมหาศาลที่ไหลเวียนบนโลกออนไลน์ด้วยการกดคลิกยอมรับเงื่อนไขการใช้งานไปเรื่อย ๆ โดยไม่เคยอ่านข้อตกลงใดๆ ดังนั้นการใช้งานบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่มีความเป็นส่วนตัว และนี่คือสิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องยอมรับ
ด้าน "จอมพล พิทักษ์สันตโยธิน" อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นชื่อ, ที่อยู่, อายุ หรือวันเกิด ต่างไหลเวียนอยู่ในโลกออนไลน์ตลอดเวลา ทำให้เริ่มได้เห็นการนำข้อมูลส่วนตัวที่ผู้ใช้ทิ้งร่องรอยไว้ตามอีเมล์ เว็บบอร์ด แชตรูม และบนโซเชียลเน็ตเวิร์กมาตามรังควานเจ้าของข้อมูล ซึ่งมักทำเป็นขบวนการ โดยการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อคุกคาม ทำให้เหยื่อหวาดกลัว หรือเสียชื่อเสียง อาทิ การสร้างเฟซบุ๊กปลอมเผยแพร่รูปที่ทำให้เหยื่อเสียหาย หรือแม้แต่ต้องการล่อลวงทางเพศ
โดยจากสถิติที่ผ่านมาพบว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมักตกเป็นเหยื่อจากการรังควานของแฟนเก่า 8.77% เพื่อนร่วมงาน 1.75% ญาติ 15.79% แต่ที่พบมากที่สุดถึง 42.11% คือ บุคคลแปลกหน้าที่เจ้าตัวไม่ทราบว่าเป็นใคร เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีคุณสมบัติที่สำคัญคือปิดบังผู้ใช้งานได้ เมื่อมีเหตุการณ์ใด ๆ เกิดขึ้น จึงมีหลายกรณีที่ไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำได้ดังนั้นผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะโซเชียลเน็ตเวิร์ก ควรตั้งค่าเป็นส่วนตัวในการใช้งานไว้ที่ระดับสูง เพื่อให้ยากต่อการเข้าดูข้อมูล ขณะที่การโพสต์รูปภาพต่าง ๆ ควรใช้ภาพที่มีความละเอียดในระดับต่ำ เพื่อให้ยากต่อการนำรูปดังกล่าวไปใช้งานอย่างอื่นได้
ขณะที่ "ภานุชาติ บุณยเกียรติ" อาจารย์สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวเสริมว่า เดี๋ยวนี้มีการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้บนเฟซบุ๊กแล้วนำข้อมูลส่วนตัวที่ผู้ใช้กรอกไว้มาใช้ประโยชน์ในเชิงโฆษณาและการตลาด เช่น การสร้างความน่าเชื่อถือในแบรนด์จากการบอกต่อผ่านเครือข่ายโซเชียลเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
"ในสังคมออนไลน์จะมีลักษณะพิเศษ คือจะเชื่อมโยงกลุ่มกว่า 4-5 กลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนตั้งแต่สมัยอนุบาลจนถึงที่ทำงาน โดยผู้ใช้แต่ละคนจะกลายเป็นจุดเชื่อมต่อของสมาชิกแต่ละกลุ่มที่ทำให้สังคมรู้จักกันทั้งเครือข่าย ทำให้มีการส่งสารถึงผู้คนหลากหลายคนได้ผ่านคนที่พวกเขาเชื่อถือ ดังนั้นความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลจะอยู่ไหนในเมื่อทั้งหมดลิงก์หากันหมด"
"ทวีพร คุ้มเมธา" นักวิจัยระบุว่า จากการศึกษาถึงการคุกคามบนโลกออนไลน์ในประเทศไทยและพม่า พบว่าส่วนใหญ่มาจากความขัดแย้งทางการเมือง เช่น ประเด็นสถาบันกษัตริย์ การเมืองเหลืองแดง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สังคมอยู่ในความหวาดกลัว ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นหรือตั้งคำถาม เพราะเมื่อใดที่มีการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ก็มีการนำข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ, ที่อยู่ อายุ เพศ สถานที่ทำงาน และญาติที่เกี่ยวข้องออกมาเปิดเผย อาทิ เฟซบุ๊ก social sanction หรือยุทธการลงทัณฑ์ทางสังคมที่มีความเชื่อว่า กลไกยุติธรรมไม่ได้ปราบปรามคนชั่วโดยแท้จริง ปัจจุบันมีผู้ตกเป็นเหยื่อแล้วกว่า 50 คน
"ผลกระทบที่เหยื่อได้รับคือ การถูกรุมโทร.ด่า ส่งจดหมายข่มขู่ โดนกล่าวหาว่าเป็นขบวนการล้มเจ้า และให้ออกจากงาน ร้ายแรงที่สุด คือการโดนดำเนินคดีในฐานความผิด มาตรา 112 หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากข้อมูลที่ได้มองว่า เหยื่อที่โดนกระทำโดยส่วนใหญ่ คือนักประชาธิปไตย และพบด้วยว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่นำมาเผยแพร่ บางครั้งหลุดมาจากหน่วยงานรัฐ ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลแบบสาธารณะ"
ด้าน "นคร เสรีรักษ์" ที่ปรึกษานโยบาย เครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า ต้องการเสนอให้มีการออกมาตรการหรือข้อปฏิบัติ เพราะปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ โดนหน่วยงานรัฐ สื่อและผู้ประกอบการด้านไอที นำข้อมูลไปทำแผนการตลาด ซึ่งทุกวันนี้มีแต่ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการเท่านั้น ที่ปกป้องข้อมูลส่วนตัวของประชาชนที่อยู่ในมือของหน่วยงานรัฐ ทั้งยังไม่มีมาตรการป้องกันไม่ให้เอกชนเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ต้องรอให้มีกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลก่อน ซึ่งยังไม่มีวี่แววว่าจะนำออกมาบังคับใช้
"ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ" สำนักกฎหมายพีแอนด์พี กล่าวว่า เทคโนโลยีทุกวันนี้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว แต่กฎหมายไทยยังไม่พร้อมรับมือ แถมยังมีเพื่อจัดการกลุ่มแนวคิดต่างทางการเมือง เช่น เสื้อเหลืองเสื้อแดง หรือใช้เพื่อตอบโต้และกลั่นแกล้งระหว่างผู้ที่ไม่ถูกกัน ซึ่งการยกร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ไม่ได้แก้ปัญหา เพราะนำแนวคิดเก่ามาใช้ยกร่าง จึงไม่สามารถแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปแล้ว
ฟาก "วรรณวิทย์ อาขุบุตร" รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สพธอ. กล่าวว่า ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในด้านนี้คือไม่มีตัวกลางหรือคนกำกับดูแลที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้โดยเฉพาะ ที่สำคัญคือประชาชนที่ต่อให้มีกฎหมายครอบคลุม แต่ถ้าผู้ใช้ไม่รับรู้หรือตระหนักเรื่องเหล่านี้ จะมีหรือไม่มีกฎหมายก็ไร้ความหมาย
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 03 ต.ค. 2556
พิเศษสำหรับคนรักสัตว์🐕🐈เสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงของสุนัขแมวกระต่าย เสื้อแมวและสุนัข ในราคา ฿45 - ฿150 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VM0SRGuMT?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 8,911 ครั้ง เปิดอ่าน 17,244 ครั้ง เปิดอ่าน 6,984 ครั้ง เปิดอ่าน 18,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,946 ครั้ง เปิดอ่าน 10,331 ครั้ง เปิดอ่าน 9,528 ครั้ง เปิดอ่าน 10,030 ครั้ง เปิดอ่าน 8,918 ครั้ง เปิดอ่าน 10,996 ครั้ง เปิดอ่าน 16,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,771 ครั้ง เปิดอ่าน 45,259 ครั้ง เปิดอ่าน 33,660 ครั้ง เปิดอ่าน 15,234 ครั้ง เปิดอ่าน 9,893 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 9,756 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,742 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,771 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,172 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 14,934 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,500 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,911 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 4,481 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,473 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,190 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,803 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,902 ครั้ง |
|
|