ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เผยแพร่ผลงานวิชาการ นางอำไพพรรณ ปานมงคล


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,414 ครั้ง
เผยแพร่ผลงานวิชาการ  นางอำไพพรรณ   ปานมงคล

Advertisement

❝ เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การปฏิรูปศาสนา และศิลปวัฒนธรรม สมัยรัชกาลที่ 5 รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นางอำไพพรรณ ปานมงคล ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1 เอกสารเล่มนี้ เป็นเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การปฏิรูปศาสนา และศิลปวัฒนธรรม สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเอกสารที่นักเรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง ให้นักเรียนอ่านคำแนะนำปฏิบัติตามคำชี้แจงแต่ละขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ นักเรียนจะได้รับความรู้ อย่างครบถ้วนขอให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนในเอกสารดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้ เพื่อให้ทราบว่าเมื่อศึกษาเอกสารเล่มนี้จบแล้ว นักเรียน สามารถรู้อะไรบ้าง โดยใช้เวลา 2 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 การทำนุบำรุงศาสนา ตอนที่ 2 ความเจริญด้านศิลปวัฒนธรรม 2. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน แล้วตรวจคำตอบที่เฉลยไว้ในหน้าต่อไป เพื่อให้รู้ว่า พื้นฐานความรู้อยู่ในระดับใด 3. ศึกษาเอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่อง การปฏิรูปศาสนา และ ศิลปวัฒนธรรม สมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยความรอบคอบและทำแบบฝึกกิจกรรมตาม ที่กำหนดไว้ เพื่อศึกษาหาความรู้และทำความเข้าใจในเนื้อหาตามที่กำหนด ตรวจสอบเฉลยกิจกรรมหน้าต่อไป 4. ทำแบบทดสอบหลังเรียน เพื่อทดสอบความรู้ ความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง 5. นักเรียนทุกคนต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่เปิดดูเฉลยแบบทดสอบก่อน 6. ถ้านักเรียนและผู้สนใจต้องการศึกษาหาข้อมูล หรือเนื้อหาเพิ่มเติมจากเอกสาร ประกอบการเรียนการสอนทั้งหมด สามารถค้นคว้าได้จากบรรณานุกรมที่ให้ไว้ ท้ายเล่ม 1. บอกลักษณะศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ 2. อธิบายลักษณะของศิลปะตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อศิลปะไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ 3. วิเคราะห์ลักษณะศิลปะไทยและตะวันตกในสมันรัชกาลที่ 5 ได้ 4. สรุปการปฏิรูปด้านศิลปวัฒนธรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ แบบทดสอบก่อนเรียน รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา 3 เรื่อง การปฏิรูปด้านศาสนา และศิลปวัฒนธรรม จำนวน 10 ข้อ คะแนน 10 คะแนน เวลา 10 นาที คำชี้แจง 1. เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือก ก ข ค และ ง 2. ทำเครื่องหมายกากบาท (×) ลงในกระดาษคำตอบ 1. สถาบันที่เป็นศูนย์กลางความศรัทธาร่วมกันและเป็นสถาบันที่เชื่อมโยงประสานโครงสร้าง ระหว่างชนชั้นของคนไทยทั้งปวงคือสถาบันใด ก. สถาบันสงฆ์ ข. สถาบันกษัตริย์ ค. สถาบันทหาร ง. สถาบันการปกครอง 2. สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบผสมระหว่าง ศิลปะไทยกับศิลปะตะวันตก ก. พระที่นั่งวิมานเมฆ ข. พระที่นั่งอนันตสมาคม ค. พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ง. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 3. สิ่งก่อสร้างในข้อใดเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ก. หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธ ข. ตึกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค. วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ง. พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์ พระราชวังบางปะอิน 4. วัดประจำรัชกาลที่ 5 คือวัดใด ก. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ข. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ค. วัดเทพศิรินทราวาส ง. วัดนิเวศธรรมประวัติ 5. การชำระพระไตรปิฎกในสมัยรัชกาลที่ 5 มีความสำคัญอย่างไร ก. จัดพิมพ์เป็นภาษาบาลีเป็นครั้งแรก ข. จัดพิมพ์แปลเป็นภาษาไทยเป็นครั้งแรก ค. จัดพิมพ์แปลเป็นภาษาอังกฤษ ง. จัดทำเป็นภาษาบาลีแล้วแจกไปตามวัดต่าง ๆ 6. วัดที่เป็นศูนย์กลางของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย คือ ก. วัดบวรนิเวศวิหาร ข. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ค. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ง. วัดอรุณราชวราราม 7. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย คือพระองค์ใด ก. เจ้าฟ้ามงกุฎ ข. เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ค. เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิต ง. เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ 8. รัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีการเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการอย่างไร ก. เปลี่ยนการถวายคำนับ เป็นประเพณีแบบหมอบคลาน ข. ปรับปรุงเรื่องการแต่งกายของข้าราชการในราชสำนัก ค. ยกเลิกการตัดผมทรงมหาดไทย ง. ยกเลิกการเข้าเฝ้าแบบเดิม ให้ถวายความเคารพแบบสากล 9. บทละครเรื่อง ?สร้อยคอที่หาย? ซึ่งเคยเป็นหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย เป็นผลงานของใคร ก. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข. กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ค. พระยาศรีสุนทรโวหาร ง. พระยาสุรินทราชา 10. การแต่งกายของข้าราชการไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ให้ชายแต่งเสื้อราชปะแตนมีลักษณะอย่างไร ก. เสื้อเชิ้ตสีขาวแขนยาว ติดกระดุม 5 เม็ด ข. เสื้อเชิ้ตสีขาวแขนสั้น ติดกระดุม 6 เม็ด ค. เสื้อคอตั้ง แขนยาวสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ง. เสื้อคอตั้ง แขนสั้นสีขาว ติดกระดุม 6 เม็ด ข้อที่ ตัวเลือก 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. ก. ง. ค. ข. ข. ก. ค. ง. ข. ค. การปฏิรูปศาสนา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม และมีการสร้างวัดเพิ่ม เช่น วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม จัดการปกครองการศึกษาของสงฆ์ ทรงให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการนับถือศาสนา ตลอดจนเกื้อหนุนศาสนาอื่นๆด้วย นอกจากนี้พระองค์ทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีที่ล้าหลัง ทรงรับวิทยาการสมัยใหม่จากชาติตะวันตกเข้ามาประยุกต์ใช้กับวัฒนธรรมไทย ตอนที่ 1 การทำนุบำรุงศาสนา 1. การสร้างและบูรณะปฎิสังขรณ์วัด พ.ศ. 2442 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถด้วยแบบอย่างศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยโบราณ โดยผนังพระอุโบสถสร้างด้วยหินอ่อนซึ่งสั่งซื้อจากอิตาลี พระอุโบสถที่ประดับตกแต่งแล้วเสร็จจึงเป็นพระอุโบสถที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในราชอาณาจักรไทย และพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถนี้ คือ พระพุทธชินราชจำลอง พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้น พ.ศ. 2412 โปรดเกล้า ฯ ให้เริ่มสร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สร้างโดยฝีมือช่างไทย เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 ภายในวัดมีพระอุโบสถและพระวิหารที่งดงามมากแห่งหนึ่ง ตกแต่งภายในโบสถ์ เป็นแบบศิลปะกอธิก นอกจากนี้ยังโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดอื่น ๆ อีก เช่น วัดเทพศิรินทราวาส (ทรงสร้างเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลถวายสมเด็จพระบรมราชชนนี คือ สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี) วัดนิเวศธรรมประวัติที่บางปะอิน วัดสัตตนาถบริวัตรที่ราชบุรี วัดอัษฎางคนิมิตและวัดจุฑาทิศธรรมสภารามที่เกาะสีชัง เป็นต้น 2. การชำระพระไตรปิฎก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ขึ้น ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกของพระพุทธ ศาสนานิกายเถรวาท เริ่มลงมือตรวจสอบชำระกันอย่างละเอียดถี่ถ้วน ตั้งแต่ พ.ศ. 2431 พิมพ์เสร็จเรียบร้อยด้วยอักษรไทยใน พ.ศ. 2436 จำนวนพิมพ์ 1,000 ชุด ชุดหนึ่งมี 39 เล่ม ทุกเล่มมีแบบเทียบตัวอักษรไทยกับตัวอักษรโรมัน พร้อมทั้งตัวอย่างให้พอที่ชาวต่างประเทศศึกษาและอ่านได้ภายในเวลาไม่นานนัก จากนั้นก็ทรงให้มีงานฉลองขึ้นพร้อมกับงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก 3. พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 การปกครองสงฆ์เมื่อครั้งสมัยรัชกาลที่ 3 นั้นแบ่งเป็น 4 คณะ ได้แก่ คณะเหนือ คณะใต้ คณะกลาง และคณะอรัญวาสี เมื่อเกิดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกายขึ้นก็ให้ฝ่ายธรรมยุติกนิกายขึ้นอยู่กับคณะกลางสมัยรัชกาลที่ 4ได้มีการตั้งราชทินนามสำหรับพระสงฆ์ขึ้น เช่น พระอมรารักขิต พระสังฆกิจจมุนี เป็นต้น ครั้นมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครอง คณะสงฆ์ ร.ศ. 121 ขึ้นเพื่อจัดโครงสร้างการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์ โดยกำหนดให้สมเด็จพระสังฆราชเป็นประมุขและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดฝ่ายคณะสงฆ์ ส่วนการปกครองในแต่ละคณะสงฆ์นั้น ได้จัดอนุโลมตามวิธีการปกครองทางฝ่ายอาณาจักร คือ มีตำแหน่งคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง และเจ้าอาวาสหรืออธิการสำหรับบังคับบัญชา คณะสงฆ์ในมณฑล เมือง แขวง และตำบล ตามลำดับ 4. การทำนุบำรุงรักษาพระปริยัติธรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมของสงฆ์ และได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งสถาบันศึกษาของคณะสงฆ์ขึ้น 2 แห่ง ดังนี้ 4.1 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นสถานศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ถือกำเนิดขึ้นใน พ.ศ. 2432 โปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายที่เรียนพระปริยัติธรรมจากวัดพระศรีรัตนศาสดารามไปจัดตั้งบาลีวิทยาลัยขึ้นที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ทรงขนานนามครั้งแรกว่า มหาธาตุวิทยาลัย พระองค์ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จ่ายเป็นเงินเดือนและค่าใช้สอยทั้งหมด 4.2 มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นสถานศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงริเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 ในวัดบวรนิเวศวิหาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยพระราชทานเงินบำรุงปีละ 60 ชั่ง และเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมชนกนาถ จึงพระราชทานนามว่า ?มหามกุฎราชวิทยาลัย? 5. การอุปถัมภ์ศาสนาอื่นๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความอุปถัมภ์ค้ำชูศาสนาอื่น ๆ ดังนี้ ศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2445 พระองค์ทรงบริจาคพระราชทรัพย์สร้างมัสยิดใหม่ ซึ่งมีความงดงามกว่าหลังเก่าที่ต้องรื้อ เพราะการสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ ฯ ? เพชรบุรี ให้แก่ประชาชนผู้นับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี และต่อมา พ.ศ. 2450 พระองค์ได้พระราชทานที่ดินที่ติดต่อกับมัสยิดนั้น เพื่อใช้เป็นที่สร้างโรงเรียนสำหรับกุลบุตรผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามด้วย คริสต์ศาสนา โปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะ ฐานะ วัด บาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยาม ร.ศ. 128 ซึ่งอนุญาตให้บาทหลวงมีสิทธิซื้อที่ดินสำหรับวัดและสถานที่สำหรับอบรมเผยแผ่ศาสนา พระราชทานสิทธิให้มิชชันนารีมีที่ดินสำหรับทำประโยชน์ของตนได้ และพระราชทานพระราชทรัพย์อุดหนุนในการสร้างโรงเรียนอัสสัมชัญ ตอนที่ 2 ความเจริญด้านศิลปวัฒนธรรม 1. ด้านสถาปัตยกรรม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก ด้วยมีเหตุผลที่ว่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เนื่องด้วยสถาปัตยกรรมตะวันตกไม่สลับซับซ้อนเท่าไร อีกทั้งทรงได้มีโอกาสเสด็จประพาสยุโรป พระองค์จึงนำสถาปัตยกรรมตะวันตกมาผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทยได้อย่างงดงามดังจะเห็นได้จากงานสถาปัตยกรรม ดังต่อไปนี้ 1. พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นศิลปกรรมอิตาลี ใช้เป็นสถานที่ในการออกท้องพระโรงว่าราชการเมือง 2. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ เป็นงานศิลปะไทยที่ผสมผสานกับตะวันตก (แบบกอธิก)ได้อย่างงดงามลงตัว วัดแห่งนี้อยู่ฝั่งตรงข้ามกับ พระราชวังบางปะอิน 3. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นงานที่ผสมผสานระหว่างศิลปะไทยและตะวันตกอีกชิ้นหนึ่งที่มีความงดงาม ตั้งอยู่ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง 4. พระราชวังสวนดุสิต สร้างขึ้นในรัชสมัย รัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นที่เสด็จประทับชั่วคราว เนื่องจากภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นพระราชนิเวศน์ที่ประทับนั้น ประกอบด้วย พระราชมณเฑียร หมู่พระตำหนัก หมู่เรือนในเขตพระราชฐานชั้นใน และหมู่เรือนข้าราชบริพาร 5. พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน ตั้งอยู่ที่เขตบ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระราชวังที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเสด็จประพาสจังหวัดเพชรบุรี 6. ศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ให้เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ซึ่งต่อมาได้เป็น จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงทหารหน้าขึ้น ณ ที่ตั้งกระทรวงกลาโหมปัจจุบัน ซึ่งในเวลานั้นเป็นที่ตั้งของฉางหลวงเก่า 7. พระราชวังบางปะอิน (สร้างเลียนแบบพระราชวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศส) 8. พระราชวังพญาไท (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า) 9. พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์ สถาปัตยกรรมที่เป็นศิลปะแบบไทย สร้างด้วยไม้มีขนาดเล็ก ลงรักปิดทอง เป็นสถาปัตยกรรมไทยแท้ที่งดงามมาก ตั้งอยู่กลางสระน้ำพระราชวังบางปะอิน 10. หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย มีรูปทรงคล้ายกับวัด หลังคาหน้าจั่ว ช่อฟ้าเป็นศิลปะแบบไทยแต่ดัดแปลงเป็นอาคารสองชั้น 2. ด้านประติมากรรม ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา ประติมากรรม ที่สร้างขึ้นจะได้รับอิทธิพลศิลปะตะวันตกมาก แม้แต่การปั้นพระพุทธรูปให้เหมือนมนุษย์ยิ่งขึ้น เช่น มีกล้ามเนื้อ ครองจีวร เป็นริ้วอย่างธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็ยังคงพุทธลักษณะบางประการที่สำคัญไว้ เช่น พระรัศมีเป็นเปลว พระเกตุมาลา พระเกศาที่ขมวดเป็นปม เป็นต้น ดังจะเห็นได้จากพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ที่พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นพระพุทธรูปปางลีลาแบบสุโขทัยที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ออกแบบและปั้นต้นแบบไว้ตั้งแต่เมื่อมีการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ใน พ.ศ. 2500 ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ งานประติมากรรมอื่น ๆ มักจะเป็นงานจำหลักหินอ่อนหรือหล่อสำริดส่งมาจากยุโรป ถือเป็นการเริ่มรับแบบอย่างการปั้นภาพเหมือนและอนุสาวรีย์จากตะวันตก เช่น พระบรมรูปทรงม้าซึ่งสั่งทำจากยุโรปและนำมาตั้งไว้ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม รูปปั้นสุนัขยาเหล หล่อด้วยสำริดส่งมาจากต่างประเทศตั้งเป็นอนุสาวรีย์ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม นอกจากนี้ยังมีงานประติมากรรมภาพปั้นนูนสูงประดับสะพานข้ามคลองต่าง ๆ และประติมากรรมภาพเหมือนตกแต่งพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวัง สถานที่ราชการ สวนสาธารณะ อาคารพาณิชย์ และอาคารบ้านเรือนของคนสามัญ 3. ด้านนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 กลุ่มชาวไทยมุสลิมที่ถูกกวาดต้อนมาจากภาคใต้ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย เมื่อมีงานรื่นเริงพวกผู้ชายจึงมักนั่งล้อม วงกันตีกลองรำมะนา ประกอบการขับสวดเพลงมลายูประชันกันครึกครื้นที่เรียกว่า ดจิเก ก็ได้เริ่มมีคำร้องเป็นภาษาไทยในสมัยนี้ และต่อมาก็มีการแสดงที่พลิกแพลงและพัฒนาเป็น ลิเก ที่ปรากฏและนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันนี้ แนวคิดและวิถีชีวิตของคนตะวันตกได้แพร่ขยายเข้ามาในเมืองไทยมากขึ้น เช่น การแสดงดนตรีแบบคอนเสิร์ต เป็นการขับร้องประกอบการบรรเลงที่ใช้เครื่องดนตรีแบบชาวตะวันตกละครพันทาง หรือละครนอกที่นำเอาศิลปะทางการขับร้องดนตรี และฟ้อนรำเข้ามาผสมให้น่าดูน่าฟังมากขึ้น แต่ตัวละครมักนุ่งผ้าโจงกระเบนและมีหน้าพาทย์อย่างละครรำ ละครดึกดำบรรพ์ เป็นละครสมัยใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงให้คล้ายละครโอเปราของฝรั่งเศสและจัดแสดงเพื่อต้อนรับแขกเมือง ละครชนิดนี้ต้องปรับดนตรีปี่พาทย์ขึ้นมาใช้เป็นพิเศษ จึงเกิดวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ขึ้นนอกจากนี้ยังมีละครตามแบบตะวันตก คือ ละครร้อง เป็นการแสดงละครแบบฝรั่ง ผู้แสดงแต่งกายธรรมดา ไม่มีการร่ายรำมีแต่ร้องและออกท่าทางตามบท และละครพูด ตัวละครเป็นชาย 4. วรรณกรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกวีเอกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในแผ่นดินสยาม พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้อย่างมากมาย พระราชนิพนธ์ของพระองค์ท่าน ที่ได้รับความนิยมและใช้เป็นส่วนหนึ่งของแบบเรียนคือ 4.1 ลิลิตนิทราชาคริต ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2421 โดยใช้ทำนองแต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ อาศัยเค้าโครงเรื่องจากนิทานอาหรับโบราณ ทรงพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้เพื่อ พระราชทานให้กับพระบรมวงศานุวงศ์ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 4.2 พระราชพิธีสิบสองเดือน ทรงพระราชนิพนธ์เมื่อปี พ.ศ. 2431 ลงพิมพ์เป็นตอน ๆ ในหนังสือวชิรญาณ ใช้สำนวนร้อยแก้ว เป็นหนังสือเกี่ยวกับพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน 4.3 บทละครเรื่อง เงาะป่า ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2448 ในขณะที่ทรงพระประชวร พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นบทละคร พระราชนิพนธ์เรื่องนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมาจนทุกวันนี้ 4.4 ไกลบ้าน ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2449 เป็นพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์ ถึงสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้านิภานภดล เมื่อครั้งที่เสด็จประพาสยุโรปในครั้งที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้ว โดยเรื่องราวส่วนใหญ่เป็นบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้มีโอกาสได้ทอดพระเนตรในระหว่าง 9 เดือน ที่เสด็จประพาสยุโรป 4.5 พระราชวิจารณ์ ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยแก้ว โดยจุดประสงค์ในการพระราชนิพนธ์งานชิ้นนี้ เพื่อพระราชทานเป็นความรู้แก่นักวิชาการ ที่ต้องการค้นคว้าเกี่ยวกับ พระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านในเรื่องด้านต่าง ๆ ลักษณะของงานพระราชนิพนธ์ฉบับนี้ มีลักษณะคล้ายกับจดหมายเหตุ รัชสมัยอันยาวนานในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นระยะที่แนวความคิดทางการเมือง การทหาร และวัฒนธรรมทางตะวันตกกำลังหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดระยะ จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงประเพณีหลายอย่างเกิดขึ้น ทรงยกเลิกและปรับปรุงแนวความคิดบางอย่างที่ไม่ดีแต่เดิม ให้เป็นแนวความคิดที่ก้าวหน้าขึ้น การที่พระองค์ได้ทรงเสด็จประพาสไปตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในพระราชอาณาจักร หรือต่างประเทศทั้งในแถบเอเชียและยุโรป ทรงได้นำสิ่งที่พบเห็นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการสมัยใหม่ วัฒนธรรมประเพณีการปกครอง เหล่านี้มาปรับปรุงแก้ไข กวีที่สำคัญ ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงมีชื่อเสียงจากงานพระนิพนธ์หลายชิ้นที่รู้จักกันดี ได้แก่ บทละครพูดเรื่อง ?สร้อยคอที่หาย? ซึ่งเคยบรรจุในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการ บทละครร้อง ?สาวเครือฟ้า? ซึ่งได้สร้างตัวละครให้กลายเป็นคนที่เหมือนกับมีตัวจริงขึ้นมา 2 คน คือ ร้อยตรีพร้อม และสาวเครือฟ้า ทรงก่อตั้งโรงละครร้องขึ้นในบริเวณตำหนักที่ประทับ ชื่อว่า ?โรงละครปรีดาลัย? เป็นโรงละครร้องแห่งแรกในสยาม โดยทรงนำเค้าโครงเรื่องมาจาก เรื่อง มาดามบัตเตอร์ฟลาย (Madame Butterfly) ของเกียโคโมฟูชินี (Giacomo Puccini) กวีชาวอิตาลี นอกจากนี้ยังทรงมีงานที่สำคัญ คือ พระนิพนธ์แปล จดหมายเหตุลาลูแบร์ โดยทรงแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ ?ตำนานพระแท่นมนังคศิลาอาสน์? รุไบยาตของโอมาร์ คัยยามและ ?นวางกุโรวาท? เป็นต้น และพระองค์ยังทรงใช้นามปากกาว่า ?ประเสริฐอักษร? เพื่อทรงพระนิพนธ์เรื่องสั้นไว้จำนวนหนึ่งอีกด้วย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หรือพระสารประเสริฐ เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทยเรียกว่า ?แบบเรียนหลวง? รวม 6 เล่ม ได้แก่ มูลบทบรรพกิจ วาหินิกรอักษรประโยค สังโยคพิธาน พิศาลการันต์ ไวพจน์พิจารณ์ ใช้แทนจินดามณี ซึ่งเป็นหนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมประเภทนวนิยาย ร้อยแก้ว เป็นการแปลจากวรรณกรรมต่างประเทศ เช่น ความพยาบาทของแม่วัน (พระยาสุรินทราชา) ซึ่งแปลจากเวนเดตต้า (Vendetta) ของแม่รีคอเรลลี (Marie Corelli) ชาวอังกฤษ เรื่องความพยาบาทนี้ถือว่าเป็นนวนิยายไทยเล่มแรก 5. การปรับปรุงประเพณีและวัฒนธรรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปลี่ยนแปลงระเบียบการเข้าเฝ้า โดยในวันงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อเสด็จออกมหาสมาคมได้เชิญทูตต่างประเทศเข้าเฝ้าด้วย ทรงมีพระราชดำริว่า ประเพณีถวายความเคารพของฝรั่ง คือ การยืนเฝ้าและถวายคำนับ หากให้ข้าราชการไทยหมอบเฝ้าดังเดิม ชาวต่างประเทศจะยืนค้ำศีรษะคนไทย ไม่สมควรทำให้ฝรั่งดูถูก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้านายข้าราชการไทยยืนเฝ้าและถวายคำนับ เมื่อโปรดเกล้า ฯ ให้นั่งก็ให้นั่งเก้าอี้ ถ้าหากเข้าเฝ้าในหมู่คนไทยด้วยกันยังคงใช้ประเพณีหมอบคลานเฝ้าตามเดิม การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ ตำแหน่งและบุคคลที่จะสืบราชบัลลังก์หลังจากกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงกตใน พ.ศ. 2429 ทรงดำเนินการตามพระราชดำริ โดยทรงเห็นสมควรปรับปรุงประเพณีสืบราชบัลลังก์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับระเบียบราชประเพณีการสืบสันตติวงศ์ตามแบบอารยประเทศ เพราะตำแหน่งวังหน้าเป็นปัญหาในการสืบราชบัลลังก์ดังปรากฎในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีความขัดแย้งแข่งขันกันระหว่างวังหน้าและพระราชโอรสของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล จึงโปรดเกล้า ฯ ประกาศให้สถาปนาพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์ใหญ่ เจ้าฟ้าวชิรุณหิต ดำรงตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมาร เป็นตำแหน่งรัชทายาท มีสิทธิสืบราชบัลลังก์เป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป เมื่อเสด็จประพาสต่างประเทศทั้งเอเชียและยุโรป ได้ทรงปรับปรุงประเพณีการแต่งกายและการไว้ผมของคนไทย ให้ชายในราชสำนักเลิกไว้ผมทรงมหาดไทยเปลี่ยนเป็นไว้ผมแบบฝรั่ง ผู้หญิงให้เลิกไว้ผมปีก ไว้ผมยาวตัดเป็นดอกกระทุ่ม ผู้หญิงให้สวมเสื้อแขนยาว นุ่งโจง สวม ถุงเท้า รองเท้าหุ้มส้น ต่อมาให้ชายแต่งเสื้อราชปะแตน ชายยกเลิกประเพณีการตัดผมทรงมหาดไทย ให้ข้าราชการทหารแต่งเครื่องแบบนุ่งกางเกงแบบยุโรปแทนการนุ่งโจงกระเบนยกเลิกการโกนผมไว้ทุกข์ เมื่อกษัตริย์สวรรคต เป็นต้น การแต่งกายในสมัยรัชกาลที่ 5 กายแต่งกายชายเสื้อราชปะแตน กระทุ่ม ผู้หญิงให้สวมเสื้อแขนยาว นุ่งโจง สวมถุงเท้า รองเท้าหุ้มส้น ที่มา : http://www.pantown.com/data/5441/board3/25-20041222204550.jpg นอกจากนี้สมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงสร้างเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์จักรีบรมราชวงศ์ซึ่งริเริ่มสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ให้มีมากกว่าประเภทเดิม สำหรับพระราชทานแก่พระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ทั้งหญิงชายซึ่งทรงเห็นสมควร และพระราชทานแก่พระเจ้าแผ่นดิน และบรรดาเจ้านายของต่างประเทศ ซึ่งเป็นมิตรกับไทย นอกจากนี้ก็ยังทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเหรียญตราช้างเผือก และตรามงกุฎ สำหรับเป็นรางวัลในราชการแผ่นดิน และเหรียญอื่น ๆ เช่นเหรียญกล้าหาญ เหรียญที่ระลึกการสงคราม เหรียญบรมราชาภิเษก เหรียญจักรพรรดิมาลา เหรียญจักรมาลา เหรียญรัตนาภรณ์ เป็นต้น เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แบบฝึกกิจกรรมที่ 1 เรื่อง ความเจริญด้านศิลปวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คำชี้แจง แบบฝึกกิจกรรมที่ 1 นี้ มี 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 ตอนที่ 1 ให้นักเรียนตอบคำถามโดยขีดเส้นใต้คำตอบที่ถูกต้อง 1. ผู้ออกแบบก่อสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (พระยานริศรานุวัดติวงศ์ / กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน / กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) 2. พระประธานพุทธมณฑล สุทรรศน์ ที่พุทธมณฑล เป็นพระพุทธรูปปาง (ปางสมาธิแบบอยุธยา / ปางห้ามญาติแบบรัตนโกสินทร์ / ปางลีลาแบบสุโขทัย) 3. การพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรกและแปลเป็นภาษาไทยแจกตามวัดต่างๆ (รัชกาลที่ 4 / รัชกาลที่ 5 / รัชกาลที่ 6) 4. พ.ร.บ. การปกครองสงฆ์ฝ่ายอรัญวาลีตรงกับคณะสงฆ์ไทยคณะ (มหานิกาย / สังฆวาสนิกาย / ธรรมยุตินิกาย) 5. สถานศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย เรียก (มหามกุฎราชวิทยาลัย / มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย / มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์) คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาเอกสารแล้วตอบคำถามตามประเด็นที่กำหนดติดภาพประกอบคำอธิบาย 1. ชื่อ.................................................................................... 2. ความสำคัญ...................................................................... .............................................................................................. .............................................................................................. .............................................................................................. ???????????????????????.. เฉลยแบบฝึกกิจกรรมที่ 1 เรื่อง ความเจริญด้านศิลปวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามโดยขีดเส้นใต้คำตอบที่ถูกต้อง 1. ผู้ออกแบบก่อสร้างวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (พระยานริศรานุวัดติวงศ์ / กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน / กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) 2. พระประธานพุทธมณฑล สุทรรศน์ ที่พุทธมณฑล เป็นพระพุทธรูปปาง (ปางสมาธิแบบอยุธยา / ปางห้ามญาติแบบรัตนโกสินทร์ / ปางลีลาแบบสุโขทัย) 3. การพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งแรกและแปลเป็นภาษาไทยแจกตามวัดต่างๆ (รัชกาลที่ 4 / รัชกาลที่ 5 / รัชกาลที่ 6) 4. พ.ร.บ. การปกครองสงฆ์ฝ่ายอรัญวาลีตรงกับคณะสงฆ์ไทยคณะ (มหานิกาย / สังฆวาสนิกาย / ธรรมยุตินิกาย) 5. สถานศึกษาของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย เรียก (มหามกุฎราชวิทยาลัย / มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย / มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์) คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาเอกสารแล้วตอบคำถามตามประเด็นที่กำหนดติดภาพประกอบคำอธิบาย 1. ชื่อ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร 2. ความสำคัญ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 สถาปัตยกรรม ผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทย-ยุโรป ภายนอกเป็น สถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในตกแต่งแบบยุโรป และ โปรดเกล้า สุสานหลวงเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิพระอัฐิธาตุ พระราชวงศ์ฝ่ายใน ราชวงศ์จักรี แบบฝึกกิจกรรมที่ 2 เรื่อง ความเจริญด้านศิลปวัฒนธรรม สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ถูกต้องและคำเครื่องหมาย ×หน้าข้อความ ที่ไม่ถูกต้อง ??????... 1. งานพระราชนิพนธ์ ?ไกลบ้าน? เป็นพระราชหัตถเลขาเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ??????... 2. ละครดึกดำบรรพ์ของไทย คนไทยได้รับอิทธิผลจากละครโอเปราของฝรั่ง ??????... 3. การยกเลิกทรงผมมหาดไทยและให้สวมเสื้อสูทเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการ ??????... 4. ตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกคือเจ้าฟ้าวชุรุณหิต ??????... 5. วรรณกรรมเรื่องสร้อยคอที่หายไปเป็นผลงานของกรมพระยานราธิปพระพันธ์พงศ์ คำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาเอกสารแล้วตอบคำถามตามประเด็นที่กำหนดติดภาพประกอบคำอธิบาย 1. ชื่อ.................................................................................... 2. ความสำคัญ...................................................................... .............................................................................................. .............................................................................................. .............................................................................................. 1. ชื่อ.................................................................................... 2. ความสำคัญ...................................................................... .............................................................................................. .............................................................................................. .............................................................................................. .............................................................................................. เฉลยแบบฝึกกิจกรรมที่ 2 เรื่อง การปฏิรูปด้านศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 5 สาระการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รียคำชี้แจง ให้นักเรียนทำเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ถูกต้องและคำเครื่องหมาย ×หน้าข้อความ ที่ไม่ถูกต้อง ??? 1. งานพระราชนิพนธ์ ?ไกลบ้าน? เป็นพระราชหัตถเลขาเมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ??? 2. ละครดึกดำบรรพ์ของไทย คนไทยได้รับอิทธิผลจากละครโอเปราของฝรั่ง ??×? 3. การยกเลิกทรงผมมหาดไทยและให้สวมเสื้อสูทเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการ ??? 4. ตำแหน่งสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกคือเจ้าฟ้าวชุรุณหิต ??? 5. วรรณกรรมเรื่องสร้อยคอที่หายไปเป็นผลงานของกรมพระยานราธิปพระพันธ์พงศ์ นศึกษาเคำชี้แจง ให้นักเรียนศึกษาเอกสารแล้วตอบคำถามตามประเด็นที่กำหนดติดภาพประกอบคำอธิบายอกสารแล้วตอบคำถามตามประเด็นที่กำหนดติดภาพประกอบคำอธิบ 1. ชื่อ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 2. ความสำคัญ เป็นพระที่นั่งตั้งอยู่ภายในพระบรมมหา ราชวัง เป็นสถาปัตยกรรมแบบผสม ระหว่างศิลปะไทย และศิลปะแบบตะวันตก ที่สวยงามมากหลังคาเป็นแบบไทย ส่วนตัวตึกเป็นแบบตะวันตก สร้างเพื่อเป็นที่ประทับ และต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง .............................................................................................. 1. ชื่อ พระที่นั่งอนันตสมาคม 2. ความสำคัญ สถาปัตยกรรมแบบอิตาลี ยุคฟื้นฟูศิลป วิทยาการ สร้างด้วยหินอ่อน ออกแบบโดยสถาปนิก จากอิตาลี เพื่อประชุมสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา ใช้เป็น ที่ต้องรับพระราชอาคันตุกะและแขกของรัฐบาลในปัจจุบันควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ แบบทดสอบหลังเรียน รายวิชา ส 33101 สังคมศึกษา 3 เรื่อง การปฏิรูปด้านศาสนา และศิลปวัฒนธรรม จำนวน 10 ข้อ คะแนน 10 คะแนน เวลา 10 นาที คำชี้แจง 1. เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว จากตัวเลือก ก ข ค และ ง 2. ทำเครื่องหมายกากบาท (×) ลงในกระดาษคำตอบ 1. การชำระพระไตรปิฎกในสมัยรัชกาลที่ 5 มีความสำคัญอย่างไร ก. จัดพิมพ์แปลเป็นภาษาไทยเป็นครั้งแรก ข. จัดพิมพ์แปลเป็นภาษาอังกฤษ ค. จัดพิมพ์เป็นภาษาบาลีเป็นครั้งแรก ง. จัดทำเป็นภาษาบาลีแล้วแจกไปตามวัดต่าง ๆ 2. วัดที่เป็นศูนย์กลางของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย คือ ก. วัดอรุณราชวราราม ข. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ค. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ง. วัดบวรนิเวศวิหาร 3. วัดประจำรัชกาลที่ 5 คือวัดใด ก. วัดนิเวศธรรมประวัติ ข. วัดเทพศิรินทราวาส ค. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ง. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม 4. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรกของไทย คือพระองค์ใด ก. เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิต ข. เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ค. เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ ง. เจ้าฟ้ามงกุฎ 5. สิ่งก่อสร้างในข้อใดเป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ก. หอประชุมโรงเรียนวชิราวุธ ข. วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ค. ตึกคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ง. พระที่นั่งไอสวรรย์ทิพยอาสน์ พระราชวังบางปะอิน 6. รัชกาลที่ 5 ทรงเปลี่ยนแปลงประเพณีการเข้าเฝ้าอย่างเป็นทางการอย่างไร ก. ปรับปรุงเรื่องการแต่งกายของข้าราชการในราชสำนัก ข. เปลี่ยนการถวายคำนับ เป็นประเพณีแบบหมอบคลาน ค. ยกเลิกการเข้าเฝ้าแบบเดิม ให้ถวายความเคารพแบบสากล ง. ยกเลิกการตัดผมทรงมหาดไทย 7. สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบผสมระหว่าง ศิลปะไทยกับศิลปะตะวันตก ก. พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ข. พระที่นั่งอนันตสมาคม ค. พระที่นั่งวิมานเมฆ ง. พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท 8. การแต่งกายของข้าราชการไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ให้ชายแต่งเสื้อราชปะแตนมีลักษณะอย่างไร ก. เสื้อเชิ้ตสีขาวแขนยาว ติดกระดุม 5 เม็ด ข. เสื้อคอตั้ง แขนยาวสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ค. เสื้อเชิ้ตสีขาวแขนสั้น ติดกระดุม 6 เม็ด ง. เสื้อคอตั้ง แขนสั้นสีขาว ติดกระดุม 6 เม็ด 9. สถาบันที่เป็นศูนย์กลางความศรัทธาร่วมกันและเป็นสถาบันที่เชื่อมโยงประสานโครงสร้าง ระหว่างชนชั้นของคนไทยทั้งปวงคือสถาบันใด ก. สถาบันสงฆ์ ข. สถาบันการปกครอง ค. สถาบันทหาร ง. สถาบันกษัตริย์ 10. บทละครเรื่อง ?สร้อยคอที่หาย? ซึ่งเคยเป็นหนังสือเรียนวิชาภาษาไทย เป็นผลงานของใคร ก. พระยาสุรินทราชา ข. พระยาศรีสุนทรโวหาร ค. กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ง. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้อที่ ตัวเลือก 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. ก. ง. ค. ก. ข. ค. ง. ข. ก. ค. บรรณานุกรม กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ. หนังสือเรียนสังคมศึกษา รายวิชา ส 306 และประเทศของเรา. กรุงเทพฯ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ , 2544. ณรงค์ พ่วงพิศ. ประวัติศาสตร์ ม.3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2547. บังอร ปิยะพันธุ์. ประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2538. ประเสริฐ วิทยารัฐ. ประเทศของเรา 4 สมบูรณ์ หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2537). สำนักงานวัฒนาพานิช, 2542. น้อม งามนิสัย. ชุดปฏิรูปการเรียนรู้ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. ช่วงชั้นที่ 3. สำนักพิมพ์ประสานมิตร, 2545. สุทธิ ภิบาลแทน. เปิดโลกประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์. สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์, 2550. สุวิทย์ มูลคำ และสุนันทา สุนทรประเสริฐ. การพัฒนาผลงานทางวิชาการ. สืบแสง พรหมบุญ และคณะ. หนังสือเรียนสังคมศึกษา รายวิชา . กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์ , 2544. สุนันทา สุนทรประเสริฐ. การผลิตเอกสารประกอบการสอน. สุพรรณบุรี : สุพรรณก๊อปปี้ การพิมพ์; 2539. แถมสุข นุ่มนนท์ และคณะ. หนังสือเรียนสังคมศึกษา สมบูรณ์ ส 6.5. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิชจำกัด, 2543. อุดม เชยถีวงศ์. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช (รัชกาลที่ 5). สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา, 2550. ❞

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1540 วันที่ 5 มี.ค. 2552


เผยแพร่ผลงานวิชาการ นางอำไพพรรณ ปานมงคลเผยแพร่ผลงานวิชาการนางอำไพพรรณปานมงคล

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

>>>คำถามกวนประสาท ( 2 )<<<

>>>คำถามกวนประสาท ( 2 )<<<


เปิดอ่าน 6,612 ครั้ง
แมวๆๆ..น่ารัก

แมวๆๆ..น่ารัก


เปิดอ่าน 6,472 ครั้ง
กำลังใจ

กำลังใจ


เปิดอ่าน 6,411 ครั้ง
17 เรื่องไร้สาระของผู้หญิง

17 เรื่องไร้สาระของผู้หญิง


เปิดอ่าน 6,435 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

 เรื่องเม้าท์ยอดฮิตของหนุ่ม ๆ ที่รู้แล้วจะอึ้ง"

เรื่องเม้าท์ยอดฮิตของหนุ่ม ๆ ที่รู้แล้วจะอึ้ง"

เปิดอ่าน 6,399 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ผลงานวิชาการเผยแพร่
ผลงานวิชาการเผยแพร่
เปิดอ่าน 6,406 ☕ คลิกอ่านเลย

ดวงปีมะแม  2553
ดวงปีมะแม 2553
เปิดอ่าน 6,405 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้อเตือนใจ....ในวันแห่งความรัก..สำหรับลูกศิษย์ทุกคน
ข้อเตือนใจ....ในวันแห่งความรัก..สำหรับลูกศิษย์ทุกคน
เปิดอ่าน 6,449 ☕ คลิกอ่านเลย

 สะบายดี...หลวงพระบาง (อีกครั้ง)
สะบายดี...หลวงพระบาง (อีกครั้ง)
เปิดอ่าน 6,421 ☕ คลิกอ่านเลย

หรือคนรุ่นเราสมควรจะถูก ?ถอนหงอก?..
หรือคนรุ่นเราสมควรจะถูก ?ถอนหงอก?..
เปิดอ่าน 6,397 ☕ คลิกอ่านเลย

9 นิสัยเสีย.....ที่ดีต่อสุขภาพ
9 นิสัยเสีย.....ที่ดีต่อสุขภาพ
เปิดอ่าน 6,414 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเพิ่ม Multi-skill ให้ตัวเองด้วย
เก่งอย่างเดียวไม่พอ ต้องเพิ่ม Multi-skill ให้ตัวเองด้วย
เปิดอ่าน 1,053 ครั้ง

9 ปัญหาสุขภาพ ที่ควรบอกผ่านการขับรถ
9 ปัญหาสุขภาพ ที่ควรบอกผ่านการขับรถ
เปิดอ่าน 10,046 ครั้ง

สามเณรน้อย ท่องบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคล่องมาก ทึ่งสวดมนต์ตั้งแต่ยังอ่านไม่ออก
สามเณรน้อย ท่องบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตรคล่องมาก ทึ่งสวดมนต์ตั้งแต่ยังอ่านไม่ออก
เปิดอ่าน 9,762 ครั้ง

เธลีส (Thales) นักคณิตศาสตร์
เธลีส (Thales) นักคณิตศาสตร์
เปิดอ่าน 19,040 ครั้ง

เผด็จการคืออะไร
เผด็จการคืออะไร
เปิดอ่าน 22,614 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ