ข่าลิงเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน เนื้อในสีขาว ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหอกแกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ มีขนประปรายที่ขอบใบและ ริมขอบ เส้นกลางใบด้านล่างสองข้างเป็นแนวยาว กาบใบเรียงซ้อนกันแน่น ดอกขาวแกมเหลืองแดง กลีบดอกโคนเชื่อมเป็นหลอดสั้นๆปลายแยกเป็น 3 กลีบ เกสรเพศผู้ ส่วนที่เป็นกลีบอยู่บนกลีบดอก เหนือหลอดกลีบดอกนูนสีแดง โคนกลีบแยก 2 หยัก รูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก สีแดง ก้านเกสรโค้งเล็กน้อย มีขนประปราย อับเรณูสีครีม เกสรเพศเมีย ก้านเกสรยาว สีขาว ผล รูปกลม ผลแก่สีส้มถึงแดง ปลายผลมักมีกลีบแห้งติดอยู่
ทางการแพทย์แผนไทยจะใช้เหง้าและราก แก้ประดง รักษากามโรค เกลื้อน พิษฝี ปวดท้อง ผายลม ขับลมในลำไส้ เหง้าสดเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น จะได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.17
ขอบคุณที่มาจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์