Advertisement
|
ภาพประกอบทางอินเตอร์เน็ต |
|
|
จากกรณี คุณน้ำอ้อย ตุ้มทับ อายุ 22 ปี เข้ารับการคลอดบุตรที่ รพ.ของรัฐแห่งหนึ่ง ได้เสียชีวิตลงพร้อมกับบุตรในครรภ์จาก “ภาวะมดลูกแตก” อาจทำให้คนที่กำลังตั้งครรภ์เสียขวัญ ว่ากรณีดังกล่าวมีโอกาสจะเกิดขึ้นกับตัวเองหรือไม่
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก สูตินรีแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า ภาวะมดลูกแตก เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก สาเหตุเกิดจากจุดอ่อน หรือจุดโหว่ที่ตัวผนังมดลูก ซึ่งมีหลายแบบด้วยกัน คุณแม่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น มีแผลเป็นบริเวณมดลูก เคยผ่าตัดเนื้องอกมดลูก เคยขูดมดลูก ผนังมดลูกบางผิดปกติ มีการยืดขยายของมดลูกมากกว่าที่ควรจะเป็นในรายที่ตั้งครรภ์แฝด หรือ แฝดน้ำ บางรายได้รับยากระตุ้นการคลอดก็อาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้มดลูกแตกได้ แต่บางรายก็ไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
ส่วนการเกิดอุบัติเหตุจนทำให้มดลูกแตกนั้น เกิดขึ้นได้น้อยมาก โดยจะต้องมีการกระแทกไปที่มดลูกโดยตรง หรือมีของแหลมทิ่มแทงเข้าไป
มดลูกแตกมี 2 ลักษณะ คือ 1. แตกแบบสมบูรณ์และ 2. แตกแบบไม่สมบูรณ์ โดยภาวะมดลูกที่แตกไม่สมบูรณ์ คือ ยังมีเยื่อชั้นนอกของตัวมดลูกคลุมอยู่ เด็กก็จะยังอยู่ในท้อง การพยากรณ์โรคอาจจะดีกว่ากลุ่มที่แตกแบบสมบูรณ์ซึ่งเด็กจะหลุดออกมาข้างนอก
ตำแหน่งที่แตกก็มีความหมาย ถ้าแตกตรงตำแหน่งที่รกเกาะอยู่ ก็เหมือนทำให้รกร่อนออกไป ทำให้ขาดเลือด และเด็กขาดอากาศได้เร็วขึ้น ส่วนใหญ่จะเจอในกลุ่มที่แตกแบบสมบูรณ์ ส่วนที่แตกยังไม่สมบูรณ์ยังโชคดีกว่า เพราะบางรายรกยังไม่แยกออก เด็กก็ยังจะได้รับอาหารพอสมควร
จุดที่แตกมีความหมายอีกอัน คือ การแตกตรง จุดที่มีเส้นเลือดเยอะ ๆ เช่น แตกตรงข้าง ๆ มดลูกมีเส้นเลือดใหญ่ ๆ ก็มีโอกาสทำให้เส้นเลือดฉีกขาด ทำให้แม่อันตรายมากขึ้น เพราะจะเสียเลือดมาก
อาการของคนไข้มดลูกแตก คือ ปวดท้อง แน่นอึดอัด เพราะมีเลือดในช่องท้อง การหายใจก็จะไม่ดี อาจจะรู้สึกท้องอืด หรือ บางรายอาจมีเลือดออกมาทางช่องคลอด หน้ามืด ใจสั่น ปวดร้าวไปที่ไหล่
การตรวจพบ คือ ต้องไปคลำที่ตัวมดลูก ส่วนใหญ่มดลูกจะแข็งตึง ไปแตะตรงไหนก็เจ็บ ถ้าแตกสมบูรณ์แล้วการคลำมดลูกก็คลำยาก เพราะอะไรต่ออะไรไหลออกมาหมด ถ้ามดลูกแตกแล้ว ฟังเสียงหัวใจลูก ส่วนใหญ่หัวใจลูก จะมีการเปลี่ยนแปลง เด็กจะมีภาวะเครียด แสดงถึงอาการพร่องออกซิเจน การตรวจภายในจะคลำตัวเด็กไม่ได้ เพราะไม่รู้ลอยไปที่ไหนแล้ว
ในการช่วยเหลือคนไข้มดลูกแตก วิธีที่เหมาะสมคือ เปิดเข้าไปห้ามเลือด หรือแก้ไขตามเหตุการณ์ ถ้ามีรูรั่วก็ไปเย็บรูรั่ว ไปห้ามเลือด
นั่นคือหลักการ ยิ่งทำเร็วยิ่งดี ส่วนการตัดมดลูกทิ้ง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แตก ถ้าแตกส่วนบนอาจจะเย็บซ่อมได้ ถ้าแตกส่วนล่างเนื่องจากจะมีการฉีกออกไปข้าง ๆ จะห้ามเลือดไม่ได้ ต้องไปตัดมดลูกก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่แตก และความต้องการที่จะมีลูกอีกต่อไปหรือไม่ ถ้าไม่ต้องการมีลูก ตำแหน่งที่แตกยับเยินตัดดีกว่า แตกแล้วโอกาสจะช่วยชีวิตลูกนั้น ขึ้นอยู่กับว่า ลูกตัวเล็กเกินไปหรือไม่ ผ่าตัดเร็วเพียงใด สำหรับคุณแม่ก็เช่นกัน ยิ่งผ่าตัดเร็วยิ่งดี โดยเฉพาะถ้ามดลูกแตกใน รพ. และสามารถวินิจฉัยได้เร็ว คนไข้จะไม่ค่อยเสียชีวิต
การป้องกันมดลูกแตกไม่สามารถทำได้ทั้งหมด ที่ป้องกันได้ เช่น สาเหตุที่อาจเกิดจากการให้ยากระตุ้น ก็ต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้ยากระตุ้น ถ้าจำเป็นต้องให้ก็ต้องมีการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หรือในรายมีแผลที่มดลูก อาจจะใช้วิธีการผ่าคลอดแทน.
|
|
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
|
วันที่ 4 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,194 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,256 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,403 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,409 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,404 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 18,418 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,953 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,917 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,526 ครั้ง |
เปิดอ่าน 52,988 ครั้ง |
|
|