Advertisement
กรุงเทพฯ--4 มี.ค.--เดนตินอร์
การ นอนกรน เป็นปัญหาจากการนอนหลับที่ผิดปกติ โดยเนื้อเยื่อในช่องคอหย่อนตัวไปกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดกับคนวัยผู้ใหญ่ โดยจากการศึกษาประชากรทั่วไปจะมีโรคนี้ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งอาการนอนกรนนี้จะรุนแรงเพิ่มขึ้นตามอายุและความอ้วน โดยในอนาคตจำนวนประชากรที่มีปัญหาจากการนอนหลับที่ผิดปกตินี้จะมีแนวโน้มที่ จะเพิ่มสูงขึ้นจากไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป การออกกำลังกายที่น้อยลง การรับประทานอาหารที่มีผิดสัดส่วนและมากเกินไป การนอนกรนสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ ประเภทนอนกรนอย่างเดียว และประเภทนอนกรนแบบมีอาการหยุดหายใจร่วมด้วย ซึ่งแบบที่มีอาการหยุดหายใจร่วมด้วยนี้คิดเป็นร้อยละ 30 ของผู้ป่วยนอนกรนทั้งหมด
การนอนกรนที่มีอาหารหยุดหายใจร่วมด้วย(Obstructive Sleep Apnea)นับเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพมากมาย โดยจากการวิจัยต่างๆพบว่าโรคร้ายแรงหลายชนิดมีสาเหตุมาจากการนอนกรนชนิดนี้ เช่น โรคหัวใจ (Cardio Vascular Disease) ความดันโลหิตสูง(Hypertension) โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต (Cerebrovascular Accident) และอาจมีความเกี่ยวโยงไปถึงการขาดสมรรถภาพทางเพศของคุณผู้ชายอีกด้วย และจากผลการสำรวจกว่าร้อยละ 40 ของผู้เป็นโรคความดันมีอาการ OSA* ดังนั้นผู้ที่รู้สึกว่าตนเองง่วงนอนตลอดเวลา สมาธิและความจำสั้น ก็ควรเริ่มสำรวจตนเองว่าเป็นคนนอนกรนหรือไม่ และเป็นคนนอนกรนประเภทใด โดยเริ่มจากการถามคนใกล้ชิดและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์จะซักประวัติผู้ป่วย เกี่ยวกับการนอนและอาการกรน อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น ตลอดจนปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอลล์ หรือการใช้ยา จากนั้นแพทย์จะตรวจร่างการเพื่อประเมินตำแหน่งและความรุนแรงของโรค บริเวณจมูก ลำคอ โคนลิ้น รูปร่างใบหน้า วัดรอบคอ น้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต หรืออาจส่งกล้องเพื่อดูปฏิกิริยาการหดตัวของอวัยวะในลำคอและโคนลิ้นขณะหายใจเข้า และส่งตรวจเอกซเรย์กะโหลกศีรษะเพื่อประเมินตำแหน่งที่มีการอุดกลั้นทางเดินหายใจ และขั้นตอนที่สำคัญคือ ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่ามีภาวะหยุดหายใจเนื่องจากระบบทางเดินหายใจส่วนบนอุดตัน แพทย์จะส่งตรวจการนอนหลับ โดยการตรวจการนอนหลับนี้เป็นการตรวจโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อตรวจปัจจัยต่างๆที่มีผลจากการนอน คือ ตรวจคลื่นสมองเพื่อวัดระดับความลึกของการหลับ ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจระดับออกซิเจนในเลือดแดง ตรวจการผ่านเข้าออกของลมหายใจทางปากและจมูก ตรวจการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอกและกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ใช้ในการหายใจ ตรวจท่านอนและการขยับร่างกายระหว่างการนอน รวมถึงกล้ามเนื้อแขนขา โดยทำการตรวจในห้องปฏิบัติการซึ่งอาจมีการวัดระดับเสียงกรนและบันทึกภาพ วิดีโอไว้ด้วย การตรวจการนอนหลับนี้จะตรวจในช่วงกลางคืน ใช้เวลาประมาณ 6 — 8 ชั่วโมง จากการตรวจการนอนหลับนี้แพทย์จะสามารถประเมินได้ว่า ผู้ป่วยมีภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจในระดับใด และควรได้รับการรักษาด้วยวิธีใด
สำหรับการรักษาอาการนอนกรนแบบที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย (Obstructive Sleep Apnea) วิธีที่ใช้โดยทั่วไปคือ 1.การผ่าตัด แต่ผลการรักษาในระยะยาวยังไม่ชัดเจน ควรทำการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและพิจารณาเป็นรายๆไป 2.การใช้เครื่องอัดอากาศ (CPAP หรือ Continuous Positive Airway Pressure) เป็นทางเลือกที่ได้รับการยอมรับกันอย่างกว้างขวางและใช้ได้กับทุกความรุนแรงของโรค ได้ผลทันทีที่เริ่มใช้อย่างถูกหลัก แต่เครื่อง CPAP นี้ มีความไม่สะดวกในการใช้เนื่องจาก ต้องการการฝึกการใช้งาน พกพาไม่สะดวก ใช้ไฟฟ้าในการทำงาน เพราะฉะนั้นคนไข้บางส่วนจะไม่ประสบความสำหรับใจการใช้ระยะยาว 3.ในการรักษาที่มีความรุนแรงของโรคน้อยถึงปานกลาง การใช้เครื่องดึงกรามล่างไม่ให้ตกขณะหลับ(MAS หรือ Mandibular Advancement Spint) จะทำให้ช่องทางเดินหายใจกว่างขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการอุดกลั้นทางเดินหายใจได้ เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือรักษาเฉพาะบุคคลที่ทันสมัยและมีความปลอดภัย ทำจากอะครีลิคเรซิ่นทางการแพทย์ โดยแพทย์จะตรวจและสั่งทำอุปกรณ์ครอบฟันเฉพาะบุคคล ลักษณะคล้ายฟันยางสำหรับสวมใส่ก่อนนอน เพื่อที่จะช่วยเพิ่มทางเดินหายใจช่วงบนจากการเลื่อนขากรรไกรและโคนลิ้นมาด้านหน้าเล็กน้อย ทำให้มีพื้นที่สำหรับทางเดินอากาศมากขึ้นขณะเวลานอนและลดเสียงกรน ซึ่งแพทย์จะตรวจและสั่งทำอุปกรณ์เฉพาะบุคคลขึ้นมา การรักษานี้ถือได้ว่าเป็นทางเลือกในการรักษาที่ได้รับการยอมรับจากสถาบันในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป (American Academy of Dental Sleep Medicine และ European Academy of Dental Sleep Medicine) ว่าเป็นเครื่องมือที่ช่วยบรรเทาหรือรักษา Obstructive Sleep Apnea ได้**
สนใจขอทราบข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อศูนย์รักษาการนอนกรนและโรคหยุดหายใจเดนตินอร์เบอร์ โทร. 02-3902772-3 หรือ www.dentinore.com
บริษัท พีอาร์ โฟกัส จำกัด
ประภาส จรสรัมย์ โทรศัพท์ 084-016-2809
วันที่ 4 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,199 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,195 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,134 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 9,475 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,682 ครั้ง |
เปิดอ่าน 66,794 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,767 ครั้ง |
เปิดอ่าน 92,134 ครั้ง |
|
|