Advertisement
|
|
อาการปวดศรีษะ มักเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด ความดันสูง ภาวะมีไข้ ติดเชื้อ ฯลฯ
แต่อาการปวดก็จะไม่เจาะจงเกิดที่บริเวณท้ายทอยเท่านั้น อาการปวดเฉพาะบริเวณท้ายทอยส่วนใหญ่พบมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติที่กระดูกคอข้อที่ 1-3 ซึ่งอาจเป็นผลจากการมีกล้ามเนื้อเกร็งตัวมากกว่าปกติในบริเวณนั้น ทั้งจากการทำงานที่ผิดท่าทาง โดยเฉพาะกลุ่มผู้ทำงานด้วยคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ หากไม่แน่ใจลองสังเกต และปฎิบัติดูตามนี้
1. สังเกตท่าทางในการนั่งก่อนเลย ว่า คอยื่นไปจนหน้าเกือบจะชิดจอคอมพ์อยู่เกือบตลอดเวลาหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนั้น ให้แก้ไขก่อน โดยหมั่นสังเกตว่าเริ่มเกิดอาการตึงคอเมื่อไหร่ให้ เก็บคางไว้ อย่าให้หน้าเชิดมากนัก ถ้าเริ่มจะบังคับไม่ไหวมีมึนหัว ตึงต้นคอ ก็ควรพัก สัก5-10 นาที ในระหว่างพักก็ให้ออกกำลังคอเบา ๆ หันซ้าย ขวา เอียง ซ้าย ขวา หมุนไปมาและก้มเงย ในขณะทำก็อย่าลืมเก็บคางไว้อย่าเชิดมาก ทำให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ ข้างละ 5-10 ครั้ง (ตามอาการ) อย่ารีบยืดกล้ามเนื้อคอทันที หลังนั่งหน้าคอมพ์นาน ๆ อาจทำให้บาดเจ็บได้ หลังออกกำลังเสร็จก็ ค่อย ๆ ยืดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ โดยทำท่าเหมือนที่ออกกำลังไปก่อนหน้านี้ แต่ให้คงการเคลื่อนไหวไว้ในท่าที่ทำประมาณ 5-7 วินาที (ตามแต่อาการตึงมากหรือน้อย) เช่น เอียงศรีษะไปด้านซ้าย ค้างไว้ จะทำให้กล้ามเนื้อคอด้านขวายืด แต่การยืดกล้ามเนื้อมัดอื่น ๆ นั้นแตกต่างกันไป หากไม่ไปพบนักกายภาพบำบัด หรือ ผู้มีความรู้เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ และการออกกำลังโดยตรง ก็ต้องอาศัยการสังเกตของผู้ออกกำลังเอง * ควรระวังการยืดผิดวิธีอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้* ถ้าไม่แน่ใจกลัวว่าจะทำไม่ถูก ก็ไม่ควรทำ แต่สามารถใช้ฝ่ามือ ถูกกันให้อุ่น ๆ แล้ววางที่ต้นคอและบริเวณท้ายทอย โดยไม่ต้องนวด แต่ให้แรงกดบ้างเล็กน้อย ตามจุดที่มีอาการตึงและเมื่อย อย่างไรก็ดี ไม่ควรทำงานหน้าคอมพ์นานเกิน 3 ชั่วโมงต่อเนื่อง ถ้าเป็นไปได้ ควรพักสายตา และหาที่พิงหลัง+ต้นคอ ทุก 1- 1.5 ชั่วโมง
* ปล. ท่าทางในการออกกำลังสำหรับต้นคอ หรือ สำหรับผู้ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ มีมากมายหลายท่า อาจค้นหาได้จาก เว็บอื่น ๆ แต่ให้ดีสุดควรได้รับการตรวจให้พบสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงก่อน และให้ผู้รักษาสาธิตให้ฟัง และทดลองทำก่อนนำไปปฎิบัติจริงด้วยตนเอง**
2. ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาที่เหมาะสม เพราะอาจมีปัญหาที่กระดูกต้นคอชิ้นบน ๆ ที่ติดกับฐานกะโหลก หากมีอาการยึดติดจากการตึงตัวของกล้ามเนื้อ หรือการมีรูปร่างลักษณะคอผิดรูป ซึ่งอาจเกิดจากการมีท่าทางในการทำงานที่ไม่ถูกต้อง หากปล่อยให้เป็นอยู่นาน อาจทำให้มีอาการปวดศรีษะเรื้อรังได้ ร่วมกับเวียนหัว บ้านหมุน คลื่นไส้ ตาพร่ามัว เป็นต้น
การเอ็กซเรย์บางทีก็ไม่เห็นความผิดปกติ สุดแล้วแต่แพทย์จะพิจารณาให้ x-ray หรือไม่ (ตามแนวทางที่ควรเป็น การ x-ray จะช่วยให้เห็นลักษณะการวางตัวของกระดูกคอ ต่อช่วง อกและบ่า สามารถเป็นแนวทางในการตรวจประเมินทางกายภาพบำบัดได้บ้าง ตลอดจนมีประโยชน์ในการประเมินผลการรักษาในระยะยาว และอาจจะนำมาใช้แก้ไขปัญหาการมีความผิดปกติที่เกิดจากท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้องได้)
|
|
ขอบคุณที่มาข้อมูลที่นี่ดอทคอม
วันที่ 4 มี.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,406 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,482 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,181 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 12,941 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,905 ครั้ง |
เปิดอ่าน 34,683 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,544 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,399 ครั้ง |
|
|