ที่ประเทศเดนมาร์ก กลุ่มเด็กนักเรียนหญิงเกรด 9 โรงเรียน Hjallerup จำนวน 5 คนเกิดความสงสัยปนอยากรู้ขึ้นมาว่า ทำไมคืนที่หลับไปโดยวางโทรศัพท์(ที่เปิดเครื่อง) ไว้หัวนอนตลอดคืน เช้าวันรุ่งขึ้นจึงไม่ค่อยมีสมาธิ หรือจดจ่อกับกิจกรรมต่างๆ ได้น้อยกว่าปกติ
ทั้งหมดแปลงความสงสัยที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนี้ให้เป็น “การทดลอง” ในวิชาวิทยาศาสตร์ แต่ครั้นจะใช้ตัวเองเป็นหนูทดลองก็เกรงว่าจะเสี่ยงเกินไป และเครื่องไม้เครื่องมือในโรงเรียนก็มีไม่พร้อมสำหรับการทดลอง จึงตัดสินใจใช้เราเตอร์ Wi-Fi แทนสมาร์ทโฟน
ส่วนหนูทดลอง ทั้ง 5 สาวตัดสินใจใช้เมล็ดต้นเครส พืชสมุนไพรที่ได้ชื่อว่าโตเร็ว โตง่ายและทนทาน เพียงแค่ได้น้ำนิดหน่อยกับแสงแดดที่เพียงพอ
โดยนำเมล็ดเครสจำนวน 400 เมล็ด มาวางกระจายบนถาด 12 ถาด และแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ถาด กลุ่มแรกถูกวางไว้ในห้องปกติ และกลุ่มที่ 2 ถูกวางไว้ในห้องที่มี เราเตอร์ Wi-Fi 2 เครื่อง โดยทั้ง 2 กลุ่มได้รับน้ำและแสงแดดในปริมาณเท่ากัน
ผ่านไป 12 วัน พบว่า ถาดกลุ่มแรกที่วางไว้ในห้องปกติ เจริญเติบโตดี ผิดกับถาดกลุ่มหลังที่เมล็ดไม่เจริญเติบโต บางส่วนเน่าและตายไป
ด้านซ้ายอยู่ในห้องปกติ ด้านขวาอยู่ในห้องที่มี Wi-Fi เราเตอร์
การทดลองดังกล่าวได้รับความสนใจในวงกว้าง และสถาบันวิทยาศาสตร์หลายสถาบันได้นำไปทดสอบต่อในห้องปฏิบัติการที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ดี หนึ่งนั้นคือ ศาสตราจารย์ โอลเล โจแฮนซัน จากสถาบัน Karolinska ในกรุงสตอกโฮล์ม ที่ต้องการหาคำตอบที่ชัดเจนของปรากฎการณ์ดังกล่าว
ศาสตราจารย์โจแฮนสัน เผยว่าประทับใจในการทดลองของเด็กๆ ที่เริ่มต้นจากความอยากรู้อยากเห็นและสงสัย และยิ่งดีใจที่ตอนนี้ เด็กๆ ทั้ง 5 คน ตัดสินใจไม่วางโทรศัพท์ไว้ใกล้เตียงนอนเด็ดขาดด้วยกลัวว่าจะส่งผลเสียต่อร่างกาย คล้ายๆ กับที่เกิดขึ้นกับเมล็ดต้นเครส
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์โจแฮนสันยังไม่อยากสรุปว่ารังสีที่มาจากสัญญาณจากอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ จะมีผลร้ายแรงต่อร่างกายเพียงใด แค่เตือนสั้นๆ ว่า
“สัญญาณจากอุปกรณ์ไร้สายต่างๆ จะส่งผลเยาวชนในระยะยาว ที่น่าเป็นห่วงคือ อาจไปหยุดยั้งการเจริญพันธุ์ของคนรุ่นต่อไป ภายใน 5 รุ่นถัดจากนี้” จึงอยากเตือนถึงการอุปกรณ์สื่อสารตระกูลสมาร์ทต่างๆ แทบเล็ต เครื่องมือประเภทเชื่อมต่อบลูทูธ หรือแบบไร้สายนานาชนิด ให้ใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น wifi-hotspot
การทดลองในรูปแบบคล้ายกันนี้ เคยมีเมื่อ 3 ปีที่แล้วในประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Wageningen สังเกตเห็นว่า ต้นไม้บางส่วนในเมือง มีก้อนแข็งๆ ปรากฏบนเปลือกไม้ จึงทำการทดลอง โดยนำต้นมะกอก 20 ต้นไปวางอยู่ใกล้รังสีชนิดต่างๆ เป็นระยะเวลา 3 เดือน และพบว่า ต้นที่ถูกเลือกให้ทดสอบประสิทธิภาพความทนทานต่อสัญญาณ Wi-Fi เริ่มมีลักษณะผิดปกติ คือ คราบสีตะกั่วบนใบไม้
ที่มา : geek.com,adbusters.org