Advertisement
การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการดื่มกาแฟต่อสุขภาพที่ผ่านมา แตกแขนงกันออกไปคนละทางสองทาง มีผลการศึกษาบางชิ้นที่ชี้ว่า การดื่มกาแฟส่งผลให้ความดันโลหิตสูง หรือไม่ก็ส่งผลให้การทำหน้าที่ของ อินซูลิน และ อะดรีนาลีน ในร่างกายผิดปกติไป
แต่ก็มีเหมือนกันที่ชี้ให้เห็นด้านที่เป็นประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและกระบวนการคิดและรับรู้ของผู้บริโภคก็มีเหมือนกัน
รายงานล่าสุดที่ศึกษาผลกระทบของการดื่มกาแฟ เป็นการศึกษาวิจัยของ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งเซาท์ แคโรไลนา สหรัฐอเมริกา นำโดย สตีเฟน แบลร์ ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ เมโย คลินิคึ โปรซีดดิงส์ เมื่อเร็วๆ นี้ แสดงผลออกมาในทางที่ไม่ค่อยดีนัก นั่นคือ แสดงให้เห็นว่า บรรดานักดื่มชนิดที่เป็นคอกาแฟ ดื่มหนักๆ มากๆ ชนิดเกินกว่า 4 ถ้วยต่อวัน หรือเกิน 28 ถ้วยต่อสัปดาห์ ยิ่งทวีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากทุกๆ สาเหตุมากขึ้นกว่าผู้ที่ดื่มน้อย หรือไม่ดื่มเลยมากถึงกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
กรณีดังกล่าวมีผลเฉพาะในกลุ่มคอกาแฟที่มีอายุน้อย คือต่ำกว่า 55 ปี ลงมา นักดื่มที่อายุเกินกว่านั้นไม่ปรากฏผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในเชิงสถิติแต่อย่างใด
ผลการศึกษาชิ้นล่าสุดนี้ เกิดจากการวิเคราะห์ประวัติส่วนตัวและประวัติด้านการแพทย์ ด้วยการให้กลุ่มตัวอย่างมากกว่า 40,000 ราย อายุระหว่าง 20 ปี ถึง 87 ปี ตอบแบบสอบถามทางวิชาการ ระหว่างปี 1979-1998 หลังจากนั้นมีการติดตามผลต่อมาในช่วงระยะเวลา 17 ให้หลัง ปรากฏว่า กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมอยู่ในโครงการศึกษาวิจัยนี้มากกว่า 2,500 คน เสียชีวิตลงด้วยสาเหตุต่างๆ กัน
จากการวิเคราะห์ข้อมูล ทีมวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุน้อยกว่า มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเพิ่มมากกว่า แม้ว่าจะดื่มกาแฟในปริมาณที่ต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับมีนัยสำคัญเมื่อปริมาณการดื่มเพิ่มขึ้นถึงระดับ 28 ถ้วยต่อสัปดาห์ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคกาแฟที่มีอายุต่ำกว่า 55 ปี มีความเสี่ยงจะเสียชีวิตจากทุกสาเหตุเพิ่มมากขึ้นถึง 56 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนั้น ยังพบด้วยว่า ผลกระทบจากการดื่มกาแฟจะรุนแรงกว่ามากในกลุ่มผู้ดื่มที่เป็นสุภาพสตรี ผู้หญิงที่ดื่มกาแฟมากๆ แล้วมีอายุต่ำกว่า 55 ปี มีความเสี่ยงจะเสียชีวิตเพิ่มขึ้นกว่าผู้ที่ไม่ดื่มเลยถึงเท่าตัว
ทีมวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟในปริมาณมากกว่า มีแนวโน้มที่จะสูบบุหรี่ ทำให้ ปอด และ หัวใจ มีสุขภาพไม่ดีมากกว่าตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตดังกล่าวเกิดขึ้นจากอะไรในกาแฟ แม้ว่าจะเป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่า คาเฟอีน ในกาแฟกระตุ้นให้ต่อมหมวกไตปล่อย อะดรีนาลีน ออกมามากขึ้น และมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของอินซูลิน และไปเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้นก็ตาม
นอกจากนั้น ทำไม ผู้ดื่มที่อายุต่ำกว่า 55 ปี ถึงเกิดความเสี่ยงสูงกว่า ก็ยังไม่แน่นอน แต่มีข้อบ่งชี้บางประการว่า คนที่ดื่มกาแฟจัดขณะที่อายุยังน้อยๆ นั้น มีพฤติกรรมเสี่ยงอย่างอื่นประกอบพร้อมกันไปด้วย อาทิ การดื่มเหล้าจัด, นอนดึก, บริโภคอาหารไม่เป็นประโยชน์ เป็นต้น
ทั้งสองกรณี ชี้ให้เห็นว่าควรมีการศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบที่ชัดเจนต่อไป เพราะกาแฟถือเป็นเครื่องดื่มที่แพร่หลายกว้างขวางจนหลายคนมองข้ามเรื่องด้านลบไปแล้ว
(ที่มา:มติชนรายวัน 20 ส.ค.2556)
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 12,197 ครั้ง เปิดอ่าน 10,042 ครั้ง เปิดอ่าน 24,642 ครั้ง เปิดอ่าน 11,824 ครั้ง เปิดอ่าน 39,272 ครั้ง เปิดอ่าน 13,182 ครั้ง เปิดอ่าน 14,827 ครั้ง เปิดอ่าน 13,776 ครั้ง เปิดอ่าน 27,772 ครั้ง เปิดอ่าน 14,304 ครั้ง เปิดอ่าน 15,221 ครั้ง เปิดอ่าน 12,835 ครั้ง เปิดอ่าน 18,850 ครั้ง เปิดอ่าน 9,374 ครั้ง เปิดอ่าน 14,391 ครั้ง เปิดอ่าน 11,545 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 9,842 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,788 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,976 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,821 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 41,067 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 26,928 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,867 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,624 ครั้ง |
เปิดอ่าน 31,596 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,433 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,276 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,893 ครั้ง |
|
|