Advertisement
นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556 มีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 3 ราย ในตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
• อนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
รมว.ศธ.กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ซึ่งเป็นตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง จำนวน 3 ราย ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
1) นายอภิชาติ จีระวุฒิ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
2) นายทศพร ศิริสัมพันธ์ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
3) นางสุทธศรี วงษ์สมาน ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งรองเลขาธิการสภาการศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป
นางสุทธศรี วงษ์สมาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
|
นายอภิชาติ จีระวุฒิ
เลขาธิการคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน |
นายทศพร ศิริสัมพันธ์
เลขาธิการคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา |
|
|
|
|
|
|
|
• เห็นชอบรายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี พ.ศ. 2555
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบรายงานการพัฒนาระบบราชการไทย ประจำปี 2555 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้นำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. ภาพรวมของระบบราชการ
1.1 หน่วยงานของรัฐ ประเภทที่ 1 ส่วนราชการ มีหน่วยงานในส่วนกลาง รวม 177 หน่วยงาน (20 กระทรวง 157 กรม) ส่วนภูมิภาค รวม 954 หน่วยงาน (76 จังหวัด 878 อำเภอ) ส่วนท้องถิ่น รวม 7,853 หน่วยงาน (องค์การบริหารส่วนจังหวัด 76 แห่ง เทศบาล 2,082 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 5,693 แห่ง และ กทม. และเมืองพัทยา), ประเภทที่ 2 รัฐวิสาหกิจ 58 แห่ง, ประเภทที่ 3 องค์การมหาชน 68 หน่วยงาน, ประเภทที่ 4 หน่วยงานของรัฐรูปแบบอื่น (หน่วยธุรการขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ กองทุนที่เป็นนิติบุคคล และหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ)
1.2 กำลังคนภาครัฐในฝ่ายพลเรือนทั้งข้าราชการและบุคลากรประเภทอื่น จำนวน 2,724,335 คน
1.3 รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 จำนวน 2,380,000 ล้านบาท เป็นงบบุคลากรจำนวน 547,690.90 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.0 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด อย่างไรก็ดี ยังมีงบบุคลากรภาครัฐบางส่วนปรากฏอยู่ในงบรายจ่ายอื่น ทำให้ค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐในงบบุคลากรต่ำกว่าความเป็นจริง
1.4 สมรรถนะในการแข่งขันของระบบราชการไทยเชิงเปรียบเทียบ
(1) ความเป็นประเทศที่เอื้อต่อการลงทุนประกอบธุรกิจ ในปี พ.ศ.2555 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 17 จาก 183 ประเทศ ในส่วนภาวะธรรมาภิบาลพบว่ามิติประสิทธิผลของรัฐบาลและมิติคุณภาพของมาตรการควบคุม ยังคงอยู่ใน Percentile Rank ที่ 50-75 ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยพบว่าอยู่ในอันดับที่ 30 จาก 59 ประเทศ ดัชนีภาพลักษณ์คอรัปชันของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 88 จาก 176 ประเทศ (ค่าดัชนี 37 หรือ 3.7 ในฐานคะแนนแบบเดิม) ซึ่งปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 80 จาก 183 ประเทศ (ค่าดัชนี 3.4) อย่างไรก็ดี หากพิจารณาจากค่าดัชนีเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2554 ด้วยฐานคะแนนที่เท่ากันแล้ว จะพบว่าค่าดัชนีปรับเพิ่มขึ้น 0.3 คะแนน โดยประเทศที่มีค่าดัชนีสูงหมายถึง ประเทศที่มีการคอรัปชันน้อยที่สุด และประเทศที่มีค่าดัชนีต่ำ หมายถึงประเทศที่มีการคอรัปชันมากที่สุด
(2) ความพร้อมในการเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พบว่าอยู่ในอันดับที่ 64, 76 และ 92 ในปี พ.ศ. 2551, พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2555 ตามลำดับ อันดับความมีประสิทธิภาพของระบบราชการไทยพบว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 3 ประเทศแรกที่ระบบราชการมีประสิทธิภาพ รองจากสิงคโปร์ และฮ่องกง
1.5 ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาระบบราชการไทยตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ.2551 - พ.ศ.2555) พบว่าผลการบรรลุเป้าหมายในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ส่วนใหญ่มีผลการดำเนินการที่สูงกว่าค่าเป้าหมายทั้งสิ้น เช่น ประชาชนมีความพึงพอใจในระบบราชการ ร้อยละ 82.65 ส่วนราชการมีการปรับปรุงรูปแบบหรือวิธีการทำงาน ร้อยละ 89.50 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐยังไม่สามารถบรรลุตามค่าเป้าหมายการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ในการให้บริการประชาชน ดังนั้นควรให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้บริการประชาชน ผ่านรูปแบบของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาใช้ให้บริการประชาชนมากขึ้น
2. ความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบราชการไทย
2.1 ผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ จากการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 พบว่า การปฏิบัติราชการของกระทรวง กรม จังหวัด สถาบันอุดมศึกษา และองค์การมหาชน มีผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองฯ ที่สูงกว่าค่าเป้าหมาย โดยส่วนราชการมีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมค่อนข้างสูงกว่าค่าเป้าหมาย ในส่วนของจังหวัดในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยค่อนข้างสูงเช่นเดียวกัน สถาบันอุดมศึกษาในภาพรวมมีผลคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเป้าหมาย รวมทั้งองค์การมหาชนในภาพรวมพบว่า การปฏิบัติงานเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
2.2 จากการสำรวจความพึงพอใจเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พบว่าประชาชน ข้าราชการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบราชการในระดับสูงพอสมควร โดยมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86.7
2.3 การผลักดันการพัฒนาระบบราชการไทย ในรอบปี พ.ศ. 2555 สรุปได้ ดังนี้
- ตอบสนองความคาดหวังและความต้องการของประชาชน โดยสนับสนุนให้มีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน มีการมอบรางวัลระดับชาติให้แก่หน่วยงานที่มีนวัตกรรมหรือมีพัฒนาการในการบริการประชาชน และสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการให้บริการ (e-Services) พร้อมทั้งเผยแพร่ผลงานการพัฒนาคุณภาพการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
- การปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ปรับกลยุทธ์การบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ การพัฒนาและส่งเสริมให้มีการแข่งขันในการจัดบริการสาธารณะและการเปิดให้องค์กรในภาคส่วนอื่นเสนอตัวเข้ามาให้บริการของรัฐ การส่งเสริมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม และความร่วมมือการทำงานในลักษณะเครือข่าย รวมทั้งปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการให้เกิดการบูรณาการการทำงานระหว่างกระทรวง
- การมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง บุคลากรมีความพร้อมและความสามารถในการเรียนรู้ คิดริเริ่ม เปลี่ยนแปลงและปรับตัวได้อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ต่าง ๆ โดยยังคงให้ความสำคัญกับการปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของส่วนราชการ เพื่อเปิดให้ภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีความพร้อม เข้ามาจัดบริการสาธารณะแทนภาครัฐ การพัฒนาเสริมสร้างขีดสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในระบบราชการ ทั้งกลุ่มผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Chief Change Officer: CCO) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ของกระทรวงและกรม และนักบริหารการเปลี่ยนแปลงรุ่นใหม่ ในส่วนขององค์การมหาชน ได้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการบริหารองค์การมหาชน เพื่อให้องค์การมหาชนมีแนวทางในการปฏิบัติงานตามคำรับรองการปฏิบัติงานตามกรอบการประเมินผลที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์การมหาชนสู่สาธารณะ นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมผลักดันให้ภาครัฐมีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน และการรับมือกับสภาวะวิกฤตที่อาจจะเกิดขึ้นเพื่อให้การปฏิบัติงานของภาครัฐสามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่สะดุดหยุดลง
- การสร้างระบบการกำกับดูแลตนเองที่ดี เกิดความโปร่งใส มั่นใจ และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งทำให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อประชาชน และต่อสังคมโดยรวม ทั้งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น การสร้างการกำกับดูแลองค์การที่ดีของส่วนราชการ การจัดทำแผนการส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างยั่งยืน และยังคงส่งเสริมระบบการตรวจสอบที่ให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ที่ประชาชนจะได้รับจากหน่วยงาน ผ่านทางคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.)
2.4 การดำเนินงานขั้นต่อไป
- การเตรียมความพร้อมของระบบราชการไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยสำนักงาน ก.พ.ร. จะดำเนินการต่าง ๆ เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาประจำปีระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการพัฒนาระบบราชการ การแลกเปลี่ยนข้าราชการเพื่อปฏิบัติราชการในกลุ่มประเทศสมาชิก รวมถึงการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระหว่างกัน การพัฒนาหลักสูตรให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐจากประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นต้น
- การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยในระยะต่อไป เพื่อให้สอดคล้องตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสอดรับกับสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมถึงรองรับแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจะมีการศึกษาแนวโน้มการปรับเปลี่ยนระบบราชการ และตัวอย่างที่เป็นเลิศในระดับนานาชาติ รวมทั้งระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การกำหนดเป้าหมายและกรอบทิศทางในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยในระยะต่อไปที่มีความเหมาะสม และบังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
- การขยายผลการดำเนินงานตามแผนการส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการเพื่อการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีอย่างยั่งยืน โดยการขยายผลการสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ รวมทั้งการส่งเสริมให้ส่วนราชการพัฒนาความเป็นเลิศในการให้บริการประชาชน การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนธรรมาภิบาลในระบบราชการแบบยั่งยืน และการวางระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อวัดและประมวลผลระดับธรรมาภิบาลของภาคราชการ
- การปรับปรุงรูปแบบหน่วยงานของรัฐ โดยการเร่งรัดมาตรการทบทวนบทบาทภารกิจของส่วนราชการตามมาตรา 33 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ทั้งการปรับบทบาทหน้าที่ ภารกิจ โครงสร้างและระบบบริหารงานของหน่วยงานของรัฐให้มีความเหมาะสม และมีขีดสมรรถนะสูง การถ่ายโอนงานตรวจสอบและรับรองคุณภาพมาตรฐาน การศึกษาความพร้อมของภาคเอกชนที่จะมารับการถ่ายโอนงานจากภาครัฐ นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. จะผลักดันให้เกิดการสร้างกลไกหรือเครื่องมือที่เป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดบริการสาธารณะ และเสริมสร้างวัฒนธรรมการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนอื่น ๆ ในการบริหารราชการ
ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2013/aug/260.html
Advertisement
เปิดอ่าน 8,103 ครั้ง เปิดอ่าน 2,169 ครั้ง เปิดอ่าน 32,838 ครั้ง เปิดอ่าน 17,092 ครั้ง เปิดอ่าน 13,306 ครั้ง เปิดอ่าน 9,048 ครั้ง เปิดอ่าน 7,835 ครั้ง เปิดอ่าน 22,601 ครั้ง เปิดอ่าน 2,858 ครั้ง เปิดอ่าน 14,108 ครั้ง เปิดอ่าน 10,631 ครั้ง เปิดอ่าน 9,083 ครั้ง เปิดอ่าน 4,183 ครั้ง เปิดอ่าน 22,109 ครั้ง เปิดอ่าน 17,425 ครั้ง เปิดอ่าน 22,296 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,059 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 4,436 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,195 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,526 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 5,074 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,253 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,702 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 32,677 ครั้ง |
เปิดอ่าน 35,139 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,458 ครั้ง |
เปิดอ่าน 107,342 ครั้ง |
เปิดอ่าน 90,624 ครั้ง |
|
|