Advertisement
งามระเด่นเพ็ญฟ้าแสงใสสว่าง
ยลพักตร์นางสีไสวคล้ายนวลแข
ระยิบพราวกระจ่างสร้างดวงแด
สถิตย์แดนแลเลิศล้ำยากกล้ำเกิน
รัชนีกรราตรีแสงแฝงสิ่งหอม
เย้ายวนดอมผกากลิ่นระรินเถิน
ทั้งสูงต่ำน้ำตกแสนเพลิดเพลิน
สุดจะเมินยุรยาตรมาดเรืองรอง
ปทุมมาศผาดผ่องปองสิ่งสล้าง
ใสสดสว่างสร้างเฉิดเลิศสนอง
อรชรอ้อนแอ้นแสนหมายปอง
งามละอองแดนสวรรค์อันวิไล
ในความมืดจืดจางนภาวิจิตร
งามประดิษฐ์นวลนางกลางแขไสว
โชยเนื้อกลิ่นสล้างกลางพฤกษ์ไพร
ยากห่างไกลเสน่ห์ผกาลาวัณย์โปรย
มาดแม้นพิศคิดเพลินจำเริญจิต
ที่สถิตชิดเพียงพบประสบโหย
ดั่งมิแม้นอาจเพียงใกล้ไกลโชย
เสมือนดุจโปรยทิพย์อมฤตวารี
ยิ่งประกายนวลจันทร์ประชันโฉม
แสงเล้าโลมประเทืองเรืองสดสี
ส่องประกายอิงแอบแนบเนื้อทวี
งามโฉมศรีผุดผาดสาดแสงจันทร์
แม้นมิกล้าเข้าใกล้เหมือนใจถวิล
ห้วงวาสินรัญจวนชวนเสกสรร
ผกามาศแนวถิ่นเถินเพลินรำพัน
น้ำตกลั่นเสียงสนานอันออเซาะ
ราตรีนี้เพริศพริ้งจริงล้ำเลิศ
สิ่งเคล้าเกิดภิรมย์อารมณ์เสนาะ
งามยิ่งนักนวลเคียงเสียงไพเราะ
ด้นเลี้ยวเลาะชมนางกลางแสงจันทร์.
เพลง จันทร์เจ้าขา เพ็ญศรี/ชรินทร์
งานเพลง พรานบูรณ์
ภาพ ครูพรานบูรณ์
เพลงนี้บันทึกลงแผ่นเสียงขี้ผึ้งครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2477
ผู้ขับร้อง คือ ประทุม ประทีปเสน(นางเอก)และมณี แพ่งสุภา(พระเอก)
ต่อมาบันทึกเป็นครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2492 โดยประทุม ประทีปเสน(อ่านว่า ประ-ที-ปะ-เสน) และสมชาย ตัณฑ์กำเนิด ต่อมาชรินทร์ นันทนาคร และ เพ็ญศรี พุ่มชูศรี บันทึกไว้เป็นครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2502
ภาพ คุณประทุม ประทีปเสน
เพลงจันทร์เจ้าขา จากละครเพลงเรื่องนี้ มาลัย ชูพินิจ นักหนังสือผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของเมืองไทยในยุคนั้น เขียนชมเชยไว้ว่า ได้รับความนิยมแพร่ไปกว้างไกล แม้กระทั่งในชนบท ป่าเขาที่ห่างไกลเมืองหลวง ก็ยังมีคนนำไปร้องกันอยู่อย่างน่าแปลกใจ
เพลงนี้เป็นเพลงประกอบในละครเพลง ดังนั้น พรานบูรพ์ จึงนำเอาชื่อตัวละคร ตัวเอก ทั้งพระ และนางเอก มาใส่ไว้ในเนื้อเพลงด้วยคือ
“...ชื่นใจ จันทร์เจ้าขา ให้ “เจียม” บอกข้าอีกซ้ำ
ซาบซ่านหวานฉ่ำคำน้องรักพี่
จันทร์เจ้าขา ให้ “จิต” บอกข้า อีกที หวานล้ำฉ่ำทวี คำพี่รักน้อง...”
และเพราะเป็นเพลงประกอบละคร พรานบูรพ์ จึงขึ้นต้นด้วยคำว่า
“เออ น่าอาย น่าขัน จริงนะ จันทร์เจ้าขา” อันเป็นช่วงเวลาที่
พระเอก (จิต) กำลังพรอดรักอยู่กับนางเอก(เจียม)
ท่ามกลางบรรยากาศที่มีพระจันทร์เป็นฉากที่เป็นใจ
และเร้าอารมณ์อย่างยิ่ง แล้วเอาเพลงมาร้องแทน
การเจรจาบอกความในใจ ซึ่งเป็นศิลปะทางการละคร
ที่น่าศึกษาเป็นแบบอย่าง
นอกจากนี้ พรานบูรพ์ ยังใช้คำอุทาน แสดงความแปลกใจ
ตกใจ มาเรียงร้อยไว้ในบทเพลงได้อย่างสอดคล้องลงตัว
ทำให้เกิดความไพเราะมากขึ้น เช่น
“เออ น่าอาย น่าขัน..”
"อุ๊ย ไม่เอ๊า ไม่เอา ดูนั่น จันทร์เจ้าขาคอยมอง”
"อุ๊ย อุ๊ย อย่ามองดิฉัน ซิคะ จันทร์เจ้าขา” สามารถทำให้เห็นภาพ
อากัปกิริยาของคู่พระ คู่นาง ได้เป็นอย่างดี และกลายเป็นวรรคทอง
ของเพลงนี้ไปในที่สุด และยิ่งได้การร้องในแนวเอื้อนแบบละครร้อง เช่น
“เรากระซี้กระซิก ระริกระรื่น ชื่น...ใจ ระริกระรื่นชื่น...ใจ ชื่น...ใจ”
ยิ่งทำให้เพลง จันทร์เจ้าขานี้ เป็นเพลงที่ได้รับความนิยม
มากกว่าเพลงใดในยุคสมัยนั้น
วรรณกรรมบทกลอน...บทเพลง...ที่หาฟังยากเป็นเพลงรักในอดีตจะมีความนิ่มนวลในเสียงดนตรี..
ความนุ่มนวลอ่อนหวานของนักร้องสมัยนั้น..ฟังแล้วจิตใจอ่อนโยน..ผ่อนคลายตามเสียงเพลง...
ขอบคุณที่มาข้อมูลthaipoemforever
|
วันที่ 3 มี.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,318 ครั้ง เปิดอ่าน 7,281 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,204 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,459 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,220 ครั้ง เปิดอ่าน 7,705 ครั้ง เปิดอ่าน 7,276 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,203 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,206 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,396 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,387 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,617 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,888 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,228 ครั้ง |
|
|