Advertisement
1. ไม่มีใครรู้สาเหตุจริง ๆ ของความฝัน
ความฝันดูเหมือนจะเป็นเรื่องพิศวงที่คงต้องค้นหาสาเหตุกันต่อไปไม่รู้จบ เนื่องจากไม่มีใครที่สามารถอธิบายสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เราฝันได้อย่างชัดเจนเลยแม้แต่คนนเดียว แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องการนอนหลับพยายามจะอธิบายสาเหตุของความฝันด้วยการคาดเดาที่ว่า ความฝันเป็นส่วนหนึ่งของจิตใต้สำนึก และเป็นกระบวนการทบทวนเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเราในแต่ละวัน นอกจากนี้เขายังมีความคิดว่า ความฝันเป็นเสมือนกระบวนการช่วยคัดกรองความคิด และจิตใต้สำนึกของคนเรา ซึ่งก็มีหลายคนที่ค้นพบวิธีแก้ปัญหาชีวิตจากความฝันอีกด้วย
2. ความฝันสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งคืน
หลายคนมักจะเข้าใจผิดว่า ความฝันมักจะเกิดในช่วงที่เราเริ่ม ๆ จะเคลิ้มหลับ จนไปถึงระยะหลับลึก หรือช่วงที่เรียกกันว่า การนอนหลับ REM (Rapid Eye Movement) ซึ่งเมื่อตื่นมาเราก็จะสามารถจดจำเรื่องราวที่ฝันได้อย่างชัดเจนมากที่สุด และส่วนมากมักจะเป็นความฝันที่ไม่เป็นเรื่องราวสักเท่าไร เช่น ฝันว่าได้กระโดดออกจากเครื่องบิน และเหาะเหินเดินโอกาสได้ เป็นต้น แต่ฝันในช่วง 3 ใน 4 ของการนอนหลับ มักจะเป็นเรื่องที่มาจากจิตใต้สำนึก และมีความเป็นจริงผสมรวมอยู่ด้วย
3. คุณจะสามารถจำความฝันได้ก็ต่อเมื่อสะดุ้งตื่น
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาได้กล่าวว่า เราจะสามารถจำเรื่องราวในความฝันได้ก็ต่อเมื่อเราสะดุ้งตื่นขึ้นมาในระหว่างการนอนหลับและฝัน แต่ถ้าคุณหลับฝันไปเรื่อย ๆ ไม่มีการสะดุ้งตื่น ความฝันเหล่านั้นจะถูกกลืนหายไปในที่สุด พอตื่นขึ้นมาเราก็ลืมเรื่องที่ฝันไปนั่นเอง
4. อาหารรสจัดจะทำให้เราจำความฝันได้มากขึ้น
เมื่อเรารับประทานอาหารรสจัด เราจะนอนหลับได้ไม่สนิทเท่าที่ควร ดังนั้นหากเราฝัน เราก็จะมีโอกาสสะดุ้งตื่นได้มากขึ้น ทำให้สามารถจดจำความฝันได้ แต่ถ้ารับประทานอิ่มจัด จิตแพทย์ก็อธิบายว่า เราจะจดจำความฝันได้แวบ ๆ เหมือนการเรียกคืนความทรงจำมากกว่า เพราะเมื่อร่างกายได้รับสารอาหารอย่างพอเพียง ก็จะทำให้หลับลึก แต่ถ้าอิ่มเกินไป ก็อาจจะสะดุ้งตื่นช่วงสั้น ๆ บ้าง แต่ถ้าหากสะดุ้งตื่นไม่ถึง 2 นาที ก็อาจจะจำความฝันไม่ได้ เนื่องจากสมองของเราไม่สามารถดึงความทรงจำในระยะสั้น ๆ ออกมาจากความทรงจำระยะยาวในสมองได้
5. เราสามารถเปลี่ยนแปลงความฝันได้
นักจิตวิทยากล่าวว่า คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงฝันร้ายของตัวเองได้ โดยการเขียนเรื่องราวขึ้นมาใหม่ คล้าย ๆ การสะกดจิตตัวเอง ด้วยการบอกกับตัวเองตอนสะดุ้งตื่นจากฝันร้ายว่า เรื่องน่ากลัวที่เพิ่งเจอมานั้นเป็นเพียงแค่ความฝัน และหลังจากที่ปลอบใจตัวเองเสร็จแล้วก็จะนอนหลับต่อ ซึ่งระยะเวลาที่นอนหลับต่อจากนี้ จิตใต้สำนึกก็จะสั่งให้สมองดึงความทรงจำของฝันร้ายก่อนหน้านี้มาเรียบเรียงเรื่องราวใหม่ ซึ่งก็มีคนไข้หลายคนที่เคยผ่านประสบการณ์นี้ เป็นต้นว่าฝันว่าตัวเองตกลงไปในทะเลที่มีฉลามว่ายวนอยู่มากมาย และเขาก็สะดุ้งตื่น แต่พอหลับต่อก็กลับไปฝันคล้าย ๆ เรื่องเดิม แต่เปลี่ยนจากปลาฉลามเป็นปลาวาฬสุดน่ารักแทน
6. สมองของเราทำงานหนักตลอดแม้กระทั่งตอนหลับและฝัน
ในช่วงการนอนหลับแบบ REM ไม่ใช่ช่วงเวลาที่สมองจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ แต่เป็นช่วงเวลาที่สมองจะถูกกระตุ้นให้ทำงานหนักอย่างคาดไม่ถึงด้วยจินตนาการของความฝัน ซึ่งก็จะทำให้เราฝันไร้สาระในเวลาต่อมา เพราะเมื่อเราหลับ สมองก็จะทำงานผ่านภาพความฝัน พอสะดุ้งตื่น สมองก็ต้องประมวลเหตุการณ์และคัดกรองความฝันและความจริงออกจากกัน และเมื่อร่างกายหลับต่อ สมองก็จะทำงานผ่านภาพความฝันอีกรอบนั่นเอง
7. ไม่ง่ายที่สมองจะแยกแยะระหว่างความฝันกับความจริง
หลายครั้งที่ความรู้สึกของเราก้ำกึ่งระหว่างความฝันกับความจริง ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ได้อธิบายว่า สมองของเราจะเรียงลำดับความคิดเหมือนสเกลตาชั่ง ที่จะนับถอยหลังเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะตื่นในเช้าวันรุ่งขึ้น แต่ถ้าหากมีความฝันเกิดขึ้น ก็จะขัดจังหวะการเรียบเรียงข้อมูลของสมอง จึงอาจจะทำให้เราสับสนระหว่างความจริงกับความฝันในชั่วขณะเมื่อรู้สึกตัวตื่นใหม่ ๆ แต่พอตั้งสติดี ๆ หรือตื่นเต็มตา สมองก็จะสามารถแยกแยะข้อมูลได้เอง
8. ความฝันช่วยให้กระตุ้นระบบความจำ
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ได้ทดสอบนักเรียนจำนวนหนึ่งให้จดจำเส้นทางผ่านระบบ 3D และให้งีบหลับประมาณ 90 นาที พร้อม ๆ กับกลุ่มนักเรียนที่ไม่ได้จดจำเส้นทางผ่านระบบ 3D และพบว่า กลุ่มที่หลับไปทั้ง ๆ ที่หูยังได้ยินเสียงบรรยายอยู่ จะสามารถจดจำเส้นทางได้ดีกว่ากลุ่มนักเรียนที่งีบหลับแบบไร้เสียงรบกวน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ได้อธิบายว่า ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะสมองของคนเรามีความสามารถในการจดจำเรื่องราวที่เป็นรูปภาพได้ดีมากกว่าเรื่องราวในแบบอื่นนั่นเองค่ะ
9. ความฝันไม่สามารถทำนายอนาคตได้
เมื่อเราฝันดี ก็เป็นธรรมดาที่เราอยากจะให้ฝันเป็นจริง แต่ในความเป็นจริงก็เป็นไปได้ยาก โดยจิตแพทย์ก็อธิบายเพิ่มเติมว่า โดยปกติแล้วที่เราฝันดี ก็เกิดจากความต้องการลึก ๆ ภายในใจ สั่งให้จิตสำนึกและสมองจินตนาการเป็นภาพฝัน ซึ่งทำให้ความฝันมีเค้าโครงเรื่องราวของความจริงผสมอยู่ด้วย และพอตื่นขึ้นมาเราก็อยากจะให้ความเป็นจริงที่เราปรารถนานั้นกลายเป็นปาฏิหารย์ดั่งความฝันต่างหาก
10. เรามักจะฝันถึงเรื่องที่ไม่สามารถเป็นจริงได้
ซิกมันด์ ฟรอยด์ จิตแพทย์ชาวเยอรมัน ผู้เป็นบิดาแห่งจิตวิทยา เชื่อว่า ความฝันเป็นความปรารถนาลึก ๆ ภายในจิตใจของมนุษย์ มักจะเกิดขึ้นเป็นเรื่องราวที่คนเราอยากจะทำเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถทำได้ เช่น เรื่องความรุนแรงทางเพศ หรือการคุกคามทางเพศ เป็นต้น ดังนั้น จิตใต้สำนึกจึงเก็บรวบรวมความปรารถนาเหล่านี้เอาไว้ และแสดงออกมาในรูปแแบบของจินตนาการในความฝันขณะนอนหลับแทน
ขอบคุณที่มาจาก กระปุก.คอม
Advertisement
เปิดอ่าน 14,001 ครั้ง เปิดอ่าน 11,298 ครั้ง เปิดอ่าน 55,413 ครั้ง เปิดอ่าน 56,187 ครั้ง เปิดอ่าน 16,225 ครั้ง เปิดอ่าน 11,801 ครั้ง เปิดอ่าน 15,943 ครั้ง เปิดอ่าน 11,606 ครั้ง เปิดอ่าน 14,753 ครั้ง เปิดอ่าน 17,986 ครั้ง เปิดอ่าน 45,848 ครั้ง เปิดอ่าน 50,070 ครั้ง เปิดอ่าน 20,572 ครั้ง เปิดอ่าน 11,966 ครั้ง เปิดอ่าน 13,966 ครั้ง เปิดอ่าน 10,348 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 13,538 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 64,465 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,772 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 10,379 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 41,707 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,865 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,332 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 29,934 ครั้ง |
เปิดอ่าน 26,030 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,091 ครั้ง |
เปิดอ่าน 69,689 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,050 ครั้ง |
|
|