มารยาท Etiquette หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกทางกริยา วาจา ที่สังคมยอมรับว่าถูกต้อง ดีงาม
การสมาคม คือการรวมกันของกลุ่มของคนตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไปที่มาร่วมกิจกรรมเดียวกัน เช่นการประชุม ร่วมเล่นกีฬาฯ
การแนะนำให้รู้จักกัน เหตุผลที่ถือสมควรให้รู้จักกัน
- เพราะทั้งสองฝ่ายต่างรู้สึกพอใจที่จะรู้จักกัน
- ทั้งสองฝ่ายต่างปรารถนาที่จะรู้จักกัน
- ทั้งสองฝ่ายต่างมีนิสัยที่พอจะเป็นมิตรกันได้
- รู้จักกันแล้วต่างฝ่ายต่างเป็นประโยชน์แก่กัน
หลักปฏิบัติในการแนะนำ
- รีบแนะนำโดยไม่ต้องลังเลใจ
- พาชายไปแนะนำให้รู้จักกับหญิง
- พาผู้ที่มีอาวุโสน้อยกว่าไปรู้จักกับผู้ที่มีอาวุโสมาก
- พาหญิงโสดไปรู้จักกับหญิงที่แต่งงานแล้ว
- บางกรณีอาจต้องพาหญิงไปรู้จักกับชาย
- ชายเป็นภิกษุ สามเณร นักบวช
- ชายเป็นญาติผู้ใหญ่
- ชายที่มียศสูงกว่าหญิง
- ถ้าแนะนำคนคนเดียวให้รู้จักกับคนหลายคนต้องแนะนำคนที่อยู่ใกล้ก่อนไปตามลำดับ
- ต้องแนะนำผู้ที่มาทีหลังต่อผู้ที่มาก่อน
- อย่าแนะนำกันเป็นหมู่ เพราะไม่ช่วยให้แขกรู้จักกันดี
การใช้บัตรเชิญชนิดต่างๆ หลักการเขียนบัตรเชิญ
- ถ้าเป็นงานมงคลสมรสนิยมพิมพ์ด้วยกระดาษสีขาวหรือสีชมพูใหญ่
- ตัวอักษรนิยมพิมพ์ด้วยตัวสีทอง เขียว หรือ ชมพู
- ถ้าเป็นงานอวมงคล จะใช้กระดาษสีขาว ตัวอักษรสีดำ
- ชื่อผู้พิมพ์ใช้อักษรตัวใหญ่ โดยมีหลักการดังนี้
- ถ้าเป็นทางการให้บอกชื่อหน่วยงาน
- ถ้าเป็นส่วนตัวให้ประกาศชื่อ สกุล
- ถ้าเชิญในหน้าที่การงานให้บอกชื่อ สกุลตำแหน่ง
- ชื่อผู้รับเชิญไม่มีในบัตรเชิญ แต่จะมีที่จ่าหน้าซอง
- ต้องบอกให้ทราบเนื่องในพิธีใด สถานที่ประกอบพิธี ระบุให้ชัดเจน บอกวัน เดือน ปี และเวลาในการประกอบพิธีให้ละเอียด
- ถ้าบุรุษหรือสตรีที่สมรสแล้วต้องเชิญทั้งสามีภรรยา ไม่ควรเชิญคนเดียว
- สุภาพสตรีที่ยังไม่สมรสอยู่กับบิดา มารดา หรือญาติ ก็ควรเชิญเรียงตัว
- ถ้าสามี ภรรยา อยู่ด้วยกันอย่างไม่เปิดเผย ควรแยกบัตรเชิญคนละฉบับ
- ถ้ากำหนดการแต่งกาย ให้พิมพ์ตัวเล็กไว้มุมล่างของบัตร
การใช้โทรศัพท์ การพูดโทรศัพท์ควรปฏิบัติดังนี้
- เมื่อรับโทรศัพท์หรือเราเป็นฝ่ายเรียกไป ควรกล่าวด้วยคำว่า “สวัสดี” ทุกครั้ง
- บอกชื่อสถานที่ หรือหน่วยงานของเราทันทีโดยไม่ต้องรอให้ฝ่ายหนึ่งถาม
- บอกชื่อของเราทันทีที่รับโทรศัพท์ ถ้ารับโทรศัพท์แทนผู้อื่นควรจดข้อความของบุคคลที่โทรศัพท์เข้ามา
- ถ้าเราเป็นฝ่ายเรียกไปโดยมิได้เจาะจงจะพูดกับผู้หนึ่งผู้ใด ควรแจ้งนามของเราให้เขาทราบด้วยว่ากำลังพูดอยู่กับใคร
มารยาทในการพูดโทรศัพท์
- น้ำเสียงที่สุภาพน่าฟัง
- น้ำเสียงน่าสนใจกระตือรือร้น
- น้ำเสียงแสดงความจริงใจ
การประชุม
การประชุมคือ การมารวมกันเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อทราบข้อมูล ปัญหา แนวทางแก้ไข และสรุปหัวข้อยุติต่างๆ ในการประชุมแต่ละครั้ง จะต้องประกอบไปด้วย
- ประธานในที่ประชุม ฃ
- ผู้เข้าร่วมประชุม
- เลขานุการการประชุม
มารยาทในการประชุม
- ตรงต่อเวลา
- ศึกษาหัวข้อการประชุมเตรียมรายละเอียดเพื่อการประชุม
- พฤติกรรมที่แสดงออกต้องสุภาพ
- ให้เกียรติประธานในที่ประชุม
- ต้องขออนุญาตพูดโดยยกมือขึ้นเหนือศรีษะเสมอ
- พยายามหลีกเลี่ยงการพูดตำหนิ
- หากประสงค์จะคัดค้านให้ถือหลักว่าไม่ให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย
- หากที่ประชุมมีมติอย่างใดอย่างหนึ่งต้องให้เกียรติที่ประชุมและปฏิบัติตาม
- ไม่นำรายละเอียดการอภิปรายซึ่งเป็นการพิจารณาจากที่ประชุมไปแสดงภายนอกในลักษณะไม่เห็นด้วย
- ถ้าที่ประชุมมีมติเป็นอย่างใดโดยมารยาทแล้วต้องยอมรับตามนั้น
- พูดหรือแสดงความคิดเห็นเพื่อช่วยให้ที่ประชุมหาทางออกและช่วยให้ได้มติตามวัตถุประสงค์
- รักษาความลับของที่ประชุมและสิ่งที่พิจารณากันในที่ประชุม
- ไม่นำโทรศัพท์มือถือเข้าไปในที่ประชุม ถ้าเอาเข้าไปต้องปิด
การเยี่ยมเยียน
แบ่งออกได้หลายประเภทคือ
- การเยี่ยมคำนับ นิยมทำกับผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ที่สูงศักดิ์ ฯลฯ
- การเยี่ยมตอบ ตามมารยาท เมื่อผู้ใดได้รับการเยี่ยมผู้นั้นต้องหาโอกาสไปเยี่ยมเขาตอบ
- การเยี่ยมเยียน ถือเป็นมารยาทกระชับความสัมพันธ์
- การเยี่ยมเพื่อแสดงความยินดี ควรเยี่ยมให้ทันเวลาที่ควรแสดงความยินดี
- การเยี่ยมผู้ตกทุกข์ได้ยาก ควรไปให้กำลังใจเขาและช่วยคลี่คลายความทุกข์ให้ทุเลาลง
- การเยี่ยมไข้ ควรไปตรงเวลาที่โรงพยาบาลกำหนด อย่าแสดงสีหน้าทุกข์โศก อย่าสูบบุหรี่ แต่งกายให้สุภาพฯลฯ
- การเยี่ยมศพ เมื่อทราบข่าวควรรีบไปแสดงความเสียใจ ไม่ควรอยู่นาน ไม่พูดจาให้ญาติเศร้าโศก ไม่พูดตลก คะนอง
ศิลปการสนทนา
- ต้องรู้จักกาลเทศะ ไม่นำเรื่องส่วนตัวมาพูดฝ่ายเดียว ต้องเรียนรู้ผู้สนทนาว่าเป็นคนอย่างไร อย่าพูดโอ้อวดตนเอง ควรพูดจาให้สุภาพ
- ไม่นินทาคนอื่น มีความจริงใจกับคู่สนทนา สบตาคู่สนทนา ควรสนทนาในสิ่งที่คู่สนทนารู้เรื่อง ฯลฯ
- มารยาทของผู้ร่วมสนทนา ไม่พูดขัดคอคู่สนทนา ตั้งใจฟังคู่สนทนาด้วย อย่าล้วงแคะแกะเกา ถ้าตอนใดที่เราทำไม่ถูกก็ควรกล่าวคำขอโทษ
การเลี้ยงอาหารแบบสากล
มารยาทในการรับประทานอาหารจีน อย่ายกอาหารขึ้นจรดปาก แล้วอย่าใช้ตะเกียบฟุ้ยอาหารจากชามใส่ปากเป็นการเสียมารยาท ควรใช้ตะเกียบคีบอาหารใส่ปาก แล้วใช้ช้อนกลางตักอาหารใส่จานของตนเอง เศษอาหารให้ใช้กระดาษเช็ดปากห่อวางไว้ข้างถ้วย
การเลี้ยงอาหารแบบตะวันตกหรือฝรั่ง การรับประทานอาหารสากลแบบนั่งโต๊ะ มีดังนี้
- อาหารเช้า (Breakfast) ไม่ค่อยนิยมเลี้ยงมากนักเพราะอาหารเริ่ม 7.00 - 9.00 น. ถ้าเลี้ยงมักเป็นการเลี้ยงแบบกันเองเป็นการเลี้ยงแบบไม่เป็นพิธีรีตองอาหารเช้ามี 2 อย่างคือ
- 1.1 เป็นการเลี้ยงกาแฟ ขนมปัง ผลไม้ (ไม่มีเนื้อสัตว์)
- 1.2 เป็นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เพิ่มมาด้วย
- อาหารกลางวัน การรับประทานอาหารกลางวันเริ่ม 12.00 -13.00 น. ไม่มีพิธีมากนัก ส่วนใหญ่ไม่พิมพ์บัตรเชิญ อาหารกลางวันแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น
- ก. อาหารจานเดียว (One courses) เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่นหมู เนื้อ ไก่
- ข. อาหารประเภท 2 จาน (Two courses) จานแรกเป็นซุป หรืออาหารเบาๆเช่นคอ็กเทลต่างๆ มีสลัดผักเป็นส่วนประกอบ
- ค. อาหารประเภท 3จาน(Three courses) จานแรกเป็นซุป จานที่สองเป็นกุ้ง ปู ปลา จานที่สามเป็นอาหารหนักและสลัด
- ง. อาหารกลางวันแบบบุฟเฟ่ เป็นการจัดแบบกันเอง เหมาะสำหรับคนจำนวนมากๆ อาหารต่างๆจะมีอย่างเพียงพอ ทั้งคาวและหวานบนโต๊ะยาว ให้แขกบริการตนเองตามความพอใจ การตักควรเรียงตามลำดับก่อนหลังสุภาพบุรุษควรให้เกียรติสุภาพสตรีตักอาหารก่อน
มารยาทในการรับประทานอาหารบุฟเฟ่
- รับประทานซุบให้ตักออกจากตัว ศรีษะก้มเล็กน้อย แล้วเทซุปออกทางด้านข้าง
- อาหารประเภทเนื้อสัตว์ให้ใช้มีดกับส้อม
- การหยิบแก้วเหล้าให้หยิบแก้วที่อยู่ห่างตัว
มารยาทอื่นๆ
การนัดพบ
- พยายามให้ตรงเวลานัดพอดี จะก่อนเวลาเท่าไหร่ยิ่งดี
- ถ้ามีเหตุจำเป็นไม่สามารถไปได้ทันเวลา ก็อย่าช้าเกินกว่า 15 นาที
- ถ้าไปตามนัดไม่ได้จริงๆ ควรแจ้งให้เขาทราบล่วงหน้า
- ถ้าท่านเป็นฝ่ายรอบุคคลอื่น จงอย่าให้เขารอเกินกว่า 15 นาที
- ปัจจุบันมีโทรศัพท์ติดตามตัว การนัดหมาย แบบยืนยันค่อนข้างจะสะดวกจะใช้เครื่องมือสื่อสารที่ท่านใช้อยู่ให้เกิดประโยชน์
การยืมหนังสือ
- จงปฏิบัติต่อสิ่งที่ท่านยืมมานั้นประหนึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พลิกอ่านแต่ละหน้าด้วยความระมัดระวัง
- เมื่ออ่านจบอย่าค้างไว้นาน รีบนำคืนเจ้าของ
- อย่าพับหนังสือในหน้าที่ท่านอ่านค้างไว้ จงใช้ที่คั่นหนังสือคั่นไว้