Advertisement
'' โรคช๊อกโกแลตซีส ''โรคของผู้หญิงยุคใหม่ ''
ผู้หญิงหลายท่านอาจเกิดอาการปวดท้องเวลาเป็นประจำเดือน เพราะ
prostaglandin ที่หลั่งออกมาในช่วงเป็นรอบเดือน นอกจากปวดท้องแล้วก็อาจจะมีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อา้เจียน
Prostaglandin : สารชนิดหนึ่งในร่างกายซึ่งคล้ายฮอร์โมน คือ ต้นเหตุที่ทำให้ปวดท้องขณะมีประจำเดือน และ เป็นสารชนิดที่ทำให้ผู้หญิงเราเกิดอาการปวดท้องตอนจะคลอดลูก... สารนี้จะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกหดตัว เพื่อช่วยให้ร่างกายขับประจำเดือนออกมา.....
บางท่านอาจเริ่มวิตกกังวลถึงโรคภัยที่ผู้หญิงมักจะกลัว ไม่ว่าจะเป็น เนื้องอก มะเร็ง ผังผืด ที่อาจพบในระบบสืนพันธุ์
โรคช๊อกโกแลตซีส (chocolate cyst : one having dark, syrupy contents, resulting from collection of hemosiderin following local)
1. คำจำกัดความของโรคช๊อกโกแลตซีส
ช๊อกโกแลตซีส หมายถึง ''ถุงน้ำที่มีสารของเหลวสีคล้ายกับช๊อกโกแลตอยู่ภายใน'' ความรุนแรงมากพอสมควร
--การเรียกตามลักษณะที่เห็นความจริงแล้ว คำเต็มก็คือ..... ''โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือ เอ็นโดเมทริโอซิส ''
ปกติตัวเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูก ควรจะอยู่เฉพาะภายในโพรงมดลูกเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่ตัวเยื่อบุโพรงมดลูกนี้กระจายออกนอกตัวโพรงมดลูกไปเกาะอยู่ที่ใดก็ตามก็จะเป็นโรคของตำแหน่งนั้นเกิดขึ้น
2. ในปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มากน้อยแค่ไหน โรคนี้พบได้บ่อยขึ้นอยู่กับอายุของผู้ป่วย
--เราจะพบมากที่สุดก็คือ พบได้ 10- 20% ในกลุ่มของผู้ที่อยู่ในวัยที่มีประจำเดือน
--กลุ่มคนลูกยากจะเป็น 30-45% คำว่าผู้ป่วยที่มีลูกยากก็คือ คู่สมรสที่แต่งงานเกิน 1 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้เอง
3. กลไกที่ก่อให้เกิดโรค ---ปัจจุบันนี้เรายังไม่ทราบกลไกที่ทำให้เกิดโรคที่แท้จริง แต่มีทฤษฎีหนึ่งที่เชื่อถือคือ ทฤษฎีของแซมซัน จะมีเลือดประจำเดือนส่วนน้อยส่วนหนึ่งไหลกลับเข้าไปในช่องท้อง โดยผ่านท่อรังนำไข่ เลือดประจำเดือนที่ไหลเข้าสู่ช่องท้องก็จะนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกไปด้วย แต่ตำแหน่งของเซลล์นี้ถ้าไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนก็จะทำให้เกิดโรคนี้ขึ้นในอวัยวะนั้น ส่วนมากเราจะพบมากในบริเวณรังไข่
4. นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคอีกหรือไม่
ผู้หญิงปกติทุกคนจะมีการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือน แต่บางคนเป็นโรค, บางคนไม่เป็นโรคขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยง คือ
4.1 มีประวัติครอบครัว โดยเฉพาะทางมารดาหรือว่าพี่สาว, น้องสาวของผู้ป่วย ถ้าเกิดเป็นโรคนี้ตัวผู้ป่วยจะมีโอกาสเป็นโรคที่สูงขึ้นมากกว่าคนทั่วไป 3-10 เท่า
4.2 กลุ่มผู้ป่วยที่มีการทำงานของรังไข่นาน ๆ รังไข่ทำงานนานในกรณีที่เริ่มมีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อยหรือประจำเดือนรอบสั้น เดือนหนึ่งมีมากกว่า 2 ครั้ง หรือออกมากหรือออกนานมากกว่า 7 วัน
4.3 กลุ่มที่มีความผิดปกติโดยกำเนิด ของทางออกของประจำเดือน กรณีนี้เราจะเจอได้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเยื่อพรหมจารีปิด
5. ปัจจัยลดความเสี่ยงของโรคอยู่ 3 ปัจจัย คือ
5.1 การตั้งครรภ์ ผู้หญิงที่มีการตั้งครรภ์หลายครั้งโอกาสเป็นโรคก็จะน้อยลง การตั้งครรภ์ผู้หญิงจะไม่มีภาวะของการมีประจำเดือนไปเป็นเวลา 9-10 เดือน หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ซึ่งยาคุมกำเนิดจะมีฮอร์โมนที่มีชื่อว่า โปเตสเซอโรน
5.2 การออกกำลังกายมาก ๆ โดยเฉพาะการออกกำลังตั้งแต่วัยรุ่นจะต้องออกกำลังกายมากกว่าสัปดาห์ละ 7 ชม. อันนี้จะเป็นการลดฮอร์โมนเอสโตเจน เป็นผลทำให้เกิดโรคน้อยลง
5.3 การสูบบุหรี่ จะทำให้เกิดเอสโตนเจนน้อยลง โอกาสการเกิดโรคก็จะน้อยลง แต่ที่กล่าวมาก็ไม่ ได้หมายความว่าจะสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนต้องสูบบุหรี่
6. ลักษณะอาการผิดปกติเบื้องต้นเป็นอย่างไร
6.1 คนไข้จะมีอาการปวดประจำเดือนทุกเดือน แต่อาการปวดประจำเดือนก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นโรคนี้ ซึ่งลักษณะอาการปวด คือ มีอาการปวดอย่างรุนแรงและจะปวดมากขึ้นมากขึ้นทุกเดือน เป็นอย่างนี้มากขึ้นไปเรื่อย ๆ
6.2 มีอาการเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
6.3 ผู้ป่วยจะมีบุตรยาก
ึ7. เราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้หรือไม่
อาศัยจากประวัติก่อนทำการตรวจร่างกายคนไข้ และจะมีการช่วยวินิจฉัยหลายอย่าง เช่น ....การทำอัลตราซาวด์ ส่องกล้อง ตรวจภายในอุ้งเชิงกราน การเจาะเลือดตรวจทูเมอร์ ....
---การวินิจฉัยโรค ถ้าเกินเราอัลตราซาวด์แล้วเราเห็นก้อนชัด ๆ ก็จะสามารถบอกได้ทันที แต่ในกลุ่มที่คนไข้ที่มีผลการตรวจคนไข้ไม่ชัดเจน กลุ่มนี้เรามักจะต้องใช้วิธีส่องกล้องตรวจภายในอุ้งเชิงกราน
8. วิธีการรักษาในปัจจุบัน
วิธีการรักษาในปัจจุบันมีหลายแบบ
1. การใช้ยา 2. การผ่าตัด 3. ใช้ยาร่วมกับการผ่าตัด
จะคำนึงถึงอาการของผู้ป่วย ความต้องการในการมีลูกและความรุนแรงของอาการ
---การใช้ยารักษา มีอยู่ 2 กลุ่ม ....แพทย์จะต้องให้คนไข้อยู่ในภาวะไม่มีประจำเดือน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือนเข้าไปในช่องท้อง เป็นยาที่ทำให้คนไข้หมดประจำเดือน ---เหมือนคนในวัยทอง ---หรือเหมือนหญิงตั้งครรภ์
---ส่วนการผ่าตัด จะใช้ในกรณีที่ตัวโรครุนแรง
ชนิดที่ 1 การผ่าตัดออกหมด ผลการผ่าตัดทำให้คนไข้หายจากโรค แต่คนไข้ก็จะไม่สามารถมีบุตรได้อีก
ชนิดที่ 2 ก็คือ การผ่าตัดเพื่อเอาตำแหน่งของพยาธิสภาพออก ข้อดีของการผ่าตัดนี้ก็คือ ผู้ป่วยสามารถมีบุตรได้อีก แต่ข้อเสียก็คือ ตัวโรคสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้อีก
9. ผลจากการใช้ยาที่ทำให้คนไข้หมดประจำเดือน จะมีผลแทรกซ้อนอย่างไรเกิดขึ้นบ้าง
---หลักการจะทำให้คนไข้ไม่มีประจำเดือนประมาณ 6-9 เดือน จริง ๆ เป็นระยะที่สั้น ถ้าใช้ยาทำให้ไม่มีประจำเดือนเหมือนวัยทอง ...จะมีอาการหงุดหงิด ชาปลายมือ ปลายเท้า
10. จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีกหรือไม่ --- ในกรณีที่เราผ่าตัดเอาเฉพาะพยาธิสภาพออก โดยที่เก็บตัวมดลูกและรังไข่ไว้คนไข้ ก็จะมีโอกาสกลับเป็นซ้ำอีก
11. อันตรายของโรคนี้มากน้อยแค่ไหน ---ในกรณีที่เป็นมาก ๆ คนไข้ก็จะมีพังพืดเกิดขึ้นในอุ้งเชิงกราน ผังพืดที่เกิดขึ้นมีการรัดอวัยวะที่สำคัญหลายอย่าง เพราะฉะนั้นการผ่าตัดจำเป็นต้องอาศัยฝีมือขอศัลยแพทย์ที่ดี
---พอประจำเดือนมาครั้งต่อไป ตัวโรคก็จะโตขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างนั้นหากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ก้อนช๊อกโกแลตซีสเกิดแตก สารของเหลวที่อยู่ภายในก็จะออกมากระตุ้นเยื่อบุช่องท้อง ทำให้คนไข้มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน
12. การป้องกันควรทำอย่างไร 12.1 เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของเลือดประจำเดือน ก็ควรจะหลีกเลี่ยงการตรวจภายใน หรือ มีเพศสัมพันธ์ขณะที่มีประจำเดือน
12.2 ในหญิงกลุ่มที่มีอัตราเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ เราอาจพิจารณณาให้การป้องกันด้วยการกินยาคุมกำเนิด เริ่มตั้งแต่วัยเริ่มมีประจำเดือนและหยุดยาต่อเมื่อมีบุตร
12.3 ขอแนะนำให้ผู้หญิงที่แต่งงาน ตั้งครรภ์เร็ว ๆ
13. ข้อแนะนำ
ท่านที่มีอาการผิดปกติดังกล่าว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่มีบุตรยาก ถ้าเกิดไม่แน่ใจในอาการควรจะได้รับการปรึกษาและการตรวจจากแพทย์โดยเร็ว
สามารถหาอ่านเพิ่มเติมได้จากหลายแหล่งดังนี้
จาก forward mail ในหลายเว็ปจะมีข้อมูลเดียวกัน เช่น http://www.thaihealth.info/health41.htm
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สมชาย สุวจนกรณ์แพทย์ จากภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวช วิทยาคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตอบไว้หลายประเด็น
1. ทำไมหญิงยุคใหม่เป็นโรคนี้กันมากขึ้น ?
---"ถ้าดูในเรื่องงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตผิดที่พบว่า ถ้านำผู้หญิง 100 คนมาทำการส่องกล้องเข้าไปดูในขณะที่มีประจำเดือน ผู้หญิงเกือบทั้ง 100 คน จะมีภาวะลือดระดูไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องท้องทุกคน"
2. ทำไมบางคนเกิดอาการเป็นถุงน้ำซึ่งทำให้ เกิดความเจ็บปวดมากมาย แต่บางคนไม่เป็น ? ---คนไข้กลุ่มที่เป็นถุงน้ำมักจะมีปัญหาในเรื่องภูมิคุ้มกันบางอย่างบกพร่องซึ่งไม่สามารถจะทำลายเยื่อบุโพรงมดลูกที่เติบโตผิดที่นี้ได้ ในขณะที่ผู้หญิงปกติทั่วไปจะมีภูมิคุ้มกันซึ่งสามารถทำลายเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญเติบโตผิดที่ได้ "ส่วนที่ดูเหมือนกับว่าผู้หญิงในปัจจุบันเป็นโรคนี้กันมาก ก็เพราะความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยี
3. อาการที่น่าสงสัยว่า จะเป็นถุงน้ำช็อกโกแลตเกี่ยวกับเรื่องเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ --- ผู้หญิงที่เป็นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่ จะมีอาการปวดท้องมากเวลาที่มีประจำเดือน
"การที่จะแยกว่าอาการปวดท้องเมื่อมีประจำเดือนจะเป็นอาการที่บ่งบอกว่าสิ่งแรกท ี่ต้องคำนึงถึงคือ เรื่องอายุ นั่นคือถ้าอายุยังไม่มาก แล้วปวดท้องเวลาที่มีประจำเดือน ส่วนใหญ่จะเป็นอาการปวดท้องธรรมดา แต่กรณีที่ไม่เคยปวดประจำเดือนมาก่อน พออายุ 30 ปีขึ้นไปอยู่ๆ ก็มีอาการปวดประจำเดือนขึ้นมา และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือนที่ผ่านไป อาการดังกล่าวค่อนข้างบ่งชี้ว่าน่าจะเป็น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่"
4. ถุงน้ำช็อกโกแลตเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ ?
--ผู้หญิงหลายคนที่เป็นโรคถุงน้ำช็อกโกแลตได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดเอาถุงน้ำออกและหลายๆกรณีแพทย์บางคนผ่าตัดเอามดลูกและรังไข่ออกไปด้วยในคราวเดียวกันด้วย
วันที่ 1 มี.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,292 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,186 ครั้ง เปิดอ่าน 7,310 ครั้ง เปิดอ่าน 7,573 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,682 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 25,260 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,486 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,239 ครั้ง |
เปิดอ่าน 41,805 ครั้ง |
เปิดอ่าน 49,491 ครั้ง |
|
|