ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

1 ทศวรรษ สพฐ.


ข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการ 9 ก.ค. 2556 เวลา 09:23 น. เปิดอ่าน : 6,687 ครั้ง
Advertisement

1 ทศวรรษ สพฐ.

Advertisement

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาวิชาการ "1 ทศวรรษ สพฐ." โดยมีนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.พวงเพ็ชร ชุนละเอียด ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายไพฑูรย์ จัยสิน อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานคนแรก นางพรนิภา ลิมปพยอม อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งผู้บริหารจากเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เข้าร่วมงานกว่า 300 คน เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2556

รมว.ศธ.กล่าวเปิดงานในครั้งนี้ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นหน่วยงานหลักของ ศธ.ในการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เด็กและเยาวชนวัยเรียน ซึ่งดำเนินการมาเป็นเวลา 10 ปีนับตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ทั้งด้านความเสมอภาค สิทธิและโอกาสในการเข้ารับการศึกษา ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพที่ครอบคลุมเด็กทุกกลุ่มเป้าหมายทุกประเภท ไม่ว่าเป็นเด็กในพื้นที่ปกติ พื้นที่ในท้องถิ่นทุรกันดาร หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา รวมไปถึงการส่งเสริมศักยภาพการแข่งขันในประชาคมโลก

จากจุดเริ่มต้นจวบจนปัจจุบัน ผลงานที่ปรากฏต่อสาธารณชน ย่อมแสดงให้เห็นบทบาทสำคัญยิ่งของภารกิจในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของประชากรไทยเพื่อความมั่นคงยั่งยืนและความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติในอนาคต ซึ่งการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องมองไปข้างหน้า ต้องคำนึงถึงการเป็นแนวทางสำคัญที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกอย่างเต็มภาคภูมิ ดังนี้

• การให้การศึกษาแก่เด็กและเยาวชน นำพาประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนด้วยความมั่นใจ และให้ประเทศไทยเป็นแนวหน้าในประชาคมอาเซียน

• การส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและการใช้เครื่องมือสื่อสารได้อย่างเข้มแข็งทั้งในด้านการศึกษาและการติดต่อธุรกิจ

• การปฏิรูปหลักสูตรให้ตอบสนองกับความต้องการของผู้เรียน สอดคล้องกับบริบทของสังคม ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการก้าวหน้าของโลกยุคปัจจุบัน

• การพัฒนาครูด้วยการเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เท่าทันกับโลกเทคโนโลยี ซึ่งขณะนี้เจริญรุดหน้าไปมาก เด็กและเยาวชนสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ทำอย่างไรครูจะได้รับการพัฒนาศักยภาพและปรับเปลี่ยนตามที่ได้รับการพัฒนาทุกด้านอย่างแท้จริง

ภาพการดำเนินงานของ สพฐ.จึงสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับนโยบายและผู้ปฏิบัติในพื้นที่ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อเป้าหมายของเยาวชนไทยทุกคน และการจัดงาน 1 ทศวรรษของ สพฐ.ก็ได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของการทำงานที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง มีโครงการสำคัญๆ เกิดขึ้นตามนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐบาลและ ศธ. หวังว่าผู้บริหารทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของ สพฐ.จะนำประสบการณ์ที่ผ่านมาในรอบ 10 ปี ใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบายและทิศทางการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อพัฒนาประชากรวัยเรียนให้มีความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียนและสังคมโลกต่อไป

จากนั้น รมว.ศธ.ได้ปาฐกถาถึงแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่ง "ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี" ขอเผยแพร่ปาฐกถาดังกล่าวของ รมว.ศธ.โดยละเอียด

"ผมเคยขึ้นมาบนเวทีลักษณะนี้ของ สพฐ.หรือของ ศธ.ในการกล่าวเปิดงาน แล้วก็ต้องกล่าวปาฐกถาหรือกล่าวแสดงความเห็น แต่ในช่วงหลายปีมานี้ไม่ค่อยได้มีโอกาสทำหน้าที่แบบนี้ จะมีได้รับเชิญให้ไปพูดเล่าถึงประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษาอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก

ในวันนี้ความจริงบางท่านก็บอกว่าให้มาพูดเรื่องนโยบายให้ผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาฟัง แต่บังเอิญว่าผมยังไม่ได้มอบนโยบายที่กระทรวง ความจริงนโยบายของรัฐบาลด้านการศึกษาก็เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่ผมมีโอกาสร่วมช่วยเสนอความเห็น ก็พอเข้าใจอยู่ แต่ยังไม่ได้กำหนดนโยบายของกระทรวง ซึ่งความจริงก็คือ มีกระบวนการรับฟัง รายงานว่าองค์กรหลัก องค์กรไหนทำอะไรไปถึงไหนบ้างแล้ว ก็อยู่ระหว่างสังเคราะห์ให้มาเป็นนโยบาย ซึ่งก็คงไม่ใช่มีรัฐมนตรีคนหนึ่งมากำหนดนโยบายใหม่ๆ นโยบายที่เป็นส่วนตัว แต่จะเป็นนโยบายที่สอดคล้องกับรัฐบาล และสานต่อนโยบายที่รัฐมนตรีท่านก่อนทำไว้

ในวันนี้จึงขอใช้เวลาสั้นๆ ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพราะว่าท่านจะเสวนาเรื่องวิชาการ ก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ผมมาเป็นผู้พูดคนหนึ่งที่มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเป็นประโยชน์แก่วงสัมมนา

เรามีโจทย์สำคัญเรื่องการศึกษา
อยู่ที่จะผลิตคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศได้อย่างไร การศึกษาของเราต้องสร้างคนสร้างบุคลากรแบบไหน เราพยายามจัดการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการศึกษากันหลายๆ อย่างตลอดมา แต่ในแง่ของผลสัมฤทธิ์ แน่นอนว่ายังถูกมองว่าเมื่อเทียบกับพัฒนาการของสังคมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ยังจะต้องมีการพัฒนาให้ผลสัมฤทธิ์ดีกว่าที่เป็นอยู่

เพราะฉะนั้นโจทย์สำคัญหนึ่งก็คือ คงจะต้องมีการปรับปรุง เปลี่ยนโฉมการจัดการการศึกษา เพื่อให้รับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เราคงต้องสร้างและเตรียมความพร้อมของบุคลากรของเราตั้งแต่เด็กเยาวชน ให้มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ มีทักษะทางภาษา คิดเป็นเพื่อทำงานและปรับตัวในโลกใหม่ที่มีการปฏิวัติด้าน Digital ที่ส่งผลให้โลกทั้งโลกเชื่อมโยงและสื่อสารกันในเวลาแค่คลิกนิ้วเดียว และมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา เราต้องสร้างและพัฒนาให้คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สามารถขับเคลื่อนและยกระดับประเทศ เตรียมความพร้อมคนของเราให้อยู่ในโลกของการแข่งขันและโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง ต้องเตรียมคนให้มีความพร้อมและตระหนักว่าการที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกอาเซียนและกำลังจะเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ทำให้เราได้ประโยชน์จากการก้าวขึ้นมาของเอเชียในประชาคมเศรษฐกิจโลกอย่างไรบ้าง การศึกษาไทยกำลังจะเดินหน้าสู่การพัฒนาคน ตลอดจนเตรียมความพร้อมกับสิ่งที่เกิดขึ้นในโลก

เราต้องยกเครื่องเรื่องการศึกษา คงไม่ได้หมายความว่า สิ่งที่ทำอยู่นี้ไม่ดี ยังใช้ไม่ได้ แต่ว่าเป็นเรื่องที่เรามองเปรียบเทียบไปข้างหน้า เปรียบเทียบไปที่สังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงและปัญหาที่ท้าทายข้างหน้า เมื่อก่อนขึ้นมาบนเวทียังคุยกับ กพฐ.ว่า งานนี้ชื่อว่า 1 ทศวรรษ สพฐ. อีกระยะหนึ่งเราคงต้องมาคุยกันแล้วว่าต้องจัดงานสู่ทศวรรษที่ 2 ของ สพฐ. การยกเครื่องในความหมายนี้ ไม่ใช่ยกเครื่องเนื่องจากเห็นว่าเก่าหรือทำอะไรไม่ได้ แต่ยกเครื่องในความหมายว่า เรากำลังเจอกับสิ่งใหม่ๆ ที่กำลังท้าทาย ต้องการปรับตัวอย่างรวดเร็ว

แน่นอนว่า ศธ.มีเรื่องเยอะมาก ไม่ว่าใครจะขึ้นมาบริหารจะทำทุกเรื่องไปพร้อมกัน และบอกว่าให้ทำทุกเรื่องให้ดีที่สุด ก็คงทำไม่ได้และคงทำไม่ไหวหากจะคิดทำทุกเรื่อง จึงต้องคิดเรื่องที่มีความสำคัญและจะส่งผลกระทบต่อเรื่องอื่นๆ และพยายามช่วยกันผลักดันขับเคลื่อนเรื่องต่างๆ เพื่อให้ไปกระทบต่อเรื่องอื่นในทิศทางเดียวกัน ดังนี้

● การปฏิรูปหลักสูตร การปฏิรูปการเรียนรู้ หรือปฏิรูปการเรียนการสอน การปฏิรูปหลักสูตรมีการเริ่มดำเนินการระยะหนึ่งแล้ว และก็เป็นเรื่องที่มีวาระมีโอกาสอยู่ นี่ก็เป็นเวลา 10 ปีมาแล้วที่ใช้หลักสูตรนี้กัน ขณะนี้มีกระบวนการที่ใช้ปฏิรูปหลักสูตรเกิดขึ้นแล้ว และอีก 1 ปีก็คงเริ่มต้นได้ แต่ดูแล้วกระบวนการก็ต้องใช้เวลากว่าจะเข้าถึง ก็ต้องใช้เวลาคาดว่าจะอีกประมาณ 3 ปี การปฏิรูปการเรียนการเรียนสอนจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วนที่ต้องทำ โดยเฉพาะจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ มีผลสัมฤทธิ์ในภาวะที่ความก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่ องค์ความรู้แนวคิด เทคนิคและเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างมากมาย การเรียนการสอนในโลกยุคอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีการพูดกันในระยะหนึ่งแล้ว แต่ก็ยังเป็นเรื่องใหม่และเป็นเรื่องที่ต้องพัฒนา ต้องสร้างองค์ความรู้ ทำอย่างไรให้เกิดความจริงจังและต่อเนื่องในเรื่องนี้

มาตรฐานเนื้อหาความรู้ ซึ่งเชื่อมโยงมาจากการปฏิรูปการเรียนการสอน ที่จะต้องมาคิดกันว่ามีการวัดมาตรฐานความรู้ทั้งระบบ วิธีเรียนวิธีสอน ตัวชี้วัด การทดสอบ ที่จะเชื่อมโยงกับเนื้อหามาตรฐานอย่างไร ยกตัวอย่าง แท็บเล็ตที่ให้กับเด็ก มีการพูดถึงความคืบหน้าอยู่เรื่อยๆ ว่าจะมีเพิ่มจำนวนเท่าไร และปีไหนจะมีได้ทั่วถึง มีการผลิตเนื้อหามากขึ้นๆ แต่เรื่องที่ใหญ่มาก ก็คือมาตรฐานของเนื้อหา ที่ต้องเป็นมาตรฐานที่จะแน่ใจว่า เมื่อใช้แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว จะเรียนจะสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะทำให้เรียนรู้ได้ดีขึ้นกว่าไม่ได้ใช้ รวมทั้งได้มาตรฐานที่พอใจ ซึ่งอาจจะต้องมีการศึกษาภายในประเทศไทยและเปรียบเทียบกับของต่างประเทศด้วย

การวัดและประเมินผล การทดสอบและการประเมินผลโรงเรียน และการประเมินวิทยฐานะ เมื่อสักครู่ที่ผมบอกว่าชอบใช้คำว่า การเรียนการสอน ก็เพราะว่าคำว่า การสอน เข้าไปเกี่ยวกับครูและการพัฒนาครู การทดสอบเด็ก การประเมินผลโรงเรียน การประเมินวิทยฐานะครูควรจะต้องเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา แล้วก็ต้องเชื่อมโยงกันเอง กล่าวคือ หลักสูตร การเรียนการสอน การพัฒนาครู การทดสอบเด็กและการประเมินผลโรงเรียนต้องเชื่อมโยงกันและกัน และเชื่อมโยงกับผลสัมฤทธิ์

ถ้าพูดในแง่องค์กร สพฐ. มีอายุ 10 ปี สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ก็มีอายุไล่เลี่ยกัน ผมเคยเป็นประธานกำกับ สมศ. พอทราบความเป็นมาและบทบาทว่าองค์กรที่เกิดขึ้นมาอย่างนี้ ในขณะที่ประเทศเราก่อนหน้านั้นจัดการเรียนการสอนโดยไม่มีการทดสอบกลาง และไม่มีระบบประเมินมาเป็น 10 ปี พอมีองค์กรมาแล้ว สิ่งที่ช่วยกันคิดก็คือว่า ฝ่ายที่ดูแลหลักสูตร ฝ่ายที่ดูแลเรื่องการเรียนการสอน ฝ่ายที่ทำเรื่องพัฒนาครู การทดสอบเด็กและการประเมินผล เชื่อมโยงสอดคล้องกันอย่างไร ส่งเสริมกันอย่างไร ไม่ปล่อยให้เป็นเรื่องว่า พอมีการทดสอบเด็กทำไม่ได้ ก็ตั้งคำถามว่า ออกข้อสอบอยู่ในหลักสูตรหรือไม่ เด็กได้เรียนมาหรือไม่ อย่างนี้เป็นต้น แต่ถ้าฝ่ายทดสอบเห็นว่าหลักสูตรยังไม่ดีพอ ก็ต้องมาช่วยกันคิดว่าจะทำหลักสูตรให้ดีขึ้นอย่างไร และจะจัดการเรียนการสอนอย่างไรจึงจะมีผลสัมฤทธิ์ตามที่ฝ่ายทดสอบกำลังจะทดสอบหรือฝ่ายประเมินกำลังจะประเมิน

● เรื่องที่สอง เป็นเรื่องลดความเหลื่อมล้ำและการไม่เท่าเทียมทางการศึกษา เด็กและเยาวชนไทยที่ออกจากระบบการศึกษา ถือเป็นปัญหาใหญ่ เด็กและเยาวชนที่อยู่ในการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาพื้นฐาน จำนวนร้อยละ 60 ออกจากระบบการศึกษาในช่วงมัธยมตอนปลายหรือต่ำกว่า โดยส่วนใหญ่ออกจากการศึกษาในช่วงมัธยมตอนปลายและออกในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า พิจารณาจากสัดส่วนแล้วปัญหานี้เป็นปัญหาที่ใหญ่มาก ตัวเลขที่ใช้กันอยู่นี้ ตัวเลขที่ผมใช้อยู่ก็เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างล้าสมัย และคงต้องหาตัวเลขที่ทันสมัยมากขึ้น อาจจะเห็นปัญหาที่มากกว่านี้ก็ได้ เมื่อมีปัญหาออกจากการเรียนเร็วและไปประกอบอาชีพก็ไม่ได้ หรือประกอบอาชีพก็ใช้ทักษะฝีมือแรงงานไม่มากนัก เพราะว่าไม่ได้รับการฝึกฝนและไม่ได้รับการสอน มีคำถามใหญ่ว่าการเตรียมการศึกษา การเตรียมความพร้อมให้แก่เยาวชนสำหรับการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพของเราเป็นอยู่อย่างไร ซึ่งก็โยงไปที่การศึกษาของอาชีวศึกษา พูดเรื่องอาชีวศึกษาเล็กน้อยในที่นี้ ไม่ได้มาพูดผิดงาน แต่เห็นว่ามีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก

สพฐ.ต้องเตรียมเด็กไปสู่การศึกษาสายอาชีพและสายอุดมศึกษา เพื่อให้เข้าสู่สังคมมีอาชีพต่อไป เราเคยมีการตั้งเป้าว่านักเรียนสายสามัญกับสายอาชีพในระดับมัธยมปลาย ควรจะอยู่ประมาณร้อยละ 50 : 50 บางคนใช้ตัวเลขเก่า สายอาชีพจึงเป็น 70 : 30 ก็ยังมีแต่สมัยนานมากแล้ว แต่ระยะหลังใช้ 50 : 50 ปรากฏว่าช่วงหลังนี้จริงๆ อยู่ที่ 66 : 34 ยังห่างจาก 50 : 50 มากเหลือเกิน รวมที่เรียนต่อปริญญาตรี ปวส.ก็จะรวมกันเพียงประมาณร้อยละ 36 ของประชากร

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้รายงานสภาพการว่างงาน พบว่าผู้ที่ว่างงานกับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษานั้นสูงสุด รองลงมาคือผู้ที่จบมัธยมศึกษาตอนต้นและต่ำกว่า กลุ่มที่สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช.ว่างงานต่ำสุด เป็นการบ่งชี้ว่าเรากำลังขาดแคลนเรื่องการผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและทิศทางของการเพิ่มสัดส่วน ลดสัดส่วน เป็นไปในแนวที่สวนทางกับความต้องการ เป็นเรื่องที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานก็ต้องคิดถึงประเด็นนี้ ต้องร่วมกันคิด คงไม่ใช่เป็นเรื่องว่าเนื่องจากต้องการเงินอุดหนุนต่อ พยายามจะเพิ่มคนของตนเองโดยไม่มีทิศทางในภาพรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเราจะต้องมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ด้านการคมนาคม จะใช้เงินอย่างมหาศาล จะมีการเชื่อมโยงในภูมิภาคและเชื่อมโยงประเทศอื่นในทวีปในโลก จะมีการส่งออก ประเทศไทยจะเป็นแหล่งทุนมากขึ้น ส่งออกมากขึ้น มีการท่องเที่ยวมากขึ้น ต้องการคนในสายอาชีพ รวมทั้งคนที่มีความรู้สูงๆ ซึ่งก็ต้องมาจากการผลิตของ สพฐ. จึงต้องมาคิดเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง

นอกจากนี้ ในเรื่องของอาชีวศึกษาความจริงมีเรื่องของระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ซึ่งมีการคิดและสร้างองค์กรขึ้นมาแล้ว แต่ว่ายังไม่ได้ใช้ระบบอย่างจริงจัง ก็ทำให้การศึกษาของสายอาชีพนั้นไม่เป็นที่ต้องตาต้องใจ ไม่เป็นที่นิยมเท่าที่ควร ก็คงต้องมาร่วมคิดในเรื่องเหล่านี้ต่อไป

โดยสรุปแล้ว สิ่งที่ผมได้กล่าวมา เป็นประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนกับท่านทั้งหลาย ก็จะเป็นการเน้นที่การเชื่อมโยง โยงมาจากสภาพการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ประเทศไทยอยู่ในเอเชีย ประเทศไทยอยู่ในอาเซียน เชื่อมโยงกับการจัดการศึกษา เชื่อมโยงเรื่องสำคัญๆ ของการจัดการศึกษาที่อาจจะไม่ได้มีการเชื่อมโยงสอดประสานหรือสอดคล้องกันมากนัก ให้มีการเชื่อมโยงกันเพื่อมุ่งไปสู่ผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น

เรามักจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ทำไมผลการเรียนยังไม่ดี ผลสัมฤทธิ์ยังไม่ดี แต่การจัดการศึกษาเราจะพบว่าหลายๆ ส่วนไม่ได้โยงกับผลสัมฤทธิ์ เพราะฉะนั้นจะโยงกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาได้อย่างไร โจทย์ที่ผมคิดไว้ เราคงจะต้องร่วมกันคิดต่อไป ..."


ภาพ สถาพร ถาวรสุข

โอกาสนี้ รมว.ศธ.กล่าวแสดงความขอบคุณต่อผู้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาทุกท่าน โดยหวังว่าจะได้ร่วมกันคิด ร่วมกันปฏิรูปการศึกษา ทำให้การศึกษาเป็นเครื่องมือและเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศ ซึ่ง รมว.ศธ.ได้กล่าวย้ำตั้งแต่วันแรกที่เข้ารับตำแหน่งว่า การจะพัฒนาการศึกษา การจะแก้ปัญหาการศึกษานั้น รัฐมนตรี หรือผู้บริหารทั้งกระทรวง ก็ไม่สามารถทำให้ประสบความสำเร็จได้ แต่ต้องอาศัยผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งกระทรวง ภาคการศึกษาเอกชน และทั้งสังคม ช่วยกันทำความเข้าใจและร่วมกันผลักดัน ซึ่งหวังว่าทุกฝ่ายในสังคมจะร่วมกันปฏิรูปการศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สพฐ.จะเป็นกำลังสำคัญที่จะผลักดันให้มีการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

ขอบคุณที่มาภาพและเนื้อหาจาก ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ


1 ทศวรรษ สพฐ.1ทศวรรษสพฐ.

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ครม.อนุมัติ MOU ไทย-ออสเตรเลียฉบับใหม่

ครม.อนุมัติ MOU ไทย-ออสเตรเลียฉบับใหม่

เปิดอ่าน 5,978 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ (5 กันยายน2555)
มติ ครม.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ (5 กันยายน2555)
เปิดอ่าน 11,123 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลการประชุมสัมมนาปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ
ผลการประชุมสัมมนาปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ
เปิดอ่าน 6,921 ☕ คลิกอ่านเลย

ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 18 พฤษภาคม 2559
ผลประชุมกระทรวงศึกษาธิการ 18 พฤษภาคม 2559
เปิดอ่าน 36,218 ☕ คลิกอ่านเลย

ครม.อนุมัติแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง ศธ.11 ราย
ครม.อนุมัติแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง ศธ.11 ราย
เปิดอ่าน 15,240 ☕ คลิกอ่านเลย

รมว.ศธ.หารือกับที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ
รมว.ศธ.หารือกับที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ
เปิดอ่าน 7,063 ☕ คลิกอ่านเลย

เปิดตัว krutubechannel.com "ครูไทยยุคไอที สร้างคลิปดีให้เด็กดู"
เปิดตัว krutubechannel.com "ครูไทยยุคไอที สร้างคลิปดีให้เด็กดู"
เปิดอ่าน 18,532 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

7 หลักเลี่ยงไขมันพอกตับ
7 หลักเลี่ยงไขมันพอกตับ
เปิดอ่าน 11,717 ครั้ง

ดาวน์โหลด แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง
ดาวน์โหลด แนวทางการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมหน้าที่พลเมือง
เปิดอ่าน 56,453 ครั้ง

จักรวาลมีดาวทั้งหมด 300,000,000,000,000,000,000,000
จักรวาลมีดาวทั้งหมด 300,000,000,000,000,000,000,000
เปิดอ่าน 41,751 ครั้ง

(ก.ค.ศ.)การจ่ายค่าตอบแทนมีความสำคัญยิ่งในฐานะเป็นหน้าที่หลักประการหนึ่งของหน่วยงาน
(ก.ค.ศ.)การจ่ายค่าตอบแทนมีความสำคัญยิ่งในฐานะเป็นหน้าที่หลักประการหนึ่งของหน่วยงาน
เปิดอ่าน 19,654 ครั้ง

35 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ ของคนวัย 35 ที่น่าเลียนแบบ
35 เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ ของคนวัย 35 ที่น่าเลียนแบบ
เปิดอ่าน 12,127 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ