Advertisement
เนื้อสัตว์เป็นโปรตีนชนิดสมบูรณ์ ด้วยมีกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้ ทั้งนี้ หลายคนเลิกกินเนื้อ เพราะเชื่อว่าไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร มีข้อสังเกตและข้อแนะนำดังนี้...
- การกินเนื้อสัตว์มากๆ ไม่เป็นผลดีต่อระบบหัวใจ
กินเนื้อสัตว์ไม่ใช่เรื่องผิด แต่จะกินให้ได้สุขภาพต้องมีกฎเกณฑ์ ต้องดูก่อนว่าเป็นเนื้อสัตว์ประเภทใด ส่วนไหน กินปริมาณมากน้อยแค่ไหนและผ่านกรรมวิธีปรุงอย่างไร เพราะเนื้อสัตว์แต่ละชนิดมีปริมาณไขมันอิ่มตัวที่ก่อ ให้เกิดคอเลสเตอรอลแตกต่างกัน โดยเฉพาะเนื้อส่วนที่มีไขมันติดเห็นได้ชัดเจน หรือเนื้อสัตว์สับที่มักมีไขมันแฝงยิ่งถ้ากินตามใจปาก แถมปรุงรสเค็มจัดหรือหวานเด่นด้วยการผัดและทอดในน้ำมันชุ่มด้วยแล้ว ร่างกายย่อมเสี่ยงต่อระดับ"ไตรกลีเซอไรด์" และ"คอเลสเตอรอล"ตัวร้ายที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ไขมันสะสมในผนังหลอดเลือดแดง และเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและ เส้นเลือดสมองในที่สุด
- กินเนื้อสัตว์เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งลำไส้เกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม ท้องผูกเรื้อรัง สภาวะมลพิษหรือสภาพแวดล้อมรอบตัว และพฤติกรรมการดำเนินชีวิต อาทิ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์จัด กินอาหารกากใยน้อย นักวิชาการทั่วโลกต่างแสดงความเห็นหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่พบว่า การกินเนื้อหมูหรือเนื้อวัวในปริมาณมากเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ได้พอๆ กับการกินเนื้อสัตว์อื่น หรืออาหารทะเลที่ผ่านการปิ้งย่างหรือแม้แต่การทอดในน้ำมันร้อนๆ จนเกรียมกรอบ นั่นเพราะเมื่อถูกความร้อนโปรตีนจากเนื้อสัตว์หรืออาหารทะเลจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งที่เราเรียกว่า "เฮทเทอโรไซคลิก เอมีน"(heterocyclic amines; HCAs)และสาร "โพลีไซคลิก อะโรเมติก ไฮโดรคาร์บอน"(polycyclic aromatic hydrocarbons; PAHs)ที่สามารถทำลายสารพันธุกรรมดีเอ็นเอที่อยู่ในเซลล์ ร่างกายและเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดมะเร็งในที่สุด
ข้อแนะนำสำหรับคนชอบอาหารประเภทปิ้งๆ ย่างๆ จนสุกและไหม้เกรียม ต้องกินในปริมาณน้อยและตัดส่วนที่ไหม้เกรียมทิ้งเพื่อลดการเสี่ยง และที่สำคัญพยายามกินผักและผลไม้ให้ได้ครบในมื้ออาหาร นอกจากนี้ ต้องระวังการกินเนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูปและมีไขมั นปนมาก เนื่องจากมีไนเตรตสูงที่เป็นต้นเหตุของมะเร็งลำไส้เช่นกัน
- กินเนื้อสัตว์ทำให้เสี่ยงเป็นเกาต์
มีส่วนจริง แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่กินเนื้อสัตว์จะเสี่ยงเป็นโรคเกาต์มากกว่าคนที่กินมังสวิรัติ นั่นเพราะเกาต์จัดอยู่ในโรคข้ออักเสบอันเกิดจากความผิดปกติของการสันดาปของสารพิวรีนที่มีอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ส่งผลทำให้เลือดมีกรดยูริกสูง และร่างกายขับออกไม่หมดจนตก ผลึกสะสมที่กระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อรอบข้อ ทำให้ข้ออักเสบ ปวดและบวมในที่สุด
ขอบคุณที่มา สยามดารา
วันที่ 25 ก.พ. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,174 ครั้ง เปิดอ่าน 7,703 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,269 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 63,450 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,702 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,371 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,385 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,154 ครั้ง |
|
|