ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมการงานอาชีพ  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รู้หรือเปล่าว่าปลาร้าเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่?


การงานอาชีพ 22 พ.ค. 2556 เวลา 12:51 น. เปิดอ่าน : 23,340 ครั้ง
Advertisement

รู้หรือเปล่าว่าปลาร้าเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่?

Advertisement

รู้หรือเปล่าว่าปลาร้าเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่?

ปลาร้า หรือ ปลาแดก ในภาษาอีสาน เป็นอาหารท้องถิ่นภาคอีสาน ของไทย และ ลาว รวมถึง บางส่วนของเวียดนาม โดยมักทำจากปลาน้ำจืดขนาดเล็ก เช่น ปลาสร้อยขาว ปลากระดี่มาหมักกับรำข้าวและเกลือ แล้วบรรจุใส่ไห โดยทั่วไปจะหมักไว้ 7-8 เดือน และนำมารับประทานได้ หรือ นำไปปรุงอาหารอย่างอื่น เช่น ส้มตำ เป็นต้น โดยส้มตำที่ใส่ปลาร้า นั้นจะเรียกว่า ส้มตำลาว หรือ ส้มตำ ปลาร้าโดยในบางที่มีค่านิยมว่า หมักให้เกิดหนอนจะยิ่งเพิ่มรสชาติยิ่งขึ้นจากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าปลาร้า เป็นอาหารของวัฒนธรรมอีสานมานานกว่า4,000 ปีแล้ว โดยพบวัสดุที่คล้ายกับไหหมักปลาร้า

ปัจจุบัน การทำปลาร้าได้พัฒนาขึ้นไปสู่ระดับสากลมากขึ้น มีปลาร้าพาสเจอร์ไรซ์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย หรือปลาร้าอนามัย แต่ส่วนใหญ่ ปลาร้าก็ยังนิยมทำแบบเดิม โดยตักขายเป็นน้ำหนักตามตลาดสดต่าง ๆ

"ปลาร้า"เป็นอาหารที่แพร่หลายในเอเชียอาคเนย์มีกินกันทุกแห่งในดินแดนที่วัฒนธรรมมอญ-เขมร ได้เคยผ่านเข้าไป เมื่อ 2,000 ปี หรือ 3,000 ปีมาแล้ว

ทำไมคนโบราณจึงเกิดทำปล้าร้ากินกันขึ้นมา?

ตอบว่า เพราะธรรมชาติในหลายประเทศในเอเชียอาคเนย์อำนวยหรือบังคับให้ทำปลาร้า

ภูมิภาคนี้ตกอยู่ในเขตมรสุม ในระหว่างต้นฝนก็มีน้ำมาก แต่พอเข้าต้นหน้าแล้ง น้ำก็เริ่มลด

ระยะนี้ เป็นเวลาที่ปลาเล็กปลาน้อยขึ้นมากตมแก่งต่างๆ หรือตามแม่น้ำลำคลอง

คนก็จับปลาเอามากิน แต่ปลามันมากเกินกว่าที่จะกินหมดได้ทัน จะทิ้งก็เสียดาย จึงเอาใส่เกลือเก็บไว้กินได้ตลอดปีแต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังใส่เกลือไม่ทัน ปลาเริ่มจะขึ้นและมีกลิ่นถึงจะมีกลิ่น ก็ยังใส่เกลือเก็บไว้กินจนได้เลยอร่อยเพราะกลิ่นปลา ต่อมาจะเอาปลามาทำปลาร้าจึงปล่อยให้ปลาขึ้นและเริ่มมีกลิ่น แล้วจึงเอามาใส่เกลือทำปลาร้ากลายเป็นวิธีทำปลาร้าที่ถูกต้องไป

ที่ผมว่าปลาร้าเป็นเรื่องของวัฒนธรรมมอญ-เขมรนั้น พิสูจน์ได้ด้วยความจริง เพราะมอญ-เขมรทุกวันนี้ก็ยังกินปลาร้ากันอย่างเอกอุ คือเข้ากับข้าวเกือบทุกอย่างใช้กินเป็นประจำเหมือนคนไทยใช้น้ำปลายำแตงกวาเมืองเขมรเขายังใส่ปลาร้า นอกจากนั้นก็ยังใส่แกงใส่ผัดอื่นๆอีกมากในเมืองไทย แถวๆอำเภอชั้นนอกของสุพรรณบุรีและตามอำเภอของอยุธยาที่ใกล้กับสุพรรณ คนไทยก็ยังใช้ทำกับข้าวแบบนี้ คือเจือปนไปทั่ว เพราะสุพรรณนั้นได้ตกอยู่ใต้อิทธพลวัฒนธรรมของมอญ ที่เรียกว่าทวาราวดีนั้นมาก

แกงบอน
แกงบวน
แกงขี้เหล็ก

เป็นกับข้าวมอญ เพราะเข้ากับปลาร้าทั้งนั้น

ดินแดนอื่นๆ ที่เคยอยู่ใต้วัฒนธรรมมอญ-เขมร นั้นได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา andลาว
เวียดนามนั้นมีปลาร้า ถึงจะผสมสับประรดลงไปแบบเค็ม หมากนัสก็ยังเป็นปลาร้า ดังที่ได้กล่าวมาแล้วลาวเรียกปลาร้าว่า"ปลาแดก" ทำไม?

ตอบว่า "แดก"นั้น เป็นกิริยาอย่างหนึ่งในภาษาไทยแปลว่า อัดหรือยัดอะไรเข้าไปในภาชนะ เช่น ไห จนแน่นที่สุดเท่าที่จะอัดเข้าไปได้ คนที่ใช้กิริยาอย่างนี้ในการกินอาหาร จึงเรียกในภาษไทยว่า แดก อีกเช่นเดียวกันพม่านั้นก็ยังมีมอญอยู่ จึงมีปลาร้ากินส่วนมาเลเซียนั้นวัฒนธรรมมอญ-เขมร เฉียดๆไป แต่ก็มีอะไรคล้ายๆปลาร้ากินเหมือนกันปลาร้านั้นมีกลิ่น เพราะทำด้วยปลาที่เริ่มเน่า ปลาร้าจึงมีชื่อว่า เหม็น

ปลาร้าพันห่อด้วย ใบคาคาก็เหม็นคาวปลา คละคลุ้ง นอกจากนั้น หากอะไรที่กลิ่นไม่ดี เราก็พูดกันว่า "มีกลิ่นทะแม่งๆ"

"ทะแม่ง" เป็นภาษามอญ แปลว่า ปลาร้าทางด้านโบราณคดี ปลาร้าจึงเป็นสิ่งกำหนดขอบเขตของวัฒนธรรมมอญ-เขมรปลาร้าอยู่ที่ไหน วัฒนธรรมมอญ-เขมร เคยอยู่ที่นั่นและวัฒนธรรมมอญ-เขม่ร นั้น ยังมีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงเหนือชีวิตของคนจำนวนมากในเอเซียอาคเนย์การกินหมากที่เคยแพร่หลายไปทั่ว ก็เนื่องอยู่ในวัฒนธรรมนี้ มีขนบธรรมเนียมและประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการกินหมากอยู่มากภาษาเวียดนามปัจุบัน ก็เป็นภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมรและอื่นๆอีกมากอย่าไปดูถูกปลาร้า

ปลาร้ามีประโยชน์มากในทางโภชนาการ เพราะมีโปรตีนสูง เป็นประโยชน์แก่ผู้ยากไร้ หาแหล่งโปรตีนจากอื่น เช่น ทีโบนสเต็คไม่ได้

นอกจากนั้นก็ยังมีวิตามิน K ซึ่งได้จากปลาเน่าหรือเริ่มจะเน่า
 
 
 
 

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


รู้หรือเปล่าว่าปลาร้าเกิดขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่?

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เห็ดนางนวล

เห็ดนางนวล


เปิดอ่าน 12,753 ครั้ง
การปลูกกระเทียม

การปลูกกระเทียม


เปิดอ่าน 7,313 ครั้ง
วิธีค้นหา MP3 จาก Google, Yahoo, MSN

วิธีค้นหา MP3 จาก Google, Yahoo, MSN


เปิดอ่าน 21,538 ครั้ง
พืชผักสวนครัว

พืชผักสวนครัว


เปิดอ่าน 10,479 ครั้ง
มังคุดคัด

มังคุดคัด


เปิดอ่าน 18,492 ครั้ง
การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์

การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์


เปิดอ่าน 38,699 ครั้ง
วิธีทำให้ "แก้วมังกร" ลูกดก

วิธีทำให้ "แก้วมังกร" ลูกดก


เปิดอ่าน 10,958 ครั้ง
3G สามจี หรือ ทรีจี

3G สามจี หรือ ทรีจี


เปิดอ่าน 22,355 ครั้ง
เป็ดแมนดาริน

เป็ดแมนดาริน


เปิดอ่าน 31,288 ครั้ง
ประโยชน์จากปูทะเล

ประโยชน์จากปูทะเล


เปิดอ่าน 29,633 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

อาหารยอดนิยมในอาเซียน (ลาว)

อาหารยอดนิยมในอาเซียน (ลาว)

เปิดอ่าน 24,032 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม
เกษตรผสมผสานและไร่นาสวนผสม
เปิดอ่าน 5,792 ☕ คลิกอ่านเลย

"รกฟ้า" คืออะไร?
"รกฟ้า" คืออะไร?
เปิดอ่าน 21,300 ☕ คลิกอ่านเลย

สอนทำ header hi5 ด้วย photoshop
สอนทำ header hi5 ด้วย photoshop
เปิดอ่าน 27,752 ☕ คลิกอ่านเลย

งานแกะสลักไม้
งานแกะสลักไม้
เปิดอ่าน 169,735 ☕ คลิกอ่านเลย

วิธีซักผ้าที่มีรอยเปื้อนชนิดต่าง ๆ
วิธีซักผ้าที่มีรอยเปื้อนชนิดต่าง ๆ
เปิดอ่าน 107,117 ☕ คลิกอ่านเลย

มะนาววงบ่อ นอกฤดู 1 ไร่ 100 ต้น
มะนาววงบ่อ นอกฤดู 1 ไร่ 100 ต้น
เปิดอ่าน 27,288 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
เปิดอ่าน 26,723 ครั้ง

การออกแบบสาร (Message Design) เพื่อการนำเสนอ
การออกแบบสาร (Message Design) เพื่อการนำเสนอ
เปิดอ่าน 17,941 ครั้ง

วรรณคดีมรดกของไทยสมัยสุโขทัย
วรรณคดีมรดกของไทยสมัยสุโขทัย
เปิดอ่าน 29,551 ครั้ง

แสงสว่างของหิ่งห้อยมาจากไหน
แสงสว่างของหิ่งห้อยมาจากไหน
เปิดอ่าน 14,325 ครั้ง

Facebook และ Twitter ใช้ยิ่งมาก...สุขภาพยิ่งดีกว่านะ
Facebook และ Twitter ใช้ยิ่งมาก...สุขภาพยิ่งดีกว่านะ
เปิดอ่าน 10,849 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ