Advertisement
โรงแรมรามาการ์เด้น - นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ทั่วประเทศ ครั้งที่ 2/2556 พร้อมมอบนโยบายการเตรียมการก่อนเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2556 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2556
รมว.ศธ.กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรไทย รัฐบาลซึ่งนำโดยนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก รวมทั้งยังใช้การศึกษาเป็นตัวนำในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย และในโอกาสทีไ่ด้มาพบกับ ผอ.สพท.ทั่วประเทศ จึงขอฝากประเด็นต่างๆ ในการทำงานไว้ดังนี้
- รูปแบบการจัดการศึกษาที่ดี (Best Practices) ในฐานะ ผอ.สพท. ย่อมจะเห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน และเขตพื้นที่การศึกษาของตนเอง ทั้งตัวอย่างที่ดีและไม่ดี แต่ขอให้นำตัวอย่างการจัดการศึกษาที่ดีที่โรงเรียนอื่นสามารถนำไปศึกษา มาปรับใช้ ประยุกต์ใช้ได้ โดยให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาส่งข้อมูล Best Practices ในเขตของตนมายัง สพฐ. เพื่อจะได้ช่วยกันพิจารณา ศึกษา นำไปเผยแพร่ และขยายผลให้เป็นแบบอย่างของโรงเรียนอื่นๆ ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อช่วยยกระดับและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ
- การปฏิรูปหลักสูตร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 5 เดือนข้างหน้า และจะมีความแตกต่างจากหลักสูตรเดิม เพราะผลสัมฤทธิ์จะเกิดขึ้นกับนักเรียน คือ สามารถคิดและวิเคราะห์ได้ ศธ.ไม่ต้องการให้นักเรียนเสียเวลาเรียนกับเนื้อหาที่ไม่จำเป็น ท่องจำในเรื่องที่เปล่าประโยชน์ สิ่งที่ต้องการคือ ต้องการให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น มองเห็นเหตุการณ์ สามารถตอบโจทย์ และหาทางออกในโจทย์ต่างๆ ได้ เนื่องจากโลกยุคปัจจุบัน การดำเนินชีวิตไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว หากเราสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ได้ ไม่ว่าโจทย์จะเป็นอย่างไร สุดท้ายแล้วเด็กก็จะสามารถหาทางออกไปได้ การสร้างความคิด สร้างความสามารถในการวิเคราะห์ จึงเป็นหัวใจสำคัญของหลักสูตรใหม่
- การเชื่อมโยงการจัดการศึกษา ขอให้มีการเชื่อมโยงการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพราะกระบวนการสร้างคนสายอาชีวะ และอุดมศึกษา จะต้องมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ขึ้นมา กระบวนการใหม่ที่จะเกิดขึ้น สกอ.ต้องทำงานร่วมกับ สพฐ. และ สอศ. ด้วย และในปัจจุบันเรามีผู้เรียนในสายสามัญ 60% และในสายอาชีวะกว่า 30% ศธ.ต้องการเพิ่มผู้เรียนสายอาชีวะเป็น 50% เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
ซึ่งผู้เรียนที่จะป้อนเข้าสู่สายอาชีวะกับสายสามัญ เป็นผู้เรียนกลุ่มเดียวกัน หากมีนักเรียนสายอาชีวะเพิ่มขึ้น จำนวนนักเรียนสายสามัญก็จะต้องลดลง หากมองในส่วนของโรงเรียน เมื่อผู้เรียนสายสามัญลดลงเพราะต้องไปเรียนสายอาชีวะ โรงเรียนสายสามัญจะต้องมีแผนรองรับ/จัดการกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จะต้องคาดการณ์และวางแผนทั้งในเรื่องโครงสร้างของครู อาคารเรียน ห้องเรียน และบุคลากรทางการศึกษา ขอฝากให้ช่วยกันคิดไว้ล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม การลดจำนวนนักเรียนสายสามัญเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ยกระดับคุณภาพนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมากขึ้น
- คุณธรรม จริยธรรม การมีความรู้เพียงอย่างเดียวคงจะไม่ช่วยให้ประเทศเจริญก้าวหน้า ประชาชนมีความสุขหรือสงบได้ แต่การอยู่ร่วมกันนั้นคนในประเทศจะต้องมีความรู้ควบคู่กับคุณธรรมจริยธรรม โดยเฉพาะสังคมในระบอบประชาธิปไตย จะต้องสร้างจิตสำนึกให้คนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกันตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับอุดมศึกษา โดยวิธีการปลูกฝังนั้นจะใช้เพียงการสอนจากหนังสือเรียน จากการเรียนในห้องเรียนคงไม่เพียงพอ แต่จะต้องมีกระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการซึมซับจนติดเป็นนิสัย เป็นวิถีชีวิตประจำวัน จึงขอให้โรงเรียนสร้างระบบการฝึกอบรมในเรื่องเหล่านี้เป็นแนวทางปฏิบัติของโรงเรียนเอง เช่น การฝึกให้เด็กกล้าแสดงออก กล้าคิด กล้าทำ บรรยากาศในการเรียนก็ต้องเปิดโอกาสให้เด็กได้พูด ได้แสดงความคิดเห็น ครูไม่ควรพูดอยู่คนเดียว ในขณะเดียวกันก็ต้องเปิดโอกาสให้เด็กคิด โต้แย้ง แสดงเหตุผล เพื่อฝึกให้กล้าแสดงออก กล้าพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากกระบวนการปฏิบัติจริงในโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
- โรงเรียนขนาดเล็ก ศธ.มีนโยบายจัดระบบรวมโรงเรียนขนาดเล็กเข้าด้วยกัน เพราะนอกจากจะมีนักเรียนจำนวนน้อยแล้ว คุณภาพการศึกษาก็ด้อยไปด้วย ซึ่งรัฐบาลไม่มีความสามารถในการพัฒนาทุกโรงเรียนได้ ในบางประเทศที่อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา เมื่อมีจำนวนนักเรียนลดลงก็จะปิดโรงเรียนบ่อยครั้ง มีนักเรียนเพียง 200 คนก็ปิดโรงเรียนแล้ว ฉะนั้นการทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนรับรู้ว่า รัฐบาลไม่มีงบประมาณในการดูแลโรงเรียนทุกโรงเรียนให้ดีเท่ากันได้ แต่หากรวมโรงเรียนก็จะสามารถร่วมกันพัฒนาให้โรงเรียนดีขึ้นได้ สำหรับรถรับส่งในกรณีที่จะต้องรวมโรงเรียน สพฐ.ได้จัดงบประมาณสำหรับจัดซื้อรถจำนวนหนึ่ง ซึ่งจากการลงพื้นที่มีหลายโรงเรียนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ประสานรถเอกชนให้มารับส่งนักเรียน โดยคิดค่าใช้จ่าย 10-15 บาทต่อคน ซึ่งเป็นประโยชน์มาก เพราะระบบการขนส่งของเอกชนจะคล่องตัวกว่าของรัฐ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และมีราคาที่แน่นอน ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการรับส่งนักเรียนไปเรียน แต่หากไม่มีเอกชนบริการรถรับส่งในพื้นที่นั้นจริงๆ ก็สามารถใช้บริการรถที่ สพฐ.จัดสรรไว้ได้ หรือหากมีนักเรียนจำนวนไม่มาก และโรงเรียนอยู่ไม่ไกลจนเกินไป การจัดหาจักรยานมาแจกนักเรียนเพื่อเดินทางไปโรงเรียนในละแวกใกล้เคียงก็สามารถทำได้เช่นกัน
- การสอบครูผู้ช่วย ขณะนี้คนทั้งประเทศและสื่อมวลชนกำลังจับตามองการจัดสอบครูผู้ช่วยของ ศธ. ว่าจะสามารถจัดระบบการสอบครูผู้ช่วยครั้งใหม่ที่มีความโปร่งใส เป็นธรรม และไม่เกิดปัญหาขึ้นได้หรือไม่ แม้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะไม่ใช้เหตุการณ์ปกติ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่หาก ศธ.สามารถดำเนินการสอบครั้งนี้ได้ดี ก็จะเรียกความน่าเชื่อถือจากสังคมกลับคืนมาได้ เพราะ ศธ.เป็นผู้ให้การศึกษากับลูกหลานของประชาชน จึงต้องเป็นคนที่มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบ และมีความน่าเชื่อถือ ผู้ปกครองคงจะไม่สบายใจ หากได้คนที่ไม่ดีมาเป็นคนสั่งสอนลูกหลานของเขา เพราะคนไม่ดีก็จะสอนในเรื่องไม่ดี และประพฤติปฏิบัติตนไปในทางที่ไม่ดีด้วย ขอให้ ผอ.สพท.ช่วยสอดส่องดูแลให้การสอบมีความโปร่งใสเป็นธรรม หากพบเห็นความไม่ชอบมาพากล ไม่ถูกต้อง ขอให้แจ้งมายัง สพฐ. และ รมว.ศธ.เพื่อพิจารณาดำเนินการตรวจสอบและยับยั้งการกระทำผิดต่อไป
ที่มา กระทรวงศึกษาธิการ
Advertisement
เปิดอ่าน 28,438 ครั้ง เปิดอ่าน 22,004 ครั้ง เปิดอ่าน 4,589 ครั้ง เปิดอ่าน 7,742 ครั้ง เปิดอ่าน 15,547 ครั้ง เปิดอ่าน 8,981 ครั้ง เปิดอ่าน 13,115 ครั้ง เปิดอ่าน 29,135 ครั้ง เปิดอ่าน 2,910 ครั้ง เปิดอ่าน 7,600 ครั้ง เปิดอ่าน 5,803 ครั้ง เปิดอ่าน 12,253 ครั้ง เปิดอ่าน 24,999 ครั้ง เปิดอ่าน 11,169 ครั้ง เปิดอ่าน 9,889 ครั้ง เปิดอ่าน 21,398 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 14,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,313 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 4,669 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 6,432 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,455 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,707 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,525 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,874 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,432 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,791 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,155 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,232 ครั้ง |
|
|