Advertisement
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก nasa.gov , topwalls.net
ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ประเด็นดาวเคราะห์ อวกาศ อุกกาบาต ยูเอฟโอ และดวงอาทิตย์ ดูเหมือนจะกลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันอยู่บ่อยครั้งตามหน้าสื่อ เพราะมีปรากฏการณ์แปลกประหลาดต่าง ๆ เกิดขึ้นทั่วโลก ยิ่งล่าสุด จู่ ๆ อุกกาบาตลูกหนึ่งก็พุ่งตกลงมาจากฟ้าในรัสเซีย ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บไปหลายร้อย และนั่นทำให้ชื่อของ "องค์การนาซา" ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงซะจนชินหู แต่ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังไม่รู้จักองค์กรนี้เท่าไหร่นัก วันนี้กระปุกดอทคอมก็เลยขอนำเรื่องราวว่าด้วยบทบาทหน้าที่ขององค์การนาซามาฝากกัน
องค์การนาซา หรือ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration: NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามพระราชบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการที่รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐอเมริกา คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร โดยเกิดขึ้นจากเงื่อนไขด้านความมั่นคง ในช่วงที่สหรัฐฯ ทำสงครามเย็นกับสหภาพโซเวียต เพราะความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในเรื่องอวกาศนั้นถือเป็นหน้าเป็นตาและเป็นการเสริมบารมีให้ประเทศ
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งองค์การนาซา เริ่มตั้งแต่ในปี พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯมุ่งมั่นในการวิจัยชั้นบรรยากาศและพัฒนาอากาศยาน เพื่อให้มั่นใจว่าอเมริกาเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี ต่อมา ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศปรับปรุงแผนการโคจรของดาวเทียมวิทยาศาสตร์ และรวบรวมข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลก และสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้สหภาพโซเวียตรีบประกาศแผนปล่อยดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรบ้าง
โดยเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โซเวียตชิงส่งยานสปุตนิก 1 สู่อวกาศตัดหน้า สภาคองเกรสรู้สึกหวั่นเกรงต่อภัยด้านความมั่นคงและภาวะความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีของตน ทำให้สหรัฐฯ เร่งเดินเครื่องอย่างจริงจัง โดยก่อตั้งหน่วยงานราชการขึ้นใหม่ ให้ทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมอวกาศทั้งหมดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทหาร
และในที่สุด วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ลงนามในกฎหมายการบินและอวกาศแห่งชาติ ค.ศ. 1958 เพื่อก่อตั้งองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA) เริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ขณะนั้นนาซาประกอบด้วยห้องปฏิบัติการ 4 แห่ง มีพนักงานประมาณ 8,000 คน ที่โอนมาจากคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านการบินแห่งชาติ (NACA) ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของรัฐที่มีอายุกว่า 46 ปี
โครงการในระยะแรกของนาซาเป็นการวิจัยโดยมีเป้าหมายส่งมนุษย์ขึ้นไปกับยานอวกาศ ดำเนินไปพร้อมแรงกดดันจากการแข่งขันกับสหภาพโซเวียตในระหว่างสงครามเย็น นาซาเริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ ในการใช้ชีวิตของมนุษย์ในห้วงอวกาศด้วยโครงการเมอร์คิวรีในปี พ.ศ. 2501 ต่อมาวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) นักบินอวกาศ อลัน บี. เชเพิร์ด จูเนียร์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกในอวกาศ เมื่อเขาเดินทางไปกับยานฟรีดอม 7 ในภารกิจนาน 15 นาที แบบไม่เต็มวงโคจร หลังจากนั้นจอห์น เกล็นน์ กลายเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่โคจรรอบโลกเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ในการขึ้นบินนาน 5 ชั่วโมงกับ ยานเฟรนด์ชิป 7
สำหรับภารกิจหลักขององค์การนาซาในปัจจุบัน คือ การบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษยชาติ โดยแบ่งการทำงานเป็นโครงการสำรวจอวกาศ และศูนย์วิจัย ซึ่งโครงการสำรวจอวกาศออกเป็น 2 โครงการใหญ่ ๆ คือ
1. การบินอวกาศปราศจากมนุษย์ขับคุม (Unmanned Space Flight) เป็นโครงการสำรวจอวกาศด้วยยานอวกาศและดาวเทียมชนิดต่าง ๆ ที่ไม่มีมนุษย์ขึ้นไปด้วย เช่น ยานอวกาศสำรวจดวงจันทร์และดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ ส่วนดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกมากมายหลายดวง ล้วนมีจุดประสงค์ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของมวลมนุษย์
2. การบินอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม (Manned Space Flight) การบินอวกาศที่มีมนุษย์ขับคุม มีการตระเตรียมส่งมนุษย์ขึ้นไปในห้วงอวกาศมาตั้งแต่ปี 2520 โดยประกาศรับสมัครบุคคลที่จะเข้าฝึกเป็นมนุษย์อวกาศชุดแรกในโครงการเมอคิวรี (Mercury) จนกระทั่งวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ได้ส่งมนุษย์อวกาศคนแรกของสหรัฐอเมริกา ชื่อ อลัน บี. เชพพาร์ด ขึ้นไปกับยานเมอคิวรี ที่มีชื่อว่า ฟรีดอม 7 (Freedom 7) ปฏิบัติการทดลองขึ้นสู่อวกาศในช่วงเวลาเพียง 15 นาที ก็กลับลงสู่โลก (มนุษย์อวกาศคนแรกของโลก ชาวรัสเซียชื่อ ยูริ กาการิน ขึ้นสู่อวกาศกับยานวอสตอก 1 วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2504)
ส่วนศูนย์วิจัยหลัก ซึ่งมีภารกิจหน้าที่และดูแลครอบคลุมงานต่าง ๆ นั้น แบ่งเป็น 10 ศูนย์ ดังนี้
1. ศูนย์การบินอวกาศกอดเดิร์ด (Goddard Space Flight Center) Greenbelt, Maryland : การควบคุมยานสำรวจอวกาศของนาซา และการติดตามความคืบหน้าในการสำรวจโลก ระบบสุริยะ และเอกภพ
2. ศูนย์การบินอวกาศมาร์แชลล์ (Marshall Space Flight Center) Huntsville AL, Madison County : การพัฒนาระบบขนส่งทางอวกาศและระบบขับดัน
3. ศูนย์การบินอวกาศสเตนนิส (Stennis Space Flight Center) Mississippi : การวิจัยและทดลองระบบขับดันของจรวด Satturn V และการควบคุมระบบการขับเคลื่อนยานอวกาศ
4. ศูนย์วิจัยเกลนน์ (Glenn Research Center) Cleveland, Ohio : การพัฒนาระบบขับดัน และเทคโนโลยีการสื่อสาร
5. ศูนย์วิจัยเอมส์ (Ames Research Center) Mountain View, California : การพัฒนาระบบไอที การออกแบบและสร้างอากาศยาน การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีอวกาศ
6. ศูนย์วิจัยแลงลีย์ (Langley Research Center) Hampton, Virginia : การวิจัยด้านอากาศยานและอวกาศ
7. ศูนย์วิจัยการบินไดรเดน (Dryden Flight Research Center) Los Angeles County, California : การวิจัยการบิน
8. ศูนย์อวกาศเคนเนดี (Kennedy Space Center) Florida : ศูนย์วิจัยจรวดเพื่อส่งยานสำรวจ
9. ศูนย์อวกาศจอห์นสัน (Johnson Space Center) Houston, Texas : การฝึกนักบินอวกาศและผู้ควบคุมกระสวยอวกาศ
10. ห้องปฏิบัติการจรวดขับดัน (Jet Propusion Labolatory) Pasadena, California : การควบคุมยานสำรวจอวกาศในระบบสุริยะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา , nasa.gov , nstda.or.th
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) คลิกเลย👇👇
฿129https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
 เปิดอ่าน 33,058 ครั้ง  เปิดอ่าน 27,972 ครั้ง  เปิดอ่าน 13,759 ครั้ง  เปิดอ่าน 16,276 ครั้ง  เปิดอ่าน 20,188 ครั้ง  เปิดอ่าน 18,476 ครั้ง  เปิดอ่าน 67,750 ครั้ง  เปิดอ่าน 13,733 ครั้ง  เปิดอ่าน 209,523 ครั้ง  เปิดอ่าน 22,586 ครั้ง  เปิดอ่าน 19,519 ครั้ง  เปิดอ่าน 253,446 ครั้ง  เปิดอ่าน 60,917 ครั้ง  เปิดอ่าน 13,520 ครั้ง  เปิดอ่าน 18,788 ครั้ง  เปิดอ่าน 29,842 ครั้ง
|

เปิดอ่าน 14,439 ☕ คลิกอ่านเลย |

เปิดอ่าน 98,574 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 4,349 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 3,331 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 209,523 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 143,321 ☕ คลิกอ่านเลย | 
เปิดอ่าน 30,053 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ 
เปิดอ่าน 30,326 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 10,817 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 25,339 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 8,116 ครั้ง | 
เปิดอ่าน 16,884 ครั้ง |
|
|