Advertisement
“ทุจริตสอบครูผู้ช่วย”
เรื่องฉาวโฉ่ซึ่งสร้างรอยด่างให้กับ “แวดวงการศึกษาชาติ” อย่างหนักหนาสาหัสที่เกิดขึ้นหลังเปิดศักราชใหม่ ปี 2556 เพียงไม่กี่วัน
“ทีมข่าวการศึกษา (ไทยรัฐ)” ขอทำหน้าที่ฉายภาพสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจต่อสังคมและร่วมกันจับตา การทำหน้าที่ตรวจสอบ รวมถึงการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษอย่างจริงจัง เพื่อกำจัดหนอนบ่อนไส้ให้หมดไปจากวงการศึกษาชาติ
วันที่ 13 ม.ค.56 คือวันที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดให้มีการสอบเพื่อคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษ ว 12 ในเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ
แต่ก่อนถึงวันสอบเพียงไม่กี่วัน ก็เริ่มมีกระแสเล็ดลอดออกมาถึงความไม่ชอบมาพากลในการสอบครูผู้ช่วยโดยขบวนการที่พยายามกระทำการทุจริตมีเครือข่ายใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นในที่สุดเมื่อเรื่องดังกล่าวเข้าหู นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ทำให้เกิดความกังวลใจเป็นอย่างมาก และแจ้งให้ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ไปตรวจสอบ ด้วยหวังว่าจะ “ตัดไฟแต่ต้นลม”
หากพบความไม่ชอบมาพากล เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบานปลาย
แต่เพียงชั่วข้ามคืน ก็ได้รับการยืนยันอย่างหนักแน่น จากผู้บริหาร สพฐ.ว่าจากการตรวจสอบไม่พบสิ่งผิดปกติ และระบุให้ต้องมีการเดินหน้าสอบครูผู้ช่วยตามกำหนดการเดิม โดยไม่ฟังเสียงทักท้วงจากนายเสริมศักดิ์ จนสุดท้ายเมื่อการสอบเป็นไปตามกำหนดการเดิม ก็เกิดกรณีการทุจริตขึ้นจริง จนเป็นเรื่องราวฉาวโฉ่ออกสู่สังคมในที่สุด
ทันทีที่ปรากฏมีการจับทุจริตในการสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ขึ้นจริง นายเสริมศักดิ์จึงแต่งตั้งนายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงการทุจริตสอบครูผู้ช่วยขึ้น เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบขบวนการทุจริตสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ ทำให้พบเส้นทางของผู้ที่เข้ามาร่วมขบวนการหลายกลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มนายทุนใหญ่ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น ที่กล้าทุ่มเม็ดเงินก้อนใหญ่ถึง 200 ล้านบาท ให้กับ “นายใหญ่” เพื่อแลกกับข้อสอบทั้งหมด 4 ชุดวิชา วิชาละ 50 ข้อ จำนวน 30 สาขาวิชาเอก พร้อมเฉลยคำตอบ
ขณะที่อีกจุดซึ่งน่าสังเกต และถือเป็นข้อพิรุธ คือ การจัดสอบครั้งนี้มีการปรับเปลี่ยนแนวปฏิบัติในการสอบ ทำให้เกิดความหละหลวม เพื่อเอื้อต่อการเกิดทุจริตได้ง่าย นับตั้งแต่การตัดการสอบสัมภาษณ์ เหลือเพียงการสอบภาค ก และภาค ข
ทั้งยังพบพิรุธเรื่องขยายวันรับสมัครและการเพิ่มกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าสอบ จากเดิมกำหนดให้กลุ่มพนักงานราชการตำแหน่งครูผู้สอน และพนักงานราชการตำแหน่งครูพี่เลี้ยงสามารถสมัครเข้าสอบได้ แต่ สพฐ.กลับมีการขยายวันรับสมัครจากเดิมวันที่ 6-12 ธ.ค.55 และเปิดรับสมัครรอบที่ 2 อีกครั้งในวันที่ 28-30 ธ.ค.55 ทั้งยังเปิดช่องให้กลุ่มครูอัตราจ้างทั่วไป และอัตราจ้างด้วยงบประมาณ SP2 สามารถเข้ามาสมัครสอบในครั้งนี้ได้ด้วย เพราะหากมีเฉพาะกลุ่มแรก จะมีผู้สมัครไม่มาก เมื่อกลุ่มนายทุนบวกลบคูณหารกับเงินที่ต้องควักลงทุนไปสูงถึง 200 ล้านบาทแล้ว อาจจะยังมีกำไรจากกลุ่มลูกค้าที่จะเข้ามาซื้อเฉลยคำตอบไม่มากพอ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเพิ่มกลุ่มลูกค้าให้มากขึ้น
และจากข้อมูลของพยานบุคคลปากสำคัญที่ยอมรับสารภาพกับคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงยังชี้ชัด เพราะระบุว่า “จ่ายเงินค่าเฉลยคำตอบ 400,000 บาท หรือบางคนอาจจะถูกนายหน้าบวกเพิ่มมากกว่านั้น ซึ่งคำนวณเป็นตัวเลขกลมๆ หากเครือข่ายของขบวนการนี้ต้องการหาลูกค้าให้ได้ 1,000 คน เมื่อคูณ 400,000 บาท ก็จะเป็นเงินก้อนใหญ่ที่จะเข้ากระเป๋าขบวนการโกงสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ถึง 400 ล้านบาท หักลบกลบหนี้แล้วก็จะมีกำไรสูงถึง 200 ล้านบาท”
ขณะที่ สพฐ.เองก็ยังไม่สามารถตอบคำถามสังคม กรณีที่มีการแยกย่อยข้อสอบเป็นชุดเล็ก จากเดิมจะสอบภาค ก เช้าสอบ 100 ข้อ บ่าย 100 ข้อ แต่การสอบครั้งนี้กลับแยกสอบภาค ก ออกเป็น 4 ชุด ชุดละ 50 ข้อ เช้าสอบ 2 ชุด และบ่ายอีก 2 ชุด เว้นพักระหว่างสอบแต่ละชุด 1 ชั่วโมง ซึ่งประเด็นนี้คณะกรรมการวิเคราะห์ว่า เพื่อให้ผู้เข้าสอบง่ายต่อการจดจำไปสอบ แต่ก็พบว่าผู้เข้าสอบหลายรายจำไม่ได้และเลือกที่จะจดเป็นโพยกระดาษคำตอบ หรือจดใส่ยางลบเข้าห้องสอบไปด้วย และที่กล้าหน่อยก็อาจจะนำเครื่องมือสื่อสารระบบสั่นเข้าห้องสอบไปด้วยจนถูกจับได้ในที่สุด
ที่สำคัญกลุ่มเครือข่ายโกงสอบครูผู้ช่วยนี้ยังมีการบริหารจัด การแบบครบวงจร โดยการจัดสรรให้ผู้ที่จะสมัครสอบไปสมัครสอบข้ามเขต สพท. เพื่อไม่ให้ทับซ้อนเขตพื้นที่เดียวกัน เป็นการการันตีว่าทุกคนที่ยอมจ่ายเงินจะได้รับการบรรจุทุกคน
จากข้อมูลเชิงลึกของคณะกรรมการยังพบกลุ่มเครือข่ายการทุจริตสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ถึง 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเครือข่าย “นายใหญ่” ซึ่งรับเงินมาจากกลุ่มนายทุนในจังหวัดขอนแก่น 200 ล้านบาท เพื่อให้กำหนดรูปแบบการสอบที่ง่ายและเอื้อต่อการทุจริต มีกลุ่มผู้บริหารโรงเรียน อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใน สพท. และผู้อำนวยการ สพท. บางแห่ง เป็นนายหน้าหาลูกค้าให้ได้ 1,000 คน ซึ่งกลุ่มนายหน้าแต่ละคนสามารถบวกเพิ่มค่าหัวคิวได้เอง จาก 400,000 บาท บางรายอาจราคาสูงขึ้นไปเป็น 650,000-700,000 บาท
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มของผู้บริหารระดับสูงบางคนใน สพฐ. ที่ให้นายหน้าซึ่งเป็นลูกน้องเก่าในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา นำเฉลยข้อสอบไปปล่อยให้กับกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ และมีกลุ่มลูกค้าบางรายนำเฉลยคำตอบไปขายต่อให้กับผู้ใกล้ชิดอีกทอดหนึ่ง ส่งผลให้เกิดกระแสข่าวของการซื้อขายเฉลยคำตอบกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว
และนี่เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนที่เป็นข้อพิรุธ ซึ่งก่อให้เกิดความค้างคาใจและคำถามจากสังคมต่อการสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ ที่เปรียบเสมือนวงจรอุบาทว์ซึ่งแทรกตัวเข้ามาสร้างรอยด่างให้วงการแม่พิมพ์ของชาติ
ทีมข่าวการศึกษา(ไทยรัฐ) จึงขอตั้งความหวังและเรียกร้องให้ผู้ที่รับผิดชอบคุมบังเหียนกระทรวงศึกษาธิการเร่งเครื่องสะสางความฉาวโฉ่ที่เกิดขึ้นนี้อย่างจริงจังและจริงใจ
เพราะหากมัวแต่ทำกันแบบลูบหน้าปะจมูก ไม่กล้าที่จะกระชากหน้ากาก “ไอ้โม่ง” หรือ “นายใหญ่” และตัวการที่ร่วมขบวนการมารับโทษ อนาคตประเทศชาตินับวันก็จะถอยหลังและดิ่งลงเหว
หยุด “มวยล้มต้มคนดู” เสียที...!!!
ทีมข่าวการศึกษา
ที่มา ไทยรัฐ วันที่ 22 มีนาคม 2556
Advertisement
เปิดอ่าน 14,318 ครั้ง เปิดอ่าน 37,850 ครั้ง เปิดอ่าน 14,416 ครั้ง เปิดอ่าน 10,240 ครั้ง เปิดอ่าน 4,768 ครั้ง เปิดอ่าน 11,443 ครั้ง เปิดอ่าน 15,600 ครั้ง เปิดอ่าน 13,327 ครั้ง เปิดอ่าน 6,404 ครั้ง เปิดอ่าน 25,180 ครั้ง เปิดอ่าน 17,348 ครั้ง เปิดอ่าน 4,645 ครั้ง เปิดอ่าน 3,766 ครั้ง เปิดอ่าน 22,518 ครั้ง เปิดอ่าน 13,556 ครั้ง เปิดอ่าน 36,042 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 3,407 ☕ 17 ต.ค. 2567 |
เปิดอ่าน 508 ☕ 19 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 678 ☕ 15 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 771 ☕ 15 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 3,373 ☕ 13 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 2,059 ☕ 13 พ.ย. 2567 |
เปิดอ่าน 953 ☕ 13 พ.ย. 2567 |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 32,682 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,127 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,227 ครั้ง |
เปิดอ่าน 68,732 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,043 ครั้ง |
|
|