Advertisement
ประวัติและตำนาน
ปาริชาติ เป็นต้นไม้แห่งความสมปรารถนาเช่นเดียวกับกามเธนุและเกิดจากการกวนเกษียรสมุทรเช่นกัน พระอินทร์นำไปปลูกไว้ในสวนของพระองค์บนสวรรคโลก (Svargaloka) ลักษณะเป็นไม้พุ่ม มีดอกสีขาวแต้มแดงกลิ่นหอมอบอวล
ในกฤษณาวตาร ภาคหนึ่งของพระวิษณุ ได้แอบไปขโมยต้นปาริชาติจากสวรรค์ตามความปรารถนาของนางสัตยภามา (Satyabhama) ชายาของพระองค์ แต่เกรงว่านางรุกมินี (Rukamini) ชายาอีกคนจะน้อยใจ จึงปลูกต้นปาริชาติไว้ในสวนของนางสัตยภามาแต่หันกิ่งก้านไปทางสวนของนางรุกมินี เวลาที่ดอกปาริชาติร่วงหล่นจะได้ตกใส่สวนของนาง ด้วยเหตุนี้ต้นปาริชาติจากสวรรค์จึงได้ลงมาอยู่บนโลกมนุษย์
อีกตำนานกล่าวถึงหญิงสาวนางหนึ่งหลงรักพระสุริยเทพ นางได้แต่นั่งเฝ้าชมราชรถของพระองค์ขับเคลื่อนผ่านไปทุกเช้าเย็น ช่วงแรกพระสุริยเทพก็สนใจในตัวนางดีแต่ต่อมาไม่นานพระองค์ก็ไปหลงรักหญิงอื่น นางจึงฆ่าตัวตาย จากนั้นต้นปาริชาติก็เกิดขึ้นจากกองเถ้าถ่านที่เผาศพนาง เป็นต้นไม้ที่มีดอกสีขาวแต้มแดงและบานส่งกลิ่นหอมในยามค่ำคืนเท่านั้น เมื่อถึงยามรุ่งอรุณดอกปาริชาติก็ร่วงโรยดุจน้ำตาของนาง บางครั้งก็เชื่อกันว่า ดอกปาริชาติเป็นดอกไม้แห่งความเศร้า
แต่ในวรรณคดีทางพุทธศาสนา เช่น เตภูมิกถา และ กามนิตวาสิฏฐี กล่าวว่า ต้นปาริชาติ คือ ต้นทองหลาง อยู่ในปุณฑริกวันบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระอินทร์มีดอกสีแดงฉาน ร้อยปีจึงจะบานสักครั้ง ทุกครั้งที่บานจะส่งกลิ่นหอมและมีแสงสว่างไปทั่ว เหล่าเทพบุตรเทพธิดาจะมาฉลองร่วมกันใต้ต้นปาริชาติ
ผู้ใดที่ต้องการดอกไม้ไปทัดหูเพียงยื่นมือออกไปดอกไม้นั้นก็หล่นลงมาเอง หากรับไม่ทันจะมีลมหมุนวนประคองไว้จนกว่าจะรับได้ กลิ่นของดอกปาริชาติจะทำให้ผู้ที่สูดดมเข้าไปเกิดอาการวิงเวียนและสามารถระลึกชาติได้ ตั้งแต่ชาติที่ใกล้ที่สุดจนถึงชาติที่ไกลโพ้นออกไป ในขณะที่ดอกปาริชาติในอินเดีย คือ ดอกกรรณิการ์ ของไทยเรานั่นเอง เป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดีของหญิงสาวที่เพิ่งแต่งงานใหม่ และเป็นดอกไม้สำหรับบูชาพระกฤษณะ
การกล่าวถึงในวรรณกรรมต่าง ๆ
มหากาพย์เทวภูมิ ชั้นที่ 2 ดาวดึงส์
"นอกเมืองดาวดึงส์ออกไป ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุทยานใหญ่อีกแห่งหนึ่ง ชื่อว่า ปุณฑริกวัน มีกำแพงล้อมรอบทั้ง ๔ ด้าน กลางสวนมีไม้ทองหลางใหญ่ต้นหนึ่ง เป็นไม้ทิพย์ชื่อว่า ปาริชาติ ต้นปาริชาติ นี้ จะมีดอกบานครั้งหนึ่งต่อเมื่อครบหนึ่งร้อยปี พูดง่าย ๆ ว่าร้อยปีจะดอกบานครั้งหนึ่ง และขณะที่ดอกปาริชาตนี้บานจะมีรัศมีเรืองไปไกลถึงแปดแสนวา และเมื่อลมพัดไปทางทิศใด ลมมีกลิ่นหอมฟุ้งไปทิศนั้นไกลแสนไกล
กลิ่นหอมนั้นจะตลบอบอวลอยู่ทั่วบริเวณสวรรค์ชั้นนี้นานเท่านาน กล่าวกันว่า ยามที่ดอกปาริชาตินี้บาน จะมีเหล่าเทพบุตรเทพธิดามาเล่นสนุกสนานใต้ต้นปาริชาตนี้เป็นจำนวนมากและกลิ่นปาริชาติที่โชยโรยรินมาต้องเทพบุตรเทพธิดาองค์ใด จะช่วยทำให้เทพบุตรเทพธิดาองค์นั้นระลึกชาติได้อย่างอัศจรรย์"
กามนิต -วาสิฏฐี (ภาคสวรรค์)
ตอนที่ 24 ต้นปาริชาติ
"...ครั้นแล้วช่องเขาก็เลี้ยวหักมุมสองสามแห่ง และในทันใดนั้นก็เป็นช่องว่างขึ้น ดูบริเวณรอบตัว เห็นเป็นหุบเขาลึก มีหินผาสกัดกั้นไว้ด้วยยอดสูงลิบลิ่วดูเหมือนจดขอบสวรรค์ กลางหุบเขามีไม้ประหลาดต้นหนึ่ง ลำต้นและกิ่งเรียบรื่นเป็นสีแดงดั่งแก้วประพาฬ ใบแกมเหลืองแก่มีดอกแดงเข้มส่งสีรุ่งโรจน์ราวกับจะลุกไหม้
เหนือยอดชะง่อนผาและยอดไม้นั้น เป็นท้องฟ้าสีน้ำเงินแก่ จะหาเมฆสักก้อนก็ไม่มี เสียงทิพยดนตรีไม่แล่นมาถึงได้พอ แต่ว่าในอากาศยังสะเทือนอยู่ ประหนึ่งว่าเป็นกระเส็นกระสายของคลื่นเสียงดนตรีที่เคยได้ยินมานานแล้ว แต่ระลึกเสียงได้ลาง ๆ
ในหุบเขานั้น มีสีสันก็เพียงสาม คือสีน้ำเงินแก่ของท้องฟ้า สีเขียวของหิน และสีแดงประพาฬของต้นไม้ และมีกลิ่นหอมเป็นกลิ่นเดียว กลิ่นหอมอันน่าพิศวงไม่เหมือนกลิ่นหอมอื่น ๆ เป็นกลิ่นมาจากดอกไม้สีแดงจัด ซึ่งเท่ากับดูดดึงให้กามนิตมา
ในทันใดนั้น ลักษณะประหลาดแห่งกลิ่นหอมก็เริ่มสำแดงอาการ กล่าวคือ ขณะกามนิตสูดกลิ่น ซึ่งตลบฟุ้งอยู่ทั่วหุบเขานั้น ความรู้สึกระลึกเรื่องหนหลังได้แล่นพรูเข้าสู่ใจโดยเร็ว ทำลายทะลุฝ้ามืดที่กำบังไว้ ตั้งแต่ตื่นขึ้นในสระจนบัดนี้ กามนิต ระลึกถึงความเป็นไปในอดีตได้ตลอด..."
ตอนที่ 29 ท่ามกลางกลิ่นหอมแห่งดอกปาริชาติ
"อันความจริง ผู้อุปปาติกะใหม่ทั้งสอง มิได้เยี่ยมฝั่งคงคาสวรรค์อันไม่น่าดูน่าชมอีกต่อไป เป็นแต่เลื่อนลอยไปสู่หุบเขาต้นปาริชาติเนือง ๆ ได้ไปนั่งพักนอนเล่นอยู่ควงปาริชาติอันแผ่กิ่งก้านสาขา สูดเอากลิ่นหอมอันตลบมาจากดอกแดงดั่งแสงชาด กระทำให้ระลึกถึงชาติก่อน ๆ แจ่มแจ้งขึ้นเป็นลำดับ ย้อมหลังล่วงไปในอดีตชาติอันไกลแสนไกล..."
ข้อมูลพฤษศาสตร์ของต้นปาริชาติ หรือ ต้นทองหลาง
- ลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 เซนติเมตร รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15–30 เซนติเมตร
- ชื่อพื้นเมือง
ทองหลาง ,ทองหลางด่าง (กรุงเทพฯ) ปาริฉัตร ทองบ้าน ทองเผือก (ภาคเหนือ)
- ชื่อวิทยาศาสตร์
Rrythrina variegata Linn..
- ชื่อสามัญ
Indian Coral Tree , Variegated Coral Tree , Variegated Tiger's Claw , Tiger's Claw,Parijata
- ชื่อวงศ์
PAPILIONCEAE
- ถิ่นกำเนิด
พบทั่วไปในเอเซียเขตอบอุ่น และเขตร้อน เช่น อินเดีย
- สภาพนิเวศน์
ชอบขึ้นริมน้ำ
- การขยายพันธุ์
ปักชำกิ่ง เพาะเมล็ด
- ประโยชน์
ใบอ่อนเป็นผัก การปลูกพลูถ้าให้เลื้อยขึ้นบนต้นทองหลาง พลูจะเจริญเติบโตเร็วมาก ทางยา จีนใช้เปลือกต้นเป็นยาแก้ไอและแก้ไอ ในโมรอคโค ใช้เปลือกต้นเคี้ยวรักษาบิด
- ต้นปาริชาติ เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี
ขอบคุณข้อมูลจาก , janicha.net , biogang.net , กระปุก.คอม
Advertisement
เปิดอ่าน 215,346 ครั้ง เปิดอ่าน 25,113 ครั้ง เปิดอ่าน 16,696 ครั้ง เปิดอ่าน 17,513 ครั้ง เปิดอ่าน 105,351 ครั้ง เปิดอ่าน 16,954 ครั้ง เปิดอ่าน 21,067 ครั้ง เปิดอ่าน 19,049 ครั้ง เปิดอ่าน 28,755 ครั้ง เปิดอ่าน 33,690 ครั้ง เปิดอ่าน 16,740 ครั้ง เปิดอ่าน 44,888 ครั้ง เปิดอ่าน 24,657 ครั้ง เปิดอ่าน 14,729 ครั้ง เปิดอ่าน 79,661 ครั้ง เปิดอ่าน 20,755 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 13,787 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,235 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,413 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 2,352 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 20,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,658 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 2,106 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,377 ครั้ง |
เปิดอ่าน 33,639 ครั้ง |
เปิดอ่าน 146,825 ครั้ง |
เปิดอ่าน 6,915 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,920 ครั้ง |
|
|