ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ประวัติหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,309 ครั้ง
Advertisement

ประวัติหม่อมหลวงปิ่น  มาลากุล

Advertisement

❝ เป็น ?ศิลปินแห่งชาติ? สาขาวรรณศิลป์ บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ❞

 
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล

ท่านเป็นใคร
บุคคลสำคัญของโลกและศิลปินแห่งชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ประวัติ
หม่อมหลวงปิ่นเกิดเมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม  ๒๔๔๖ ณ บ้านถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรคนที่ ๖ ใน ๑๓ คน ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และท่านผู้หญิงเสงี่ยม พระเสด็จสุเรนทราธิบดี (เสงี่ยม มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม วสันตสิงห์)) ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งสิ้น ๘ คน ได้แก่
• หม่อมหลวงปก มาลากุล
• หม่อมหลวงปอง เทวกุล (สมรสกับหม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล)
• หม่อมหลวงเปนศรี มาลากุล
• หม่อมหลวงปนศักดิ์ มาลากุล
• หม่อมหลวงป้อง มาลากุล
• หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
• หม่อมหลวงเปี่ยมสิน มาลากุล
• หม่อมหลวงปานตา วสันตสิงห์ (สมรสกับนายเมืองเริง วสันตสิงห์)

ประวัติการศึกษา
ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ เมื่อหม่อมหลวงปิ่นมีอายุได้ ๔ ขวบ ท่านได้เริ่มเรียนหนังสือที่บ้านกับครูแฉล้ม (แฉล้ม คุปตารักษ์) ต่อมาได้เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมราชบูรณะ (ปัจจุบันคือโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย) และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ หม่อมหลวงปิ่นก็เข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นนักเรียนมหาดเล็กในพระบรมมหาราชวัง ไม่ได้เรียนที่โรงเรียนอีก แต่ปลายปีนั้นก็ยังคงมาสอบไล่และสามารถสอบผ่านชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ซึ่งทำให้เลื่อนไปเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ แต่ก็ไม่ได้มาเรียนหรือมาสอบอีกเลย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ได้รับทุนของกระทรวงธรรมการ จึงออกไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ โดยไปเข้าเรียนที่ The School of Oriental and African Studies, University of London (SOAS) หรือวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน และได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษาและวรรณคดีบาลีและสันสกฤต แล้วได้ย้ายไปศึกษาต่อที่คณะบูรพคดีศึกษา (Faculty of Oriental Studies) สถาบันตะวันออกของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประสบความสำเร็จโดยได้ปริญญาตรี (B.A.) เกียรตินิยมสาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) วิชาเอกภาษาบาลีและสันสกฤต ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจนสำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์มหาบัณฑิต (M.A.) ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ท่านสังกัดวิทยาลัยบเร๊สโนส (Brasenose College) และในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านก็ได้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นแรก)
รับราชการ
ในปีพ.ศ. ๒๔๕๕ ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กที่พระที่นั่งอัมพรสถาน ต่อมาได้เป็นอาจารย์ประจำกองแบบเรียนกรมวิชาการ อาจารย์พิเศษคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพ.ศ. ๒๔๗๔ ในปีพ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นอาจารย์โท อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และยังได้เป็นหัวหน้าแผนกฝึกหัดครูมัธยม คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและรักษาการในตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนมัธยมหอวังในปีพ.ศ. ๒๔๗๗ อีกด้วย
หม่อมหลวงปิ่นได้เป็นอาจารย์เอก อันดับ 1 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปี พ.ศ. ๒๔๘๐   ๕ ปีต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ได้รับแต่งตั้งเป็นอธิบดีกรมสามัญศึกษาอีกตำแหน่งหนึ่งอีกด้วย ในปี พ.ศ. ๒๔๘๗  ได้พ้นจากตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและเป็นที่ปรึกษาโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและทำงานในหน้าที่เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ - พ.ศ. ๒๔๙๖ ท่านได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมวิชาการ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ได้เป็นรักษาการอธิบดีกรมการฝึกหัดครู รักษาการอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา ศาสตราจารย์พิเศษในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ ถึง ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๐๐  ถึง พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นเวลายาวนานถึง ๑๒  ปีเศษ
[แก้] การก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ ๓ พ.ศ. ๒๔๘๐ โดยนักเรียนเริ่มเรียนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ โดยมี ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียน ในปีแรกๆ โรงเรียนได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ เช่น ทางด้านวิชาการมีผลเป็นที่น่าพอใจ การสร้างตึก ๒ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ และต่อมาได้สร้างตึก ๓ ไปจนจดถนนอังรีดูนังต์ ในเวลานี้นอกจากผลงานทางด้านวิชาการจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว นักเรียนยังได้แสดงความสามารถในการเล่นกีฬาต่างๆ ที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้นำเข้ามาในโรงเรียน เช่น ฮอกกี้ รักบี้ และฟุตบอล เข้าเกณฑ์ที่กล่าวได้ว่า "เรียนก็เด่น เล่นก็ดี กีฬาเลิศ"
นอกจากนี้หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ยังมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ในการดำเนินการศึกษา ให้แก่นักเรียนเตรียมอุดมศึกษา ด้วยเล็งเห็นว่า โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่มุ่งเตรียมเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา จึงจัดสหศึกษาของวัยรุ่นด้วยความรอบคอบระมัดระวัง โดยการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ควบคู่คุณธรรมดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า

" อันอำนาจใดใดในโลกนี้
ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา
สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา
ขึ้นจากผู้ที่หาค่าไม่มีฯ "

" อันตึกงามกับสนามกว้างสร้างขึ้นได้
มีเงินหยิบโยนให้ก็เสร็จสรรพ์
แต่งามจิตใจกว้างนั้นต่างกัน
การอบรมเท่านั้นเป็นปัจจัยฯ "
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้วางระเบียบและข้อปฏิบัติงานไว้อย่างเหมาะสม นับเป็นประโยชน์แก่การศึกษา เป็นอย่างดียิ่ง เช่น
• มีแผนทะเบียนเป้นศูนย์กลางขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการประสานงานฝ่ายวิชาการและ การปกครอง
• จัดทำทะเบียนประวัติย่อของนักเรียนที่เข้าเรียนแต่ปีแรก
• มีสถิติการเรียนและการสอบต่างๆ บันทึกไว้เพื่อให้ทราบพฤติกรรมของนักเรียน
• วางระเบียบให้มีรางวัลคะแนนรวมให้แก่นักเรียนที่ได้คะแนนยอดเยี่ยม
• มีการจารึกนามนักเรียนที่ได้คะแนนยอดเยี่ยมไว้ที่แผ่นเกียรติยศการศึกษาเป็นตัวอักษรสีทอง ไว้ในห้องประชุมของโรงเรียน (ปัจจุบันคือห้อง ๑๑๑ ตึก ๒)
• นอกจากนี้ท่านยังได้คิดการแข่งขันกีฬา ให้เฉพาะโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเรียกว่า การแข่งขันวิ่งสามสระ เป็นกีฬาที่หญิงชายเล่นร่วมกันได้
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้ยื่นใบลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแก่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อราวเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ดังนี้
ตามที่ได้มาเรียนปติบัติข้อราชการนะโรงเรียนลูกกำพร้าสงครามเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ศกนี้ และพนะท่านได้แสดความเห็นใจว่า ในตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญสึกสา ย่อมมีงานที่จะต้องปติบัติอยู่มากแล้ว ให้หาคนแทนในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสานั้น นับว่าเป็นความกรุณาของพนะท่านเป็นอย่างยิ่ง จึงขอเชื่อและปติบัติตามคำแนะนำของพนะท่านด้วยความเคารพอย่างสูงสุด
ในโอกาสนี้ขอประทานกราบเรียนว่า นับตั้งแต่ พนะท่านได้เรียกไปกะซวงกลาโหม เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๔๘๐ เพื่อชี้แจงนโยบาย และมอบหมายให้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาเป็นต้นมา ก็ได้ตั้งใจ ปติบัติงานอย่างเต็มสติกำลัง และพยายามรักสานโยบายของพนะท่านไว้เป็นนิจ จำนวนนักเรียนทวีขึ้นจาก ๓๕๐ คน ในปีแรก จนถึง ๓,๕๐๐ คนในปัจจุบัน การงานมิได้มีติดขัดประการได จนกระทั่งประเทสเข้าสู่ภาวะสงคราม ซึ่งย่อมมีอุปสรรคเป็นธรรมดา แต่ก็แก้ไขให้ลุล่วงไปได้ ภายใต้การบังคับบัญชาสูงสุดของพนะท่าน และพนะท่านรองอธิการบดี
การเปลี่ยนแปลงตัวผู้อำนวยการนั้น ขอประทานกราบเรียนว่ารู้สึกเป็นห่วงหยู่ไม่น้อย แต่หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร ก็เป็นผู้ที่มีความสามารถในการสั่งสอนอบรมนักเรียนเป็นอย่างดี และเป็นอาจารย์ที่ได้หยู่ช่วยเหลือผู้อำนวยการมาเป็นอันมาก ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งโรงเรียน จึงเป็นการเหมาะสมที่จะตั้งเป็นผู้อำนวยการต่อไป ดีกว่าเลือกบุคคลซึ่งยังไม่เคยร่วมงานนี้มาแต่ก่อน
ส่วนไนทางไจนั้น รู้สึกมีความอาลัยเป็นอย่างมากในการที่จะไปจากโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสา เมื่อมาคำนึงว่า ตลอดเวลา ๖ ปีครึ่ง ที่ทำมานี้ มีตำแหน่งประจำอยู่ทางแผนกฝึกหัดครูคณะอักสรศาสตร์และวิทยาสาสตร์ในชั้นต้น และทางกรมสามัญสึกสาในเวลาต่อมา งานไนโรงเรียนเตรียมอุดมสึกสาเป็นงาน พิเสส ซึ่งมิได้มีตำแหน่งเงินเดือนหรือเงินเพิ่มพิเสสแต่อย่างใด แต่ก็ได้ทำมาด้วยความรักและการเสียสละไนทุกทาง เพราะเป็นงานชิ้นแรกที่พนะท่านมอบหมายให้ทำด้วยความไว้วางไจ และได้มีโอกาสสร้างครูอาจารย์ที่เข้มแข็งยิ่งขึ้นเป็นจำนวนร้อย และอบรมกล่อมเกลานักเรียนจำนวนพัน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นกำลังแก่ประเทศชาติไนภายหน้าได้ ก็บังเกิดความพากพูมไจและความสุขไจ ซึ่งเป็นรางวัลที่พนะท่านได้ให้มาในทางอ้อม… จึงค่อยปลดเปลื้องความอาลัยให้บรรเทาลงได้บ้าง
ชีวิตสมรส
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลสมรสกับท่านผู้หญิงดุษฎีมาลา มาลากุล ณ อยุธยา (นามสกุลเดิม ไกรฤกษ์) แต่ไม่มีบุตรธิดา
บั้นปลายชีวิต
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2538 สิริอายุได้ 91 ปี 11 เดือน 11 วัน และเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 ท่านได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติจากองค์การยูเนสโกยกย่องท่านเป็น "นักการศึกษาดีเด่นของโลก ในสาขาวรรณกรรมและสื่อสาร" ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวเตรียมอุดมทุกคน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อันเชิญรูปปั้น ฯพณฯ ศ.หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล จากหอวชิราวุธานุสรณ์ มาประดิษฐาน ห้อง 57 ตึก 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2545
ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นวาระครบรอบ 100 ปีของ ฯพณฯ ศ. ม.ล. ปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจึงดำริที่จะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของท่าน นับแต่นี้ต่อไปก็จะมีเพียงการสานต่อแนวความคิดของ ฯพณฯ ให้ปรากฏเป็นผลสมเจตจำนง อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ของเยาวชน และสังคมไทยตลอดไป
ศิษย์ของพระมหาธีรราชเจ้า
ผลงานการประพันธ์ของหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล มีมากมาย ทั้งงานด้านวิชาการ โดยเฉพาะทางด้านการศึกษา สารคดีท่องเที่ยว และด้านบรรเทิงคดี อันมีบทละคร คำประพันธ์ และเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ งานเขียนมากมายหลายประเภทของท่านนั้น มีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ท่านเล่าว่าชอบเขียนบทละครพูดเป็นอันดับหนึ่ง บทละครที่ท่านเขียนไว้มีประมาณ ๖๐ เรื่องด้วยกัน
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับพระมหากรุณาธิคุณอันนับว่าสำคัญที่สุดในชีวิตของท่าน เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘ ซึ่งขณะนั้นท่านอายุจะครบ ๑๒ ปีแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เข้ารับราชการเป็น
นักเรียนมหาดเล็กรับใช้ ต้องเข้าไปอยู่ในวัง ตามเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ต่าง ๆ ต้องอยู่รับใช้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทตลอดเวลา                        
         การที่ต้องปฏิบัติราชการเช่นนี้ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ย่อมไม่สามารถจะไปเรียนที่โรงเรียนได้ จะเห็นได้จากใน พ.ศ. ๒๔๕๘ ท่านเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ได้เพียงครึ่งปี พอปลายปีไปสอบขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้ หลังจากนั้นท่านก็มิได้มีโอกาสเข้าไปเรียนที่โรงเรียนอีกเลย
         การที่ไม่ได้ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนทำให้ขาดการศึกษาก็จริง แต่ท่านได้สิ่งอื่นมาทดแทน คือ ได้พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสั่งสอนให้มากมายหลายอย่างหลายประการ และได้รับความรอบรู้นานาประการที่ไม่อาจจะหาได้จากการศึกษาในโรงเรียน ดังที่มีผู้กล่าวไว้ว่า " ราชสำนักสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การศึกษาชั้นสูงนอกมหาวิทยาลัย "
         พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอบรมสั่งสอนทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และหนักไปในทางปฏิบัติ ในระหว่างที่เป็นนักเรียนมหาเล็กรับใช้นั้น ท่านได้รับการฝึกหัดอบรมทางการละครจากพระเจ้าอยู่หัวมากที่สุด ได้มีโอกาสอ่านบทละครที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เสร็จใหม่ ๆ เสมอ ได้แสดงละครพระราชนิพนธ์หลายเรื่อง ในด้านหนังสือพิมพ์และการแต่งบทร้อยกรอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งให้ท่านอยู่ในคณะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ " ดุสิตสมิต " และทรงฝึกสอนการแต่งโคลงสี่สุภาพ
เริ่มงานเขียน
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้รับใช้ใกล้ชิดพระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเกือบตลอดเวลา ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินไป ณ ที่ใดก็ตาม จะต้องอยู่คอยรับใช้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทไม่เคยขาด เป็นที่ทราบกันดีในราชสำนักว่า เมื่อพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครหรือบทความ ถ้าเสร็จแล้วมักจะโปรดให้มหาดเล็กที่ใกล้ชิดอ่านถวายให้ทรงฟังหรืออ่านเฉพาะพระพักตร์ที่มีข้าราชบริพารอยู่ ในบรรดามหาดเล็กที่ทรงโปรดว่าเสียงดี อ่านชัดถ้อยชัดคำ และคุ้นกับลายพระราชหัตถ์ของพระองค์ที่ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้อ่านถวายเสมอ ก็จะมีหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล และนายจ่ายวด ( ปาณี ไกรฤกษ์ )
         จากประสบการณ์ของท่านที่ได้ใกล้ชิดพระยุคลบาท และได้รับการสั่งสอนวิธีการแต่งโคลงสี่สุภาพจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่ จึงทำให้ท่านสามารถเริ่มเขียนงานด้านคำประพันธ์เมื่ออายุประมาณ ๑๔ ปี และเมื่อไปศึกษาต่อยังต่างประเทศก็ได้มีโอกาสเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ ส่วนบทความทางการศึกษาและบทละครนั้น ท่านเริ่มเขียนหลังจากที่สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษและกลับมารับราชการแล้ว
นามจริง  นามแฝง
ในการเขียนบทความทางวิชาการ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล มักจะใช้นามจริง แต่ท่านก็ใช้นามแฝงด้วยในการแต่งบทละคร หรืองานประพันธ์อื่น ๆ นามแฝงที่ท่านใช้มีดังนี้
         ป.ม.                               ซึ่งย่อมาจาก ปิ่น มาลากุล
         นายเข็ม หมวกเจ้า        เข็ม หมายถึง ปิ่น
          หมวก หมายถึง มาลา   เจ้า แสดงว่า เป็นราชสกุล
          ประเสริฐ                       หมายถึง ปิ่น หรือ ยอด
         นอกจากนี้ ยังมีนามแฝงที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ประติสมิต
ผลงานวรรณกรรม
ที่ได้ศึกษาภาษาบาลีและสันสกฤต รากฐานของภาษาไทย ทั้งเคยเป็นครูภาษาไทยอยู่ในแวดวงการศึกษาตลอด
ชั่วชีวิตข้าราชการ จึงมีผลงานผู้เชี่ยวชาญและแตกฉาน ในภาษาไทยหลากหลายขอแยกแยะดังนี้...
คำประพันธ์ ได้แก่ผลงานนิพนธ์ร้อยกรอง ๒๕ เรื่อง...
         ๑. ศึกษาภาษิต (๑๐๙ บท)  ๒. คำประพันธ์ร้อยเรื่อง  ๓. คำประพันธ์บางเรื่อง (๒๐๐ เรื่อง)  ๔. บทเพลง (๒๔ เพลง)  ๕. นิราศร่อนรอนแรมไปรอบโลก  ๖. ทวาทศทาน  ๗. คำประพันธ์ ๒๕๐๗  ๘. สามมากกว่าห้า คำโคลง  ๙. โคลงสี่สุภาพ  ๑๐. นิราศมายาใจไปรอบโลก (๓,๓๑๔ กลอน)
         ๑๑. คำประพันธ์สรรมาบรรณาการ  ๑๒. นิราศเลี้ยวเที่ยวท่องกับน้องแก้ว  ๑๓. ยกกระบุง คำโคลง  ๑๔. นิราศแล่นไปแดนอารยะ  ๑๕. นิราศลัดไปวัดตะเคียนคู่  ๑๖. เงินหาย คำโคลง  ๑๗. “พี่อ้ายยังเยาว์”  ๑๘. เล่นละคร  ๑๙. การบ้านการเมือง  ๒๐. นิราศลิ่วปลิวไปที่ไหนเอ่ย
         ๒๑. นิราศลิ่วปลิวไปในโลกหล้า  ๒๒. โคลงกลอน ๒๕๒๑  ๒๓. ทรงชัยกับไพร่ฟ้า  ๒๔. พระมหาธีรราชเจ้าราชสดุดี  ๒๕. คำประพันธ์วันครู
เรื่องการศึกษา ได้ใช้ความรู้ความสามารถบันทึกไว้ถึง ๕๗ เรื่อง...
         ๑. การศึกษาผู้ใหญ่  ๒. คำบรรยายในการอบรมครูส่วนภูมิภาค  ๓. คำกล่าวเปิดการอบรมวิธีสอนชั้นเตรียมประถม  ๔. คำกล่าวในการอบรมผู้ที่จะรับตำแหน่งศึกษาธิการจังหวัด  ๕. การประถมศึกษา  ๖. การศึกษาในประเทศไทย  ๗. ความเคลื่อนไหวทางการศึกษา  ๘. คำกล่าวในโอกาสที่จะลาจากตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญศึกษา  ๙. ปาฐกถาเรื่องการประชุมค้นคว้าอบรมเรื่อง การศึกษาผู้ใหญ่ในชนบท  ๑๐. คำบรรยายเรื่องกระทรวงศึกษาธิการและการพัฒนาการท้องถิ่น
         ๑๑. การศึกษาปริทรรศน์  ๑๒. โครงการพัฒนาส่วนการศึกษาในส่วนภูมิภาค ๑๓. วิชาครูเล่มเล็ก  ๑๔. คำกล่าวเปิดประชุมโครงการพัฒนาการศึกษาฯ ภาคศึกษา ๖  ๑๕. หน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์การศึกษา  ๑๖. คำบรรยายเรื่องแผนการศึกษาชาติ  ๑๗. พัฒนาการศึกษาส่วนภูมิภาคบทที่ ๑ ถึง ๘  ๑๘. การเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ตอนที่ ๒)  ๑๙. การเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ตอนที่ ๓)  ๒๐. การจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
         ๒๑. ปาฐกถาพิเศษเรื่องมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ๒๒. พัฒนาการศึกษาส่วนภูมิภาค บทที่ ๑ ถึง ๒๒  ๒๓. ปาฐกถาเรื่อง “การศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ”   ๒๔. คำปราศรัยปิดการอบรมศึกษาธิการอำเภอ  ๒๕. ประวัติการศึกษาต่างประเทศ  ๒๖. คำปราศรัยประชุมครูใหญ่ส่วนกลาง ๒๕๐๙  ๒๗. พลเอกมังกร พรหมโยธี กับการศึกษา  ๒๘. บันทึกเรื่องการสร้างมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พระราชวังสนามจันทร์  ๒๙. Seminar on Rural Adult Education.   ๓๐ โอ้ว่าพระองค์ผู้ทรงศรี   ๓๑. วิทยาลัยทับแก้ว-คู่มือนักศึกษา ๒๕๐๑  ๓๒. ประวัติการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม  ๓๓. ปาฐกถา “การศึกษาสมัยที่มหาอำมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมมาการ”  ๓๔. ประวัติโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  ๓๕ ตึกสามชั้น  ๓๖. การศึกษาของไทยในปัจจุบัน  ๓๗. วิทยาลัยเพชรรัตน์๓๘พระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการศึกษา  ๓๙. กำเนิดโรงเรียนมหาดเล็กหลวง   ๔๐. หลักการศึกษา (๓๓ เล่ม)
         ๔๑. ประวัติการศึกษา (๓๖ เล่ม)  ๔๒. เรื่องการศึกษา  ๔๓ Education during the Time when H.H.Prince Dhani was Minister of Public Instruction  ๔๔. นโยบายเกี่ยวกับการจัดโรงเรียนราษฎร์ ๔๕. พระราชบันทึกเรื่องโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  ๔๖. บันทึกของ ป.ม. เรื่องเตรียมการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ๔๗. คำปราศรัยพูดกับผู้ปกครองนักเรียน ๔๘. แถลงการณ์เรื่องการเก็บเงินบำรุงการศึกษา  ๔๙. คำปราศรัยในที่ประชุม เจ้าของ ผู้จัดการ และครูใหญ่โรงเรียนราษฎร์    ๕๐. คำกราบบังคมทูล ณ โรงเรียน สุรนารีวิทยา จังหวัดนครราชสีมา
         ๕๑. จดหมายเหตุในการตรวจราชการภาคใต้ ๒๔๙๘   ๕๒. จดหมายเหตุในการตรวจราชการไปถึงเชียงใหม่ ๒๔๙๘   ๕๓. ปาฐกถาเรื่องมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด   ๕๔. บริการเสียง    ๕๕. การที่ครูจะร่วมมือกับสถาปนิก   ๕๖. คำปราศรัยเนื่องวันสถาปนากระทรวงศึกษาธิการ (๒๕๐๑-๗)
         บทละคร การแต่งบทละครนับว่าเป็นวรรณศิลป์พิเศษ ซึ่งนักประพันธ์สาขานี้มีไม่มากนัก เพราะต้องใช้ศิลปะ และอัจฉริยภาพ ที่ควรยกย่อง ประมาณ ๕๘ เรื่อง
         ๑. หัวใจทอง ๒. สุวัณณปัญญา ๓. อาหรับราตรี ๔. ยาม่า ๕. ประสบการณ์กลางมหาสมุทร ๖. ไปสวนลุมพินี ๗. งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษในอินเดีย ๘. การเมืองเรื่องรัก ๙. เจ้าหญิงกับคนตัดไม้ ๑๐. ยังเป็นรอง
         ๑๑. เทพธิดาสาธิต ๑๒. พิมพ์พิไล ๑๓. ล่องแก่งแม่ปิง ๑๔. เมื่อรักจริง ๑๕. ดวงดารา ๑๖. พวงมาลัย ๑๗. ไฉไลไม่เฉลียว ๑๘. เที่ยวกรุงเทพฯ ๑๙. สามมากกว่าห้า ๒๐. เงินหาย
         ๒๑. หนี้ชีวิต ๒๒. สามเกลอ ๒๓. ลูกสาวเจ้าของบ้าน ๒๔. อนิจจาคุณพ่อ ๒๕. หางว่าว ๒๖. ข่าวดี ๒๗. School in the Village ๒๘. เสียงทับแก้ว-ดินแดนของพระพุทธองค์ ๒๙. ปฏิทินเสียง ๓๐. หงส์ทอง
         ๓๑. ธิดาหงส์ แห่งดุสิตธานี ๓๒. Somsak in Trouble ๓๓. หงส์ทองฉาก ๕ ๓๔. อันความกรุณาปรานี ๓๕. ง่ายนิดเดียว ๓๖. มนุสโสสิ ๓๗. ภรรยาข้าราชการสำคัญ ๓๘. คาวมเมตตากรุณาค้ำจุนโลก ๓๙. หงส์ทองฉาก ๖๐ ๔๐. เกาะแก้วพิสดาร
         ๔๑. จับเสือ ๔๒. ช่างทอน ๔๓. ผีจริงๆ ๔๔. ยาขม ๔๕. ฝูงตั๊กแตน ๔๖. ผู้ภักดี ๔๗. ชื่อว่าอารี ๔๘. คนมีบาป ๔๙. โองการพระผ่านฟ้า ๕๐. เหยี่ยวสังคม
         ๕๑. สารสวาสดิ์ ๕๒. พี่นา ๕๓. โชคหมุนเวียนเปลี่ยนไปได้ทุกทุกวัน ๕๔. กรุงรัตนโกสินทร์ ๕๕. เงินหายสามบาท ๕๖. ทานชีวิต ๕๗. มาดามบัตเต้อร์ฟลาย (เสภา) ๕๘. เรื่องของครูคนหนึ่ง
         การท่องเที่ยว ดุจดั่งชีพจรลงเท้า ในการเดินทางทั้งทางราชการ ราชกิจ และเชิงทัศนศึกษา ม.ล.ปิ่นได้บันทึกไว้ ๘ เรื่อง
         ๑. ไปสวนลุมพินี (ร้อยแก้ว) ๒. เที่ยวอิตาลีและสเปน ๓. เที่ยวอเมริกาใต้ไปรอบโลก ๔. รวมเรื่องเที่ยวอิตาลี อินเดีย สเปน ๕. การสู้วัวที่สเปน ๖. ปาฐกถาเรื่องไปอินเดีย ๗. เจริญรอยพระยุคลบาท ๘. รายงานของคณะเจริญรอยพระยุคลบาท
         เบ็ดเตล็ด ในวงการประพันธ์ หากไม่ได้แยกแยะว่าควรอยู่ในสาขาใดก็อนุโลมใช้สาขา “เบ็ดเตล็ด” นับว่าเป็นทางออกที่ดีที่งาม ประมาณ ๕๒ เรื่อง
         ๑. หมู่ฉันท์อินทรวิเชียร ๒. การบรรยายเรื่องปรับปรุงชนบท ๓. คำปราศรัยในการเปิดอบรมหัวหน้าหน่วยวิชาการ ๔. Miscellaneous Problems (An Autobiography of a Would Be Mathematician) ๕. ต้น ต.อ. ๖. ต้น ต.อ. (ต่อ) ๗. ต้น ต.อ. (ตอนที่ ๓) ๘. การซ้อมรบเสือป่า และพระราชวังสนามจันทร์ ๒๔๖๑ ๙. การซ้อมรบเสื้อป่า และพระราชวังสนามจันทร์ ๒๔๖๒ ๑๐. คำกราบบังคมทูล งานฉลองพระบรมราชสมภพ ร.๒
         ๑๑. ประวัติวัดบรมวงศ์อิศรวราราม ๑๒. วัดบรมวงศ์อิศรวราราม ๑๓. การประกวดประขันแสดงภาพ ๑๔. การค้น วัน เดือน ปี ๑๕. กรณฑ์กาชาด ๑๖. “เรดฟี่” สำหรับหัวเราะกันเล่น ๑๗. พระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้าฯ ๑๘. ปฏิทินเสียง ๑๙. ต้น ต.อ.ต้นปีที่ ๒ ๒๐. มูลนิธิภัตตาหารวัดบรมวงศ์ (๖ เล่ม)
         ๒๑. วัดบรมวงศ์อิศรวราราม อดีต ปัจจุบัน ๒๒. มะโรง ร.ศ.๑๑๑ ๒๓. ศกุนตลา งามงดหาที่ติมิได้ ๒๔. ศกุนตลา ๔ สำนวน ๒๕. งานละครของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๖. พระบรมราชานุสาวรีย์ และค่ายหลวงหาดเจ้าสำราญ ๒๗. ดุสิตธานีเมืองประชาธิปไตย ๒๘. วัดบรมวงศ์อิศรวราราม ๒๔๑๙-๒๕๑๙ ๒๙. ประวัติศาสตร์สมัย ร.๖ โดยย่อ ๓๐. เฉลิมพระเกียรติพระมงกุฎเกล้าฯ (เอกลักษณ์ของชาติไทย)
         ๓๑. ศตวรรษแห่งวัดบรมวงศ์อิศรวราราม ๓๒. The New Republic ๓๓. งานละคร ร.๖ ๓๔. ที่ระลึกฉลองอายุ ๙๐ หลวงหัดดรุณพล ๓๕. หม่อมเจ้าประภากร ๓๖. อนุสรณ์ท้าวสมศักดิ์ ๓๗. Dramatic Achievement of King Rama VI ๓๘. พระราชินีสก๊อตแห่งดินแดนต่างประเทศ (แปล) ๓๙. ดุสิตสมิต (บรรยาย ๖ ครั้ง) ๔๐. จดหมายถึงผีเสื้อ (แปล)
         ๔๑. เขียนโคลงกลอนบท ละครอ่อนใจแล้ว (เรื่องวิธีเล่นไพ่ที่คิดขึ้นเอง ฯลฯ) ๔๒. รำพึงถึงพระผู้ ๔๓. พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง ๔๔. King Vajiravudh-Thailand's Prolific Writer ๔๕. นาคพระโขนงที่สอง (แปล) ๔๖. จับไอ้เสือบิลลี่ (แปล) ๔๗. โอ ฮา น่า ซัง (แปล) ๔๘. หอวชิราวุธานุสรณ์ ๔๙. ละครปริศนา ๕๐. โรงละครและการแสดงละคร ๕๑. พาชมดุสิตธานี ๕๒. คำอธิบายหมวด ข. (โขนละคร)
            นอกจากนี้ ยังมีคำประพันธ์เรื่องสั้นๆ อีก ๒๓ เรื่อง ม.ล.ปิ่นได้อนุรักษ์เป็นงานประพันธ์อดิเรกที่มีคุณค่าทาง “อาหารสมอง” สมกับที่เป็น “ศิลปินแห่งชาติ” สาขาวรรณศิลป์
www.sakulthai.com

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3353 วันที่ 15 ก.พ. 2552

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


ประวัติหม่อมหลวงปิ่น มาลากุลประวัติหม่อมหลวงปิ่นมาลากุล

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

10  วิธีช่วยโลกของเรา

10 วิธีช่วยโลกของเรา


เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง
ฝากบทกวี "เรื่องของครู2"

ฝากบทกวี "เรื่องของครู2"


เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง
กำเนิดปากกา

กำเนิดปากกา


เปิดอ่าน 7,227 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ศูนย์รวมข้อสอบ online ทุกระดับชั้น

ศูนย์รวมข้อสอบ online ทุกระดับชั้น

เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่
พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่
เปิดอ่าน 7,365 ☕ คลิกอ่านเลย

   ตรวจดวงชะตา ของเจ้าราศี  พฤษ    ช่วง 12 - 20  พ.ค.52  นี้เท่านั้นครับ
ตรวจดวงชะตา ของเจ้าราศี พฤษ ช่วง 12 - 20 พ.ค.52 นี้เท่านั้นครับ
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย

บทความ  "เศรษฐกิจพอเพียง"
บทความ "เศรษฐกิจพอเพียง"
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย

อินเตอร์เน็ต..เป็นสิ่งเสพติดจริงหรือ?
อินเตอร์เน็ต..เป็นสิ่งเสพติดจริงหรือ?
เปิดอ่าน 7,173 ☕ คลิกอ่านเลย

กาแฟใส่เกลือ
กาแฟใส่เกลือ
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย

คุณมีความสุขดีหรือเปล่า ?เพื่อความแน่ใจลองทดสอบดูนะ
คุณมีความสุขดีหรือเปล่า ?เพื่อความแน่ใจลองทดสอบดูนะ
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

20 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้
20 เรื่องวิทยาศาสตร์น่ารู้
เปิดอ่าน 97,523 ครั้ง

การศึกษาไทย เราโง่อย่างมีหลักการ
การศึกษาไทย เราโง่อย่างมีหลักการ
เปิดอ่าน 28,880 ครั้ง

20 บุคคลสำคัญของไทยที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก
20 บุคคลสำคัญของไทยที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก
เปิดอ่าน 183,357 ครั้ง

"e-Learning" บทเรียนออนไลน์ กับสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้
"e-Learning" บทเรียนออนไลน์ กับสิ่งที่ผู้เรียนควรรู้
เปิดอ่าน 20,603 ครั้ง

ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน
ผลิต ใช้ และพัฒนาครูอย่างไร จึงจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพผู้เรียน
เปิดอ่าน 10,035 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ