ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เปิดคู่มือ สามี-ภรรยา แยกยื่นภาษี หักค่าลดหย่อนได้เท่าไหร่บ้าง


ความรู้ทั่วไป 3 ม.ค. 2556 เวลา 05:12 น. เปิดอ่าน : 44,160 ครั้ง
Advertisement

เปิดคู่มือ สามี-ภรรยา แยกยื่นภาษี หักค่าลดหย่อนได้เท่าไหร่บ้าง

Advertisement

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป คู่สามี-ภรรยา สามารถแยกยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ และเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ทางกรมสรรพากรก็ได้ออกคำชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีภรรยา ใน เว็บไซต์กรมสรรพากร โดยมีเนื้อหาสรุป ดังนี้

กรณีที่สามีภรรยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการทำกิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่าเป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

 การหักค่าลดหย่อนภาษี

การยื่นรายการของสามีหรือภรรยา กำหนดให้หักลดหย่อนได้ดังต่อไปนี้

1. สำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 1 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีสามารถหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 2 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

2. สำหรับสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 3 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนภรรยา 30,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 4 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิหักลดหย่อนสามีหรือภรรยา

3. สำหรับบุตรและการศึกษาบุตร

(ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 5 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ มีบุตรด้วยกัน 1 คน สามีหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท

(ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และความเป็นสามีภรรยาได้มีอยู่ ตลอดปีภาษีให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภรรยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่ง

 ตัวอย่างที่ 6 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย มีบุตรด้วยกัน 1 คน ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีและภรรยาหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท (ฝ่ายละ 17,000 บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภรรยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีและภรรยาหักได้ฝ่ายละ 8,500 บาท

4. สำหรับเบี้ยประกันชีวิต

(ก) กรณีสามี หรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ในกรณีที่ความเป็นสามีภรรยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิหักเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภรรยาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 7 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อน 10,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 8 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภรรยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภรรยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท และส่วนของภรรยา 10,000 บาท (รวม 20,000 บาท)

แต่ถ้าความเป็นสามีภรรยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีหักลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท

(ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตส่วนของตนตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 9 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภรรยาจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท

5. สำหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

 ตัวอย่างที่ 10 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักได้ 10,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 11 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท ภรรยาจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท

6. สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม

(ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภรรยาฝ่ายที่มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน

 ตัวอย่างที่ 12 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท ภรรยากู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท

(ข) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียวและร่วมกันกู้ยืม ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 13 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ ถ้าสามีภรรยาร่วมกันกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจำนวน 10,000 บาท สามีมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้ทั้งจำนวน 10,000 บาท

(ค) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาสมรสกัน ให้ต่างฝ่ายต่างยังคงหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของตนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภรรยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

 ตัวอย่างที่ 14 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้วฝ่ายละ 10,000 บาท ต่อมาสมรสกัน สามีและภรรยายังคงหักลดหย่อนได้ฝ่ายละ 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภรรยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

(ง) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้ยืม ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ไม่ว่าความเป็นสามีภรรยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม

 ตัวอย่างที่ 15 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ถ้าสามีภรรยาร่วมกันกู้ยืมและได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเป็นจำนวน 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท

7. สำหรับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม

 ตัวอย่างที่ 16 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง

 ตัวอย่างที่ 17 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคมได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง

8. สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา

(ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท และบิดามารดาของสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 18 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) และถ้าสามีได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของภรรยาด้วย สามีมีสิทธิหักลดหย่อนบิดาของภรรยา 30,000 บาท และมารดาของภรรยา 30,000 บาท (รวม 120,000 บาท)

(ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 19 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีภรรยาต่างฝ่ายต่างอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) ส่วนภรรยาหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท)

9. สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ

(ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท และให้หักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่สามีหรือภรรยาเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 20 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 21 สามีมีเงินได้ แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน และภรรยาอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท และมีสิทธิหักลดหย่อนบุตรที่ภรรยาเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท (รวม 120,000 บาท)

(ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท

 ตัวอย่างที่ 22 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 คน ส่วนภรรยาอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพอีก 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท


อ่านรายละเอียดเพิ่มจาก
ดาวน์โหลดแบบ PDF คลิก
www.rd.go.th/publish/fileadmin/download/regulation200955.pdf


เปิดคู่มือ สามี-ภรรยา แยกยื่นภาษี หักค่าลดหย่อนได้เท่าไหร่บ้างเปิดคู่มือสามี-ภรรยาแยกยื่นภาษีหักค่าลดหย่อนได้เท่าไหร่บ้าง

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เล่น... พัฒนาอัจฉริยภาพ

เล่น... พัฒนาอัจฉริยภาพ


เปิดอ่าน 11,527 ครั้ง
วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้

วิธีเอาตัวรอดจากไฟไหม้


เปิดอ่าน 10,673 ครั้ง
เลือดกำเดามาจากไหน?

เลือดกำเดามาจากไหน?


เปิดอ่าน 18,089 ครั้ง
7 วิธี เอาชนะริ้วรอย

7 วิธี เอาชนะริ้วรอย


เปิดอ่าน 10,628 ครั้ง
6 เคล็ดลับเก็บเงินปี 2009

6 เคล็ดลับเก็บเงินปี 2009


เปิดอ่าน 12,323 ครั้ง
วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน

วิธีเก็บมะนาวให้สดนาน


เปิดอ่าน 28,033 ครั้ง
ความลับของชาเขียว

ความลับของชาเขียว


เปิดอ่าน 11,251 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

บุหรี่ “ไม่สูบ” ไม่ได้เหรอ?

บุหรี่ “ไม่สูบ” ไม่ได้เหรอ?

เปิดอ่าน 10,921 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
7 ขั้นตอนก้าวเปลี่ยนชีวิตสู่ความสำเร็จในอาชีพการงาน
7 ขั้นตอนก้าวเปลี่ยนชีวิตสู่ความสำเร็จในอาชีพการงาน
เปิดอ่าน 12,997 ☕ คลิกอ่านเลย

จริงหรือ? "น้ำ" แก้ปวดหัวได้
จริงหรือ? "น้ำ" แก้ปวดหัวได้
เปิดอ่าน 18,137 ☕ คลิกอ่านเลย

คลายเครียด ด้วยการดื่มน้ำ
คลายเครียด ด้วยการดื่มน้ำ
เปิดอ่าน 10,457 ☕ คลิกอ่านเลย

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 ส.ค.
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 18 ส.ค.
เปิดอ่าน 24,673 ☕ คลิกอ่านเลย

ระวัง! อาหารจะทำให้คุณขาดน้ำ
ระวัง! อาหารจะทำให้คุณขาดน้ำ
เปิดอ่าน 9,885 ☕ คลิกอ่านเลย

ลักษณะนิ้วมือบ่งบอกอะไร?
ลักษณะนิ้วมือบ่งบอกอะไร?
เปิดอ่าน 23,506 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทำไมคนเราถึงฝัน
ทำไมคนเราถึงฝัน
เปิดอ่าน 9,424 ครั้ง

วิธีถ่ายภาพแบบมโน เสมือนตัวเองไปเที่ยวมา
วิธีถ่ายภาพแบบมโน เสมือนตัวเองไปเที่ยวมา
เปิดอ่าน 12,934 ครั้ง

Minions Banana Song ที่กำลังฮิตกันทั่วโลก
Minions Banana Song ที่กำลังฮิตกันทั่วโลก
เปิดอ่าน 25,994 ครั้ง

ทำไมราคายางจึงร่วงหล่น?
ทำไมราคายางจึงร่วงหล่น?
เปิดอ่าน 15,180 ครั้ง

ต้นไม้อะไรเหมาะกับ วันเกิดของคุณ
ต้นไม้อะไรเหมาะกับ วันเกิดของคุณ
เปิดอ่าน 17,655 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ