Advertisement
❝ ประเทศไทยมี ผู้ป่วยเบาหวานแล้วกว่า 3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวาน 194 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 300 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2568 ขณะที่
❞
ประเทศไทยมี ผู้ป่วยเบาหวานแล้วกว่า 3 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
องค์การอนามัยโลกประเมินว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวาน 194 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 300 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2568 ขณะที่
ศ.นพ.สุรัตน์ โคมินทร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนวิทยาคลินิกและโรคเบาหวาน โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า เบาหวานมี 2 ชนิด โดยเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นชนิดที่มีความรุนแรงและมักเกิดกับเด็ก เกิดจากความผิดปกติของการอักเสบของตับอ่อนที่อาจเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ส่งผลให้อินซูลินที่ควบคุมน้ำตาลทำงานบกพร่อง ส่วนเบาหวานชนิดที่ 2 มาจากความอ้วนเกิดจากพฤติกรรมการบริโภค ส่งผลให้ตับอ่อนที่ผลิตอินซูลินต้องทำงานหนักมากขึ้น
การบริโภคเนื้อปลาช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงโรคเบาหวานทั้ง 2 ชนิดได้ เพราะโอเมก้า 3 ในปลาจะช่วยลดการอักเสบของตับอ่อนลงได้ นอกจากนี้ปลายังมีคุณภาพโปรตีนที่สูงกว่าเนื้อวัวและเนื้อหมู เรียกว่าเป็นโปรตีนชั้นเลิศ ช่วยให้อิ่มเร็วและย่อยง่าย ป้องกันการเกิดโรคอ้วน ดังนั้นควรกินปลาอย่างสม่ำเสมอ
โอเมก้า 3 มีสารอาหารที่มีอยู่ทั้งในปลาน้ำจืดและปลาทะเล มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและหัวใจได้ และช่วยในการพัฒนาเซลล์สมอง ลดไขมันในเลือด และช่วยให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติได้ ทั้งนี้มีรายงานการวิจัยของกรมประมงยืนยันว่า ผู้ที่กินปลาน้ำจืดจะไม่มีอาการแพ้ ต่างจากการกินปลาทะเลที่บางคนอาจเกิดอาการแพ้ได้ ดังนั้นผู้ที่มีอาการแพ้ง่ายควรเลือกกินปลาน้ำจืดแทน
นพ.ฆนัท ครุฑกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจ โภชนวิทยาคลินิกและโรคเบาหวาน โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ควรกินปลาอย่างน้อย 2 มื้อต่อสัปดาห์ แต่คนไทยกินปลาน้อยมาก เพียง 32 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ขณะที่คนอเมริกันกินปลา 50 กิโลกรัมต่อคนต่อปี และคนญี่ปุ่นกินถึง 69 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าสารอาหารในปลาทะเลและปลาน้ำจืด พบว่าไม่แตกต่างกันมาก แต่จะขึ้นอยู่กับประเภทของเนื้อปลามากกว่า โดยเฉพาะโอเมก้า 3 ปลาที่มีไขมันมากก็จะมีปริมาณโอเมก้า 3 มากกว่า เช่น ปลาแซลมอน และปลาสวาย ส่วนปลากลุ่มที่มีไขมันน้อยก็จะมีโอเมก้า 3 น้อยกว่า แต่จะมีปริมาณโปรตีนมากกว่า เช่น ปลากะพง ปลานิล เป็นต้น ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวว่าปลาทะเลจะมีโอเมก้า 3 มากกว่าปลาน้ำจืดเสมอไป ต้องดูลักษณะของเนื้อปลาเป็นหลัก อย่างไรก็ตามผู้บริโภคสามารถกินปลาได้จากทั้ง 2 แหล่ง และกินได้ในปริมาณที่ไม่จำกัด
ข้อดีของปลาทะเลคือ มีโปรตีนและไอโอดีนสูง ช่วยป้องกันภาวะขาดสารไอโอดีน แต่มีข้อเสีย คือ อาจมีสารตกค้างจำพวกปรอทและตะกั่วได้ เพราะอาจมีการปนเปื้อนจากน้ำทะเล จากโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสียลงทะเล ขณะที่ปลาน้ำจืดสามารถควบคุมได้ เพราะส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยง ในฟาร์ม
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบไข่ปลา ในไข่ปลาแม้ว่าจะมีโอเมก้า 3 สูง แต่ก็มีคอเลสเตอรอลสูงเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ ควรระมัดระวังไม่ควรกินในปริมาณมาก ส่วนการกินปลาดิบก็ไม่ได้ให้คุณค่าสารอาหารมากกว่าปลาที่ผ่านการปรุงสุกแล้ว เป็นเพียงค่านิยมที่เชื่อว่ามีรสชาติที่ดีกว่า ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากพยาธิได้
ในบ้านเรามีปลาสวายมาก และราคาถูก แต่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูงถึง 2,570 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม เมื่อเปรียบกับปลาแซลมอนพบว่ามีปริมาณโอเมก้า 3 น้อยกว่า โดยอยู่ที่ 1,000-1,700 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม ขณะนี้ปลาสวายเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศมาก โดยเฉพาะยุโรป เนื่องจากเป็นปลาเนื้อขาว ซึ่งปลาเนื้อขาวถือว่ามีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าปลาเนื้อสี ดังนั้นปลาสวายจึงมีราคาสูงมากในยุโรป และมีแนวโน้มการส่งออกที่มากขึ้น แต่ในประเทศกลับไม่เป็นที่นิยม.
|
วันที่ 9 ก.พ. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 38,793 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,686 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,320 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,538 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,239 ครั้ง |
|
|