Advertisement
❝ เผยกินปลามีประโยชน์ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง แต่คนไทยกินน้อยแค่ 32 กก.ต่อคนต่อปี ทิ้งห่างญี่ปุ่นเท่าตัว ปลานิลคนไทยกินเยอะที่สุด ส่งออกสูงสุด คนอีสานแชมป์กินปลาอันดับหนึ่ง หมอแนะต้องกินไม่น้อยกว่า 2-3 มื้อต่อสัปดาห์ ระบุกินปลาน้ำจืดมีโอเมกา-3 สูงไม่แพ้ปลาทะเล แถมราคาถูก เหมาะยุคเศรษฐกิจซบเซา ❞
คนไทยกินปลาน้อย แนะกินปลาน้ำจืดแหล่งโอเมกา 3 ไม่แพ้ปลาทะเล
เผยกินปลามีประโยชน์ช่วยป้องกันโรคเรื้อรัง แต่คนไทยกินน้อยแค่ 32 กก.ต่อคนต่อปี ทิ้งห่างญี่ปุ่นเท่าตัว ปลานิลคนไทยกินเยอะที่สุด ส่งออกสูงสุด คนอีสานแชมป์กินปลาอันดับหนึ่ง หมอแนะต้องกินไม่น้อยกว่า 2-3 มื้อต่อสัปดาห์ ระบุกินปลาน้ำจืดมีโอเมกา-3 สูงไม่แพ้ปลาทะเล แถมราคาถูก เหมาะยุคเศรษฐกิจซบเซา
ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และเครือข่ายคนไทยไร้พุง จัดงานแถลงข่าว “กินปลาช่วยชาติ เงินหดน้อย พุงไม่มา โรคร้ายไม่มี” โดย ศ.พญ.ชนิกา ตู้จินดา คณะกรรมการกองทุน สสส.กล่าวว่า ปลาอยู่ในกลุ่ม 3 อาหารหลักเพื่อสุขภาพที่ควรบริโภค คือ ข้าวกล้อง ผักพื้นบ้าน และปลา แม้จะทราบดีว่าปลามีประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง ย่อยง่าย ช่วยพัฒนาระบบประสาทในเด็กและทารกในครรภ์ ไม่มีไขมันที่อันตรายต่อหัวใจ แต่คนไทยยังบริโภคปลาน้อย เพียง 32 กก.ต่อคนต่อปี ขณะที่สหรัฐบริโภคปลา 50 กก.ต่อคนต่อปี ญี่ปุ่นบริโภค 69 กก.ต่อคนต่อปี
“ปลาเป็นแหล่งโปรตีนสำคัญ เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์อื่น มีโปรตีนคุณภาพดีวัดได้ถึง 76% ในขณะที่เนื้อวัววัดได้ 74.6 %สามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ สร้างกล้ามเนื้อได้ มีกรดไขมันโอเมกา-3 ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เพราะลดการเกาะตัวของเม็ดเลือด ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อมใ นผู้สูงอายุ กระตุ้นการสร้างสารเคมีซีโรโทนินในสมอง มีฤทธิ์ต้านการซึมเศร้า เป็นสารอาหารสำคัญในการสร้างเซลล์ประสาทในเด็กและทารกในครรภ์”ศ.พญ.ชนิกา กล่าว
ศ.พญ.ชนิกา กล่าวอีกว่า คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าโอเมกา-3 มีเฉพาะในปลาทะเล แต่ในปลาน้ำจืด ก็มีโอเมกา-3 สูง บางประเภทสูงกว่าปลาทะเล เช่น ปลาสวายเนื้อขาว มีโอเมก้า-3 สูงถึง 2,570 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ปลาช่อนมีโอเมกา-3 ถึง 870 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ขณะที่ปลาแซลมอลมีโอเมกา-3 ประมาณ 1000-1,700 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ปลากะพงขาว 310 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม ส่วนใหญ่ปลาน้ำจืดมีราคาต่ำกว่าปลาทะเล ในภาวะน้ำมันแพง สินค้าราคาสูง เครือข่ายคนไทยไร้พุง ร่วมกับกรมประมง และกระทรวงพาณิชย์ รณรงค์ให้คนไทยบริโภคปลาเพราะปลามีราคาต่ำแต่มีประโยชน์สูง อย่างปลาน้ำจืดภายในประเทศ ลดการบริโภคปลานำเข้าที่คุณค่าทางอาหารจะลดลงไปเมื่อถูกแช่แข็ง ซึ่งปัจจุบันนี้มีการพัฒนาคุณภาพการเลี้ยงให้ปราศจากการปนเปื้อนของพยาธิ
นพ.ฆนัท ครุธกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและโภชนวิทยาคลินิก ศูนย์หัวใจ หลอดเลือด และเมตาบอลิซึม รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า โอเมกา-3 เป็นไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งพบมากในสาหร่าย และปลา ถ้าบริโภคปลาสม่ำเสมอจะได้รับโอเมกา-3 เพียงพอ สมาคมแพทย์โรคหัวใจสหรัฐฯ แนะนำให้บริโภคปลาไม่น้อยกว่า 2 มื้อต่อสัปดาห์ ไม่จำเป็นต้องซื้อน้ำมันปลามาทานเพิ่ม เพราะการได้รับน้ำมันปลาเสริมมากเกินไป อาจเกิดปัญหาเลือดออกง่าย โดยเฉพาะผู้ที่ทานยาแอสไพรินอยู่ อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกในสมองได้ ทั้งนี้ การปรุงอาหารควรเป็นการต้มหรือการนึ่ง ไม่ควรทอดหรือผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม เพราะโอเมกา-3 เมื่อผ่านความร้อนสูงจะสลายตัวได้
ดร.นฤพล สุขุมาสวิน ผอ.ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง กล่าวว่า ภาคที่บริโภคปลาน้ำจืดมากที่สุด คือ 1.ตะวันออกเฉียงเหนือ 2.ภาคเหนือ 3.ภาคตะวันออก 4.ภาคตะวันตก 5.ภาคกลาง ปลานิลคือปลาที่บริโภคมากที่สุดและส่งออกมากที่สุด ไทยส่งออกปลามากเป็นประเทศที่ 3 ของโลก รองจากจีน และนอร์เวย์ ปี 2550 ส่งออก 1,163,398 ตัน มูลค่า 85,230 ล้านบาท นำเข้า 1,298,061 ตัน มูลค่า 53,077 ล้านบาท
“ผู้บริโภคส่วนใหญ่คิดว่าปลาน้ำจืดของไทยที่เพาะเลี้ยง อาจปนเปื้อนสิ่งตกค้างจากสารเคมีหรือยาปฏิชีวนะ กรมประมงจึงทำโครงการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดมาตั้งแต่ปี 2546 โดยรับรองมาตรฐานขั้นปลอดภัย (safety level) และมาตรฐานการปฏิบัติทางประมงที่ดี (GAP) มีฟาร์มที่ได้รับรอง safety level 17,499 ฟาร์ม และ GAP 2,988 ราย ภายใน 1 ปีนี้ จะขยายการรับรอง safety level 10,000 ฟาร์ม และ GAP 3,500 ฟาร์ม นอกจากนี้ กรมประมงร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ทำโครงการนำร่องพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปลาน้ำจืด โดยรับงบสนับสนุนจากกระทรวงพาณิชย์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาน้ำจืดให้ได้มาตรฐาน ทั้งด้านคุณภาพความปลอดภัย นำร่องที่ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ชลบุรี และกรุงเทพฯ” ผอ.ศูนย์สารสนเทศ กรมประมง กล่าว
วันที่ 9 ก.พ. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,600 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,199 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,178 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,403 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,180 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,093 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,118 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,142 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,932 ครั้ง |
เปิดอ่าน 52,046 ครั้ง |
|
|