นายไกร เกษทัน ผอ.สำนักพัฒนาระบบบริหาร งานบุคคลและนิติการ (สพร.) เปิดเผยถึงการประชุม เชิงปฏิบัติการเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการ ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีและเลื่อนวิทยฐานะด้วยการประเมินสมรรถนะ ระหว่างวันที่ 5-7 ที่ รร.แกรนด์ ไชน่าปริ๊นเซส ว่า การประชุมในครั้งนี้ สพฐ.ต้องการได้คำตอบ 3 เรื่อง คือ
- ได้ชื่อสถาบัน หน่วยงาน หรือมหา วิทยาลัย ที่รับหน้าที่พัฒนา "สมรรถนะ" ครู
- ได้ "หลักสูตร" ที่ใช้พัฒนา และ
- มี "เกณฑ์ตัดสิน" เพื่อกำหนดว่าครูจะ ผ่านหลักสูตรนี้อย่างไร หากประเมินด้วยการวัดผลทดสอบระดับชาติ โรงเรียนต้องมีคะแนนเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไทล์ แรงก์เท่าใด ถึงจะประเมินระดับวิทยฐานะในระดับต่างๆ ได้ พร้อมกันนี้จะต้องได้หน่วยงานจากภายนอกมาทำ หน้าที่ประเมินสมรรถนะครูด้วย โดยรูปแบบการจะ ต้องประเมินสมรรถนะการสอน สมรรถนะทางวิชาการ และสมรรถนะผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดยครูที่ต้อง การเสนอขอวิทยฐานะต้องเข้ารับการประเมินสมรรถนะรายวิชาที่สอนใน 8 กลุ่มสาระ เพื่อให้ทราบว่ามีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์หรือไม่ ส่วนการประเมินสมรรถนะทางวิชาการ จะประเมินให้กับครูที่ต้องการขอในระดับต่างๆ ทั้งระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ ถ้าสอบประเมินแล้วไม่ผ่าน ก็ไม่สามารถขอมีและเลื่อนวิทยฐานะได้
ผอ.สพร.กล่าวต่อว่า จากนั้นครูจะต้องประเมินการปฏิบัติการสอน โดยสพฐ.จะใช้ผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียน ทั้งผลคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ระดับป.6 ม.3 และม.6 และคะแนนการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อ การประกันคุณภาพผู้เรียน (เอ็นที) สำหรับช่วงชั้นอื่นๆ เป็นองค์ประกอบพิจารณา ฉะนั้นเมื่อสิ้นสุดการประชุม สพฐ.จะได้เกณฑ์ตัดสินผลสัมฤทธิ์คะแนนเอ็นที และโอเน็ต ตลอดจนรายชื่อหน่วยงานพัฒนาครู หน่วยงานประเมินสมรรถนะครู เพื่อส่งให้หน่วยงานรับรองวิทยฐานะครู คือ สำนักงานคณะกรรมการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ขึ้นบัญชี หากครูอยากประเมินสมรรถนะ ถ้าจะเสี่ยงดวงไปประเมินเลยก็ได้ แต่ถ้าคิดว่าจะเอาให้แน่นอน ก็มาเข้ารับการพัฒนาในสถาบัน หน่วยงาน หรือมหาวิทยาลัย ที่สำนักงาน ก.ค.ศ.รับรองไว้
ที่มา ข่าวสด ฉบับวันที่ 6 พ.ย. 2555 (กรอบบ่าย)
ภาพบรรยากาศการประชุม
ขอบคุณที่มาภาพจาก เว็บไซต์ สพร.