ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๕ โดยมีสาระสำคัญสรุปดังนี้
- อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูฯ ใน อ.ก.ค.ศ.
- อนุมัติขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- เห็นชอบในหลักการ "การให้ครูมีและเลื่อนวิทยฐานะ ด้วยการประเมินสมรรถนะ"
- ย้ายและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (รอ update)
l อนุมัติย้ายและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ๕๔ ราย
- อนุมัติย้ายและแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (ผอ.สพม.) ๖ ราย
๑) นายสายัณห์ รุ่งป่าสัก ผอ.สพม.เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต ๑
๒) นายสัจจา ศรีเจริญ ผอ.สพม.เขต ๑๖ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต ๒
๓) นายประวิทย์ หลักบุญ ผอ.สพม.เขต ๒๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต ๒๙
๔) นายปราโมทย์ ภูมิพันธ์ ผอ.สพม.เขต ๒๐ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต ๒๑
๕) นางชนิสรา ดวงบุบผา ผอ.สพม.เขต ๒๓ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต ๒๐
๖) นายสมภูมิ บ่ายเที่ยง ผอ.สพม.เขต ๔๐ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต ๔๒
- อนุมัติย้ายและแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ผอ.สพป.) ๔๘ ราย
๑) นายไพรัช แสงทอง ผอ.สพป.นครพนม เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต ๑๓
๒) นายศลใจ วิบูลกิจ ผอ.สพป.สงขลา เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพม.เขต ๑๖
๓) นายปราโมทย์ ส่งสิงห์ ผอ.สพป.ปัตตานี เขต ๓ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สงขลา เขต ๑
๔) นายชนาธิป สำเริง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๗ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.กาฬสินธุ์ เขต ๑
๕) นายมนตรี ทัดเทียม ผอ.สพป.ตราด ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.จันทบุรี เขต ๑
๖) นายวิชัย พวงภาคีศิริ ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ตราด
๗) นายเสริมปัญญา เทียมวัน ผอ.สพป.ปราจีนบุรี เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ฉะเชิงเทรา เขต ๒
๘) นายนพรัตน์ อู่ทอง ผอ.สพป.เชียงราย เขต ๓ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เชียงราย เขต ๑
๙) นางสาวสายสวาท วิชัย ผอ.สพป.เชียงราย เขต ๔ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เชียงราย เขต ๓
๑๐) นายทวี อุปสุขิน ผอ.สพป.ลำพูน เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต ๔
๑๑) นายวิฑูรย์ วังตาล ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต ๖ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ลำพูน เขต ๑
๑๒) นายไพบูลย์ พงศ์ทัศนา ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต ๑
๑๓) นายสันติ แสงระวี ผอ.สพป.พังงา ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต ๒
๑๔) นายสุรพันธ์ โกยวาณิชย์ ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.พังงา
๑๕) นายสินอาจ ลำพูนพงศ์ ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต ๕ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เชียงใหม่ เขต ๒
๑๖) นายเจียร ทองนุ่น ผอ.สพป.ภูเก็ต ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครศรีธรรมราช เขต ๔
๑๗) นายชลำ อรรถธรรม ผอ.สพป.พัทลุง เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ภูเก็ต
๑๘) นายชุมพล ศรีสังข์ ผอ.สพป.สงขลา เขต ๓ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.พัทลุง เขต ๑
๑๙) นายประสิทธิ์ หนูกุ้ง ผอ.สพป.ยะลา เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สงขลา เขต ๓
๒๐) นายอาดุลย์ พรมแสง ผอ.สพป.นราธิวาส เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ยะลา เขต ๑
๒๑) นายธวัช แซ่ฮ่ำ ผอ.สพป.ยะลา เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นราธิวาส เขต ๒
๒๒) นายวีระพงศ์ เดชบุญ ผอ.สพป.ชลบุรี เขต ๓ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ปทุมธานี เขต ๒
๒๓) นายสุเทพ ชิตยวงษ์ ผอ.สพป.ชลบุรี เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ชลบุรี เขต ๓
๒๔) นายวสันต์ นาวเหนียว ผอ.สพป.อุทัยธานี เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ชลบุรี เขต ๑
๒๕) นายภิรมย์ นันทวงค์ ผอ.สพป.ตาก เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต ๑
๒๖) นายสุทิน แก้วพนา ผอ.สพป.แพร่ เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ตาก เขต ๑
๒๗) นายสุวรรณ นรพักตร์ ผอ.สพป.ลำปาง เขต ๓ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.แพร่ เขต ๑
๒๘) นายสันติ รุ่งสมัย ผอ.สพป.สิงห์บุรี ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เพชรบุรี เขต ๒
๒๙) นายบุญเทียม อังสวัสดิ์ ผอ.สพป.แม่ฮ่องสอน เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สิงห์บุรี
๓๐) นายเทวรัฐ โตไทยะ ผอ.สพป.เลย เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สกลนคร เขต ๑
๓๑) นายสุภชัย จันปุ่ม ผอ.สพป.เลย เขต ๓ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เลย เขต ๒
๓๒) นายสุรศักดิ์ อินศรีไกร ผอ.สพป.ปัตตานี เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สงขลา เขต ๒
๓๓) นายนพพร มากคงแก้ว ผอ.สพป.ปัตตานี เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ปัตตานี เขต ๑
๓๔) นายสุทิศ ทองสนิทกาญจน์ ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สุโขทัย เขต ๑
๓๕) นายธวัช กงเติม ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต ๑
๓๖) นายนิคม เขียวฉ่ำ ผอ.สพป.พะเยา เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เพชรบูรณ์ เขต ๒
๓๗) นายวิชัย แสงศรี ผอ.สพป.อุบลราชธานี เขต ๕ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.อุบลราชธานี เขต ๔
๓๘) นางสาวชูศรี อุดมกุศลศรี ผอ.สพป.เพชรบุรี เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ราชบุรี เขต ๑
๓๙) นายวินัย ศรีเจริญ ผอ.สพป.ราชบุรี เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สมุทรสงคราม
๔๐) นายกนก ปิ่นตบแต่ง ผอ.สพป.สมุทรสงคราม ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.เพชรบุรี เขต ๑
๔๑) นายนิเวศน์ อุดมรัตน์ ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๖
๔๒) นายวิชา มานะดี ผอ.สพป.นครรราชสีมา เขต ๖ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครราชสีมา เขต ๒
๔๓) นายทวีพล แพเรือง ผอ.สพป.นครปฐม เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครปฐม เขต ๒
๔๔) นายรังสรรค์ อ้วนวิจิตร ผอ.สพป.นครปฐมเขต ๒ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.นครปฐมเขต ๑
๔๕) นายสุรัตน์ ดวงชาทม ผอ.สพป.ร้อยเอ็ด เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต ๑
๔๖) นายอธิปปรัชญ์ ทัดพิชญางกูร ผอ.สพป.มหาสารคาม เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ร้อยเอ็ด เขต ๑
๔๗) นายสุเมธี จันทร์หอม ผอ.สพป.ลพบุรี เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.สระบุรี เขต ๑
๔๘) นายปัญญา แก้วเหล็ก ผอ.สพป.สระบุรี เขต ๑ ไปดำรงตำแหน่ง ผอ.สพป.ลพบุรี เขต ๑
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
l อนุมัติตั้งอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูฯ ใน อ.ก.ค.ศ.
ที่ประชุมอนุมัติตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา แทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
๑) นายสุวัฒน์ มั่งมีทรัพย์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดไผ่ล้อม เป็นอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต ๑
๒) นายอาทิตย์ ไชยเสนา นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ เป็นอนุกรรมการผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่นใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๒
๓) นายณัฐชัย มาเมือง ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดพลงไสว เป็นอนุกรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต ๒
๔) นายบุญเชิด มณีเขียว ผู้อำนวยการสถานศึกษาชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านลาดหิน เป็นอนุกรรมการผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษาใน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต ๑
l อนุมัติขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ด้วย สพฐ.มีความประสงค์ขออนุมัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (ผอ.สพป.) ที่ดำรงตำแหน่งครบ ๔ ปี ให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ดำรงตำแหน่งอยู่ต่อไปเป็นเวลา ๑ ปี จำนวน ๑๐ ราย เนื่องจากเห็นว่าข้าราชการดังกล่าวมีภารกิจที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับขณะนี้ ก.ค.ศ.ยังไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสับเปลี่ยนหน้าที่หรือย้าย ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้ส่วนราชการดำเนินการ
ที่ประชุมพิจารณาแล้ว อนุมัติให้ ผอ.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน ๑๐ ราย อยู่ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเดิมต่อไปเป็นเวลา ๑ ปี ดังนี้
๑) นายจำนง ยอดขำ สพป.กาญจนบุรี เขต ๑
๒) นายธวัชชัย พิกุลแก้ว สพป.กาญจนบุรี เขต ๔
๓) นายวินัย ทองรัตน์ สพป.ตรัง เขต ๑
๔) นายคนึง ย้อยเสริฐสุด สพป.ตรัง เขต ๒
๕) นายสุรเสน ทั่งทอง สพป.พิจิตร เขต ๑
๖) นายยงยุทธ ทรัพย์เจริญ สพป.สมุทรปราการ เขต ๑
๗) นายสุรพล น้อยแสง สพป.สระแก้ว เขต ๑
๘) นายศักดิ์ชัย บรรณสาร สพป.สระแก้ว เขต ๒
๙) นายอนุสรณ์ ฟูเจริญ สพป.สุพรรณบุรี เขต ๑
๑๐) นายวิทยา ศักดา สพป.สุราษฎร์ธานี เขต ๑
หมายเหตุ รายที่ ๑ ขออนุมัติขยายระยะเวลาการดำรงตำแหน่งต่ออีก ๑ ปี ครั้งที่ ๒ ส่วนรายอื่นๆ ครั้งที่ ๑
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการ "การให้ครูมีและเลื่อนวิทยฐานะ ด้วยการประเมินสมรรถนะ (TPK Model)" ตามที่ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เสนอต่อที่ประชุม โดยให้ ก.ค.ศ. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ สพฐ. สอศ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมสำหรับครูสังกัดต่างๆ และให้เสนอที่ประชุมพิจารณาในครั้งต่อไป
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวว่า การประเมินแบบใหม่จะประกอบด้วยองค์ประกอบ ๒ ส่วนที่สำคัญ คือ
๑) ประเมินสมรรถนะครู ทั้งสมรรถนะด้านการสอน และสมรรถนะทางวิชาการ เพราะสองส่วนถือเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินคุณภาพของครู ซึ่งการพัฒนาครูเพื่อนำไปสู่การเลื่อนวิทยฐานะแบบใหม่ มีองค์ประกอบที่สำคัญ ๓ ส่วนที่จะช่วยให้เกิดพลังในการพัฒนาครูเป็นอย่างมาก คือ
- Teacher Training Institute หรือสถาบันการผลิตและพัฒนาครู เช่น คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์แห่งประเทศไทย สถาบันทางวิชาการ ๘ กลุ่มสาระ หรือแม้แต่หน่วยงานสอนภาษา เช่น AUA British Council สถาบันขงจื่อ ฯลฯ ก็จะเข้ามามีบทบาทในการผลิตและพัฒนาครูอย่างมีคุณภาพมากขึ้น
- Certifying Body หรือสถาบันรับรองสมรรถนะครู เช่น สสวท. สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ จะเป็นหน่วยงานสำคัญในการรับรองสมรรถนะครูผู้สอนในสาขาวิชาต่างๆ
- Awarding Body หรือสำนักงาน ก.ค.ศ. จะเป็นหน่วยงานในการประเมินสมรรถนะครู
๒) ประเมินผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน หรือผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน โดยดูจากคะแนนความก้าวหน้าของผลการสอบ O-Net หรือ National Test เช่น อาจพิจารณาจากคะแนน Percentile ที่ 50 เป็นจุดตัด (เปอร์เซ็นไทล์ เป็นคะแนนที่บ่งบอกให้ทราบว่าผู้เรียนคนนั้นๆ อยู่ในระดับที่เท่าใดเมื่อเทียบจาก ๑๐๐ คน) หากกลุ่มโรงเรียนใดได้คะแนน Green Zone เช่นอาจจะมากกว่า ๗๐ ขึ้นไป ครูควรได้รับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการพิเศษหรือเชี่ยวชาญได้ โดยอาจจะจัดทำเพียงสาระนิพนธ์ประมาณ ๕๐ หน้า ซึ่งบ่งบอกถึงวิธีการทำให้ Percentile นักเรียนสูงขึ้น ในขณะเดี่ยวกันกลุ่มที่ได้ Percentile ต่ำกว่า ๕๐ ถือเป็นกลุ่ม Red Zone ที่ต้องได้รับการดูแลและพัฒนา ตัวอย่างหนึ่งที่สำคัญในการพิจารณา เช่น ระดับการพิจารณาสมรรถนะทางวิชาการ (Academic Competency) อาจจะพิจารณาให้ครูเลื่อนเป็นชำนาญการโดยดูจากค่า Percentile ที่ ๕๐, ชำนาญการพิเศษ ได้ค่า Percentile ที่ ๖๐, เชี่ยวชาญ ได้ค่า Percentile ที่ ๗๐ เป็นต้น
ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2012/sep/263.html