Advertisement
|
a) ภาพจากกล้องจุลทรรศน์เชิงแสงก่อนใส่แผ่นโลหะนาโน ยังเป็นภาพสีเทา b) ภาพเดียวกันหลังใส่แผ่นโลหะและมองผ่านกล้องจุลทรรศน์เชิงแสงเช่นเดียวกัน ได้เป็นภาพสี c) ภาพขยายของปลายดวงตาที่เผยภาพสีที่ยังชัดเจน และเมื่อส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนก็เห็นโครงสร้างนาโนของบริเวณปลายดวงตาที่เห็นชัดเจน (Phys.org/A*STAR) ขีดสีแดงแสดงสเกล 10 ไมโครเมตร |
|
|
นักวิจัยสิงคโปร์ ได้แรงบันดาลใจจากกระจกสีตกแต่งหน้าต่าง ใช้นาโนเทคโลยีทำภาพโดยไม่ใช้หมึกได้หลากสีและคมชัดกว่าเครื่องพิมพ์เลเซอร์เจ็ท สามารถประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งจอภาพสีสะท้อนแสง ภาพป้องกันการปลอมแปลง หรือการบันทึกข้อมูลเชิงแสงความละเอียดสูง
นักวิจัยจากสถาบันวิจัยและวิศวกรรมวัสดุ (Institute of Materials Research and Engineering: IMRE) สำนักงานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการวิจัย (Agency for Science, Technology and Research) หรือเอ*สตาร์ (A*STAR) สิงคโปร์ ได้พัฒนาวิธีสร้างภาพสีที่คมชัดหลากสีถึง 100,000 จุดต่อนิ้ว (dpi) โดย Phys.org เผยว่า ทีมวิจัยได้ใช้ชิ้นโลหะตัดแปะที่มีโครงสร้างเล็กขนาดนาโนเมตร สร้างภาพสีขึ้นมาโดยไม่ใช้หมึกหรือสีย้อม
ขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องพิมพ์ปัจจุบันทั้งระบบอิงค์เจ็ทและเลเซอร์เจ็ทสร้างภาพที่มีรายละเอียดสูงสุดเพียงแค่ 10,000 dpi ส่วนเทคนิคในระดับวิจัยให้ภาพสีย้อมได้เพียงสีเดียวเท่านั้น
นวัตกรรมใหม่นี้ทลายกฎการสร้างสีที่อิงเฉพาะหมึกอย่างเดียวไปสู่การใช้วัตถุการพิมพ์บนแผ่นเรียบแทน ซึ่งมีศักยภาพพอที่จะปฏิวัติวิธีการพิมพ์ภาพ และสามารถพัฒนาไปสู่การใช้ในจอภาพสีสะท้อนแสงที่มีความละเอียดสูง รวมถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลเชิงแสงที่มีความจุสูง
แรงบันดาลใจของงานวิจัยนี้ Phys.org ระบุว่า มาจากกระจกสีตกแต่งหน้าต่าง ซึ่งมีวิธีการผลิตด้วยการผสมเศษโลหะชิ้นเล็กชิ้นน้อยเข้าไปในแก้ว และมีการค้นพบว่าเศษโลหะเหล่านั้นจะกระเจิงแสงผ่านแก้ว แล้วทำให้กระจกสีตกแต่งนั้นเกิดสีต่างๆ ขึ้น
ด้วยแนวคิดเดียวกับการทำกระจกสีดังกล่าวผสานนาโนเทคโนโลยีอันทันสมัย ทำให้นักวิจัยกำหนดรูปแบบของโครงสร้างโลหะระดับนาโนได้อย่างแม่นยำ แล้วออกแบบพื้นผิวโลหะเพื่อสะท้อนแสงให้ได้ภาพสีออกมา และได้ตีพิมพ์ผลงานเผยแพร่ลงวารสารเนเจอร์นาโนเทคโนโลยี (Nature Nanotechnology)
“ความละเอียดของภาพสีที่พิมพ์ออกมานั้นขึ้นอยู่ขนาดและช่องว่างระหว่าง “นาโนดอท” (nanodot) ของสีแต่ละจุด ยิ่งแต่ละจุดใกล้กันมากเท่าไร ความละเอียดของภาพก็ยิ่งสูงขึ้น และด้วยความสามารถที่สามารถกำหนดจุดสีขนาดเล็กได้อย่างแม่นยำ ทำให้เราสาธิตการพิมพ์ภาพสีที่มีความละเอียดสูงสุดตามทฤษฎีได้ถึง 100,000 dpi” ดร.คาร์ธิก คูมาร์ (Dr.Karthik Kumar) หนึ่งในทีมวิจัยหลักอธิบายถึงการทำงาน
นอกจากนี้ ดร.โจเอล หยาง (Dr.Joel Yang) หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าแทนที่จะใช้สีย้อมที่แตกต่างกันเพื่อสร้างสีต่างๆ นั้น ทีมวิจัยได้อาศัยการใส่รหัสข้อมูลสีเป็นขนาดและตำแหน่งของแผ่นโลหะเล็กๆ ซึ่งแผ่นโลหะเหล่านั้นจะทำอันตรกริยากับแสงผ่านปรากฏการณ์ “พลาสมารีโซแนนซ์” (plasmon resonance)
“ทีมวิจัยได้สร้างฐานข้อมูลของสีที่สัมพันธ์กับรูปแบบ ขนาดและพื้นที่ของโครงสร้างนาโนอันจำเพาะ ซึ่งโครงสร้างนาโนเหล่านั้นจะถูกจัดตำแหน่งตามลักษณะเฉพาะเหล่านั้น คล้ายภาพวาดสำหรับเด็กที่กำหนดสีด้วยตัวเลข ซึ่งขนาดและตำแหน่งของโครงสร้างนาโนนี้ก็คือ “ตัวเลข” ในการกำหนดสีนั่นเอง” ดร.หยางกล่าว และบอกว่าแทนที่จะให้สีด้วยหมึกสีต่างกัน ก็ใช้วิธีวางตำแหน่งแผ่นโลหะซึ่งจะปรากฏสีตามรหัสที่กำหนดไว้
สำหรับงานนี้นักวิจัยจาก IMRE ยังมีความร่วมมือกับนักวิจัยสถาบันคอมพิวเตร์สมรรถนะสูง (Institute of High Performance Computing: IHPC) จากเอ*สตาร์เช่นเดียวกัน เพื่อออกแบบรูปแบบแผ่นโลหะโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์และสร้างแบบจำลอง และตอนนี้ทีมวิจัยกำลังทำงานร่วมกับบริษัทเอกซ์พลอยท์เทคโนโลจีส์พีทีอี (Exploit Technologies Pte Ltd: ETPL) ซึ่งเป็นบริษัทสำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีของสำนักงานวิทยาศาสตร์สิงคโปร์
|
ขอบคุณที่มาจาก Manager Online
Advertisement
เปิดอ่าน 17,879 ครั้ง เปิดอ่าน 3,681 ครั้ง เปิดอ่าน 21,860 ครั้ง เปิดอ่าน 29,151 ครั้ง เปิดอ่าน 27,574 ครั้ง เปิดอ่าน 17,512 ครั้ง เปิดอ่าน 81,090 ครั้ง เปิดอ่าน 18,331 ครั้ง เปิดอ่าน 26,261 ครั้ง เปิดอ่าน 55,176 ครั้ง เปิดอ่าน 81,882 ครั้ง เปิดอ่าน 27,576 ครั้ง เปิดอ่าน 24,031 ครั้ง เปิดอ่าน 22,620 ครั้ง เปิดอ่าน 17,973 ครั้ง เปิดอ่าน 32,596 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 26,261 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,860 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 33,243 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 26,261 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 66,375 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 27,520 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,733 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 31,685 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,752 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,273 ครั้ง |
เปิดอ่าน 80,842 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,205 ครั้ง |
|
|