Advertisement
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิถีธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ในการเริ่มต้นชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย เพราะนมแม่เป็นทั้งอาหารกาย อาหารสมอง อาหารใจแก่ลูกรัก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์และคุณค่ามหาศาลต่อการพัฒนาสมอง สติปัญญาและอารมณ์ ทำให้ลูกมีสุขภาพแข็งแรง มีพัฒนาการทางสมองและอารมณ์ที่พร้อมเติบโตเป็นผู้ใหญ่อยู่ในสังคมได้อย่างงดงาม
ด้วยเหตุนี้ คณะทำงานวิชาการ เครือข่ายพัฒนากฎหมายการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็ก จึงได้มีการเผยแพร่ 20 คำถามคำตอบ ความจริงเกี่ยวกับนมแม่ - นมผงที่พ่อแม่ควรรู้ออกมา ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามกันได้เลย
1. ทำไมจึงไม่ควรให้ทารกได้รับนมที่ไม่ใช่นมแม่ ซึ่งได้แก่ นมผง นมกระป๋อง หรือนมในภาชนะบรรจุต่าง ๆ ตั้งแต่แรกเกิด
เหตุผลที่ไม่ควรให้ทารกได้รับนมผงตั้งแต่แรกเกิดเพราะ
1. ทำให้ทารกไม่ได้รับหัวน้ำนมจากแม่ซึ่งเปรียบเหมือนวัคซีนป้องกันโรค ทำให้เด็กเจ็บป่วยได้ง่าย
2. ทำให้มีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้โปรตีนนมวัว เนื่องจากลำไส้ของทารกแรกเกิดยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ โปรตีนจากนมผงสามารถเข้าสู่ร่างกายทารกได้ง่าย โดยผ่านช่องระหว่างเซลล์บุผิวลำไส้
3. ทำให้น้ำนมแม่มาช้าและไม่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2. นมผงมีข้อด้อยกว่านมแม่อย่างไร
นมผงมีข้อด้อยกว่านมแม่ ดังนี้
1. นมผงมีสารอาหารน้อยกว่านมแม่ และย่อยยากกว่านมแม่
2. นมผงไม่มีภูมิต้านทาน และไม่มีสารช่วยกำจัดเชื้อโรค
3. นมผงไม่มีสารช่วยการเจริญเติบโตของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้สมบูรณ์เต็มที่
3. การให้นมผงร่วมกับนมแม่ในระยะ 6 เดือนแรกจะมีผลเสียอย่างไร
ผลเสียจากนมผงคือ
1 มีผลทำให้ภาวะกรด ด่าง ในลำไส้ใหญ่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อชนิดดีซึ่งจะช่วยป้องกันอันตรายจากเชื้อก่อโรคในลำไส้ใหญ่ ทำให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคท้องเสียในทารกที่กินนมผง
2. มีผลทำให้เกิดภาวะภูมิแพ้ได้ เนื่องจากเป็นการนำโปรตีนแปลกปลอมให้ลูก ซึ่งยังมีระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง
4. ทำไมแนะนำให้ทารกได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวล้วน ๆ ในระยะ 6 เดือนแรก
นมแม่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียวและดีที่สุดสำหรับวัยนี้ เพราะ
1. ในระยะ 6 เดือนแรก การได้รับอาหารอื่นอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ และภูมิแพ้ได้ง่าย เนื่องจากโครงสร้างของอวัยวะร่างกายทารกยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ โดยเฉพาะทางเดินอาหารมีน้ำย่อยยังไม่ครบ ทำให้มีปัญหาในการย่อยและการดูดซึมอาหาร
2. ในระยะ 6 เดือนแรกเป็นช่วงที่สมองมีการเจริญเติบโตสูงสุด สารอาหารจากน้ำนมแม่ช่วยในการพัฒนาการเจริญเติบโตของสมองอย่างเต็มที่ในวัยนี้
3. การได้รับภูมิต้านทานจากนมแม่ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
4. ทำให้ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่าง ๆ จากนมแม่ เช่น วิตามิน ฮอร์โมน ปริมาณสารอาหารและพลังงานจากนมแม่เพียงพอกับความต้องการของทารกในวัยนี้
5. ถ้าแม่ขาดอาหาร น้ำนมแม่จะยังมีคุณภาพหรือไม่
น้ำนมแม่ยังมีคุณภาพเสมอแม้ว่าแม่ขาดอาหาร โดยธรรมชาติร่างกายของแม่จะคงคุณค่าของน้ำนมไว้เพื่อลูก ยกเว้นแม่อยู่ในภาวะขาดอาหารรุนแรง
6. ถ้าแม่ขาดไอโอดีน นมแม่จะยังมีคุณภาพหรือไม่
แม้ว่าปริมาณไอโอดีนในนมแม่ขึ้นอยู่กับปริมาณไอโอดีนที่แม่ได้รับ แต่ก็ไม่เป็นเหตุผลที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมผงแทนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หากแม่ขาดไอโอดีนควรแนะนำแม่ให้ได้รับไอโอดีนจากอาหารให้เพียงพอ เช่น ใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหาร ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กที่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งสามารถทำได้และดีกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผง
7. ทารกที่กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ต้องเสริมธาตุเหล็กหรือไม่
ในทารกที่คลอดครบกำหนด การให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวล้วน ๆ 6 เดือน ทารกจะได้รับธาตุเหล็กในน้ำนมแม่อย่างเต็มที่ ธาตุเหล็กนั้นจะถูกดูดซึมได้เต็มที่ จากการศึกษาพบว่า ถ้าแม่ไม่ขาดธาตุเหล็ก การให้นมแม่อย่างเดียว จะทำให้ทารกได้รับธาตุเหล็กเพียงพอ แต่ถ้ามีการนำอาหารอื่นมาให้ทารกด้วย อาหารอื่นจะรบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กจากน้ำนมแม่ เช่น เคยดูดซึมได้ร้อยละ 80 ก็จะเหลือเพียงร้อยละ 20 ทำให้ทารกมีโอกาสขาดธาตุเหล็กในระยะ 6 เดือนแรกได้
ในทารกคลอดก่อนกำหนด จำเป็นต้องมีการเสริมธาตุเหล็กในระยะอายุ 2 - 3 เดือนเนื่องจากทารกคลอดออกมาก่อนที่แม่จะส่งผ่านธาตุเหล็กมาให้ได้ทัน ยิ่งคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไร ต้องระวังปัญหาขาดธาตุเหล็กมากเท่านั้น
ในการดูแลแบบองค์รวม จึงต้องดูแลแม่ให้ได้รับอาหาร วิตามิน เกลือแร่ โดยเฉพาะธาตุเหล็ก ไอโอดีน และโฟเลต อย่างเพียงพอ ทั้งระยะตั้งครรภ์ และระยะให้นมลูก จะทำให้ทารกได้รับธาตุต่าง ๆ รวมทั้งธาตุเหล็กจากนมแม่ได้เพียงพอ
8. การเติมสาร DHA ในนมผง ทำให้ทารกฉลาดได้จริงหรือ
ไม่จริง ยังไม่มีงานวิจัยที่สามารถยืนยันว่าการเติมสารใด ๆ ในนมผงแล้วทำให้ทารกฉลาดได้ และยังไม่มีงานวิจัยที่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจนว่า การเติมสาร DHA ในนมผงทำให้ทารกฉลาด แต่มีหลักฐานชัดเจนว่าทารกที่ได้รับนมแม่ฉลาดกว่าทารกที่เลี้ยงด้วยนมผงอย่างมีนัยสำคัญ
9. นมผงที่มีสารสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันการติดเชื้อในทารกได้จริงหรือ
ไม่จริง งานวิจัยเกี่ยวกับการเติมสารสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในนมผงยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจนว่าทำให้ทารกติดเชื้อลดลงจริง แต่มีหลักฐานชัดเจนว่าทารกที่ได้รับนมแม่มีการติดเชื้อน้อยกว่าทารกที่เลี้ยงด้วยนมผงอย่างมีนัยสำคัญ
10. นมผงมีสารอาหารมากกว่านมแม่จริงหรือ
ไม่จริง เพราะนมผงมีสารอาหารแค่ 60 ชนิด ส่วนนมแม่มีมากกว่า 200 ชนิด
11. นมผงมีโปรตีนครบกว่านมแม่จริงหรือ
ไม่จริง เพราะเป็นโปรตีนคนละสายพันธุ์ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ แม้ว่าโปรตีนในนมผงนั้นจะได้ปรับปริมาณให้ใกล้เคียงนมแม่แล้วก็ตาม
12. กินนมแม่ช่วยให้ครอบครัวประหยัดได้เท่าไร
ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายการซื้อนมผงปีละประมาณ 48,000 บาท ต่อเด็ก 1 คน หรือประมาณเดือนละ 4,000 บาท
13. การที่แม่ได้รับตัวอย่างนมผงหลังคลอดมีผลเสียอย่างไร
มีโอกาสใช้นมผงง่ายขึ้น ส่งผลให้ลูกดูดนมแม่น้อยลง ทำให้การสร้างน้ำนมแม่น้อยลง และแห้งไปในที่สุด ทำให้แม่ต้องหันไปใช้นมผงชนิดนั้น
14. การที่แม่ได้รับตัวอย่างนมผงจากโรงพยาบาล คลีนิค สถานพยาบาล หรือบุคลากรอื่น ๆ มีผลเสียอย่างไร
1. แม่เกิดไม่มั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และอาจใช้นมผงในการเลี้ยงลูกแทนนมแม่
2. เกิดความเข้าใจผิดคิดว่านมผงยี่ห้อที่ได้รับแจกจะใช้เลี้ยงลูกได้ดี เพราะได้รับแจกจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือ
15. การโฆษณา ประชาสัมพันธุ์นมผงผ่านสื่อต่าง ๆ มีอิทธิพลกับแม่อย่างไร
ทำให้แม่หลงเชื่อ และหันไปใช้นมผงมากขึ้น เพราะสื่อโฆษณามักจะแสดงภาพเด็กที่แข็งแรง น่ารัก และใช้ชื่อภาษาอังกฤษบอกส่วนประกอบของนม เช่น DHA, AA สิ่งเหล่านี้ทำให้แม่เข้าใจว่านมผงมีคุณค่าตามโฆษณาดังกล่าว
16. ทำไมจึงต้องมีหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็ก (Code)
เนื่องจากการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็กในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไปทั่วโลก และไม่มีมาตรการในการควบคุม ประเทศสมาชิกทั่วโลกจึงเห็นพ้องต้องกันว่า ต้องมีมาตรการควบคุมการตลาดที่ผิดจริยธรรม จึงมีมติเป็นเอกฉันท์รับรองหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดในการประชุมสมัชชาสาธารณสุขโลกปี พ.ศ. 2524 และให้แต่ละประเทศไปดำเนินการจัดทำเป็นกฎหมาย หรือกฎระเบียบที่เข้มแข็ง
17. ทำไมต้องผลักดันหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก (Code) ให้เป็นกฎหมาย
เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องปรามกลยุทธ์การตลาดที่ขาดจริยธรรม ที่บั่นทอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ คุ้มครองแม่จากการได้รับอิทธิพลการโฆษณา ที่ทำให้แม่เข้าใจผิดว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมผงไม่แตกต่างจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเป็นการปกป้องสิทธิที่เด็กควรได้รับนมแม่ ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ (Convention on the Rights of the Child: CRC)
18. หากหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก (Code) เป็นกฎหมาย (พ.ร.บ. การตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก) แล้ว จะช่วยส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างไร
เมื่อเป็นกฎหมายแล้วทำให้การโฆษณาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ จะสามารถเอาผิดและทำการลงโทษผู้ละเมิดได้ ซึ่งจะทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นได้
19. ในระหว่างที่ พ.ร.บ.การตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กยังไม่มีผลบังคับใช้ จะมีวิธีการดำเนินการเพื่อป้องปรามผู้ละเมิดหลักเกณฑ์อย่างไร
ใช้ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน ซึ่งมีปัญหาไม่ครอบคลุมกับการกำกับดูแลการตลาดในรูปแบบใหม่่ ๆ และข้อกำหนดของหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก (Code)
20. บุคลากรสาธารณสุขมีบทบาทหน้าที่ในการปกป้องตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก (Code) อย่างไร
1. ดูแลไม่ให้มีการรับบริจาคหรือแจกจ่ายนมผสมแก่แม่หรือครอบครัวที่มีทารกและเด็กเล็ก
2. เฝ้าระวังการกระทำใด ๆ ที่ละเมิด Code และส่งรายงานการละเมิดพร้อมหลักฐานมายังกรมอนามัย
ถึงแม้ในปัจจุบัน "แม่รุ่นใหม่" จำนวนมากจะมีความรู้ความเข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น แต่เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมในด้านต่าง ๆ รวมถึงข้อจำกัดในการดำเนินชีวิตของแม่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคมากมายที่มีผลกระทบต่อความคิดและพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การชักจูงโน้มน้าวของบุคคลแวดล้อมที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการให้นมเด็ก การให้คำแนะนำที่ไม่เพียงพอเหมาะสมของบุคลากรทางการแพทย์ และการโฆษณาจูงใจของผลิตภัณฑ์นมผสม และอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เหล่านี้ล้วนส่งผลให้แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ
การผลักดันร่าง พ.ร.บ.การตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เป็นกฎหมายที่ประกาศใช้ในอนาคต จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยได้มากขึ้นนั่นเอง
สำหรับผู้ดำเนินการเผยแพร่เอกสารชิ้นนี้ อันได้แก่
- คณะทำงานวิชาการ เครือข่ายพัฒนากฎหมายการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทารกและเด็กเล็ก
- กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย
- ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
- แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอบคุณที่มาจาก Manager Online
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 37,904 ครั้ง เปิดอ่าน 14,252 ครั้ง เปิดอ่าน 26,259 ครั้ง เปิดอ่าน 26,968 ครั้ง เปิดอ่าน 19,868 ครั้ง เปิดอ่าน 33,763 ครั้ง เปิดอ่าน 11,823 ครั้ง เปิดอ่าน 103,560 ครั้ง เปิดอ่าน 15,586 ครั้ง เปิดอ่าน 45,705 ครั้ง เปิดอ่าน 47,142 ครั้ง เปิดอ่าน 67,938 ครั้ง เปิดอ่าน 31,631 ครั้ง เปิดอ่าน 50,669 ครั้ง เปิดอ่าน 47,975 ครั้ง เปิดอ่าน 12,563 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 18,936 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,839 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 25,401 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,112 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 35,025 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,576 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 17,184 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,810 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,383 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,918 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,884 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,203 ครั้ง |
|
|