Advertisement
|
ทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ (ภาพทั้งหมดจากคลิปอธิบายการไม่มีชั้นบรรยากาศบนดาวอังคารจากนาซา) |
|
|
แม้ว่ามีการศึกษาที่ชี้ว่าดาวอังคาร (อาจจะ) ไม่มีสภาพที่ชุ่มน้ำ หรืออบอุ่น แต่นักวิทยาศาสตร์ไม่น้อยก็เชื่อว่าเมื่อนานมาแล้วดาวแดงเคยมีสภาพบรรยาากาศที่หนาแน่นพอที่จะทำให้มีน้ำในรูปของเหลวอยู่บนพื้นผิวได้ และหากเป็นเช่นนั้นดาวอังคารก็น่าจะมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของจุลินทรีย์
หากแต่ด้วยเหตุผลบางประการดาวอังคารได้สูญเสัยบรรยากาศส่วนใหญ่ไปในอวกาศ ทำให้บรรยากาศที่บางเบาไม่สามารถรักษาน้ำไว้ที่พื้นผิวดาวเคราะห์ได้ สภาพปัจจุบันของดาวเพื่อนบ้านดวงนี้จึงทั้งแห้งแล้งและหนาวเหน็บ
ยูนิเวอร์สทูเดย์ ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์เองก็ยัง ไม่แน่ใจว่าการสูญเสียบรรยากาศของดาวอังคารนั้นเกิดขึ้นอย่างไรหรือเหตุใดจึงเกิดขึ้น แต่หนึ่งในข้อสันนิษฐานที่จะอธิบายเรื่องนี้คือกระบวนการที่เรียกว่า “สปัตเตอริง” (sputtering) ซึ่งในกระบวนการนี้อะตอมจะถูกกระแทกออกจากชั้นบรรยากาศเนื่องจากการพุ่งชนของอนุภาคที่มีพลังงานสูง
เหตุเพราะดาวอังคารไม่มีสนามแม่เหล็กที่มีความเข้มสูง บรรยากาศของดาวเคราะห์จึงถูกลมสุริยะกร่อนไปเรื่อยๆ ดังแสดงในคลิปจากองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) |
นอกจากนี้ สภาพของระบบสุริยะในยุคเริ่มต้นนั้นยังเสริมให้กระบวนการสปัตเตอริงรุนแรงขึ้น และด้วยเหตุนี้จึงทำให้การสูญเสียบรรยากาศของดาวอังคารนั้นเกิดขึ้นจากหลายกลไกที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน
อย่างไรก็ดี นาซากำลังจะส่งยานอวกาศมาเวน (MAVEN) หรือยานมาร์สแอทโมสเฟียร์แอนด์โวลาไทล์อีโวลูชัน (Mars Atmosphere and Volatile Evolution) ขึ้นไปหาคำตอบว่าเกิดอะไรขึ้นกับชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร
|
|
นาซาวางแผนส่งยานมาเวนขึ้นไปหาคำตอบว่าทำไมดาวอังคารไม่มีชั้นบรรยากาศ |
|
|
ยานดังกล่าวมีเซนเซอร์ 8 ตัวที่จะทำหน้าที่ในการค้นคำตอบดังกล่าว และยังเป็นยานอวกาศลำแรกที่จะทำการวัดชั้นบรรยากาศของดาวอังคารโดยตรง รวมถึงเป็นภารกิจแรกที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทำความเข้าใจถึงการสูญเสียคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซอื่นๆ ทั้งในอดีตและปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้น
ตามกำหนดยานมาเวนจะถูกส่งไปดาวอังคารในปี 2013 ซึ่งมีหน้าต่างการปล่อยจรวด (launch window) ระหว่าง 18 พ.ย.-7 ธ.ค.2012 และจะเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคารประมาณกลางเดือน ก.ย.2014 และจะปฏิบัติภารกิจต่อเนื่องไปอย่างน้อง 1 ปีโลก หรือประมาณครึ่งปีดาวอังคาร โดยจะส่งข้อมูลกลับมาว่าก๊าซในบรรยากาศดาวอังคารนั้นสูญเสียสู่อวกาศไปอย่างไรและเร็วแค่ไหน และใช้รายะเอียดดังกล่าวเป็นข้อสันนิษฐานว่าเกิดอะไรขึ้นในอดีต
การศึกษาการสูญเสียบรรยากาศไปในอวกาศของดาวอังคารนี้ ยูนิเวอร์สทูเดย์ ระบุว่า จะเผยให้เห็นร่องรอยเกี่ยวกับการปะทะของอนุภาคมีประจุที่เปลี่ยนแปลงภาพภูมิอากาศ ภูมิศาสตร์ และธรณีเคมีของดาวอังคาร ซึ่งสภาพทั้งหมดนั้นมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจว่า ดาวอังคารมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตหรือไม่
|
|
ภาพจำลองสาธิตอนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์พุ่งปะทะชั้นบรรยากาศดวงอาทิตย์ |
|
|
|
|
อนุภาคมีประจุชนอะตอมก๊าซบรรยากาศบนดาวอังคาร ทำให้แตกตัวเป็นไอออน |
|
|
|
|
ไอออนวิ่งไปตามเส้นสนามแม่เหล็กจากดวงอาทิตย์ |
|
|
|
|
บางครั้งไอออนก็ปะทะอะตอมก๊าซอื่นๆ ของดาวอังคารจนกระเด็นหลุดสู่อวกาศ |
|
|
|
|
ดาวอังคารปัจจุบันแห้งแล้งและเหน็บหนาว |
|
|
|
|
ยานมาเวน |
|
|
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 16,680 ครั้ง เปิดอ่าน 250,243 ครั้ง เปิดอ่าน 34,611 ครั้ง เปิดอ่าน 21,013 ครั้ง เปิดอ่าน 18,708 ครั้ง เปิดอ่าน 11,639 ครั้ง เปิดอ่าน 22,157 ครั้ง เปิดอ่าน 33,523 ครั้ง เปิดอ่าน 68,584 ครั้ง เปิดอ่าน 25,021 ครั้ง เปิดอ่าน 10,524 ครั้ง เปิดอ่าน 23,906 ครั้ง เปิดอ่าน 138,043 ครั้ง เปิดอ่าน 26,154 ครั้ง เปิดอ่าน 62,008 ครั้ง เปิดอ่าน 18,746 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 22,288 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,485 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,912 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,208 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,497 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,639 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 86,919 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,405 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,080 ครั้ง |
เปิดอ่าน 23,516 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,438 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,019 ครั้ง |
|
|