Advertisement
"รู้จักตนเอง"
..........การรู้ตนเอง หมายถึงอะไร? จะตอบได้อย่างง่ายๆคือการ "รู้" ถึงตัวตนของเรา และเข้าใจทุกสิ่งที่ตัวเราเป็น รวมไปถึงการควบคุมตัวเราอย่างมีประสิทธิภาพ
"แต่เราก็รู้ตัวเองอยู่แล้วนี่!!!" หลายคนอาจคิดเช่นนี้
..........ฉะนั้นลองพิจารณาคำถามเหล่านี้กัน
- ท่านสามารถอธิบายสาเหตุแห่งพฤติกรรมในตัวท่านได้หมดไหม?
- ท่านสามารถอธิบายสาเหตุแห่งอารมณ์ในตัวท่านได้หมดไหม?
- ท่านสามารถอธิบายสาเหตุแห่งความคิดอ่าน ทัศนคติ และแนวทางการมองโลกในตัวท่านได้หมดไหม?
- ท่านสามารถอธิบายหลักคุณธรรมจริยธรรมที่ท่านมีได้หมดไหม?
..........นี่เป็นเพียงคำถามพื้นๆ ที่จะตรวจดูว่าท่านรู้จักตนเองมากน้อยแค่ไหน และหลายๆคนก็ไม่สามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้หมด
..........การเข้าถึง และรู้จักตัวตนของตนเอง มีอยู่ด้วยกันสองทางใหญ่ๆ คือทางรูปธรรม คือทางกาย สัมผัส และอีกทางหนึ่งคือทางนามธรรม คือทางจิต วิญญาณ ความรู้สึก
..........ทางรูปธรรมเราสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะจับต้องได้เป็นชิ้นอัน เรารู้ว่าเราหน้าตาเป็นเช่นไร เมื่อเรามองดูรูปภาพเราสามารถระบุได้ว่านี่เป็นรูปของเรา เมื่อได้ยินเสียงสามารถระบุได้ว่าเป็นเสียงเรา เมื่อสัมผัสสามารถระบุได้ว่านี่เป็นกายเรา เพราะมนุษย์รับรู้รูปกายได้รวดเร็ว และนั่นเป็นการรู้จักตัวเองขั้นพื้นฐานที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว (ตั้งแต่จำความได้ก็สามารถระบุความเป็นตัวเราได้แล้ว)
..........ทว่ายังมีอีกทางที่เข้าถึงได้ไม่ครบถ้วนนัก นั่นคือนามธรรม
..........ดั่งที่นักจิตวิทยาท่านหนึ่งเคยพูดไว้ว่า จิตใจคนเราเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่ลอยน้ำอยู่ เราเห็นแต่เพียงส่วนที่โผล่พ้นน้ำ มันอาจดูมหึมา แต่มันก็เป็นเพียงส่วนน้อยเมื่อเทียบกับส่วนที่จมอยู่ใต้ผิวน้ำ และส่วนนั้นก็ไม่ง่ายนักที่เราจะทำความเข้าใจ (แต่ก็ไม่ยากเกินไปที่จะดำลงไปสำรวจมัน)
..........ทุกๆความคิดอ่าน อากัปกริยา ทัศนคติ อารมณ์ที่เกิดในจิตใจเรา ล้วนแล้วแต่เป็นนามธรรมอันเข้าถึงได้ด้วยการตระหนักระลึกรู้ โดยประสาทสัมผัสทางกายไม่อาจช่วยได้ เราไม่สามารถเข้าถึงอารมณ์หนึ่งๆได้ด้วยการสัมผัส แต่การสัมผัสสามารถก่อให้เกิดอารมณ์หนึ่งๆได้ (เช่นการลูบผ้ากำมะหยี่อาจให้ความรู้สึกสบาย เกิดอารมณ์ในแง่บวก) ฉะนั้นจึงต้องเตือนตนเสมอว่า ความสอดคล้องระหว่างกาย(รูปธรรม) และจิต(นามธรรม) เป็นสิ่งที่เกิดอย่างสอดคล้องกัน แต่ไม่ใช่วิธีการเข้าถึง (เพราะมีหลายคนที่หลงอยู่ในวังวนนี้ และคิดว่าการรับรู้ทางประสาทสัมผัสจะนำไปสู่ความเข้าถึงตัวตนทางจิตวิญญาณ)
..........หนทางเดียวที่เราจะเข้าถึงนามธรรมในตัวตนเราได้คือต้องอาศัยนามธรรมในตัวตนเราเอง (อ่านแล้วก็ชวนงงนัก) เพราะจิตใจมนุษย์ไม่ใช่สิ่งที่เรียบง่าย แต่มันมีหลายมิติ ซับซ้อน กว้างขวางไร้ขอบเขต และเข้าถึงได้ยาก ฉะนั้นการที่เราจะ "ออกสำรวจ" ตัวเราเอง ก็ต้องใช้ทรัพยากรภายใน คือจิตใจเราเอง
..........และรูปแบบของจิตใจก็มีความละเอียด-หยาบ มากน้อยกับไป โดยสามารถแบ่งออกเป็นสามกลุ่มง่ายๆ ตามความละเอียดคือ อารมณ์ เหตุผล และความเหมาะสม
..........อารมณ์คือกลุ่มนามธรรมในจิตใจที่มีความละเอียดน้อยที่สุด กระทั่งอารมณ์ที่มีความละเอียดอ่อนมากที่สุดก็ยังหยาบกว่าเหตุผล แต่อารมณ์กลับมีอิทธิพลกับมนุษย์มากกว่าสิ่งอื่นใดทั้งปวง เปรียบง่ายๆให้อารมณ์เป็น หิน เมื่อหินกระทบกายเรา เราสามารถรู้สึกถึงมันได้อย่างรวดเร็ว (ยิ่งมันมาเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งรู้สึกรุนแรงเท่านั้น เหมือนหินที่ถูกขว้าง ยิ่งแรงก็ยิ่งเจ็บ) และอารมณ์เองก็เป็นตัวการที่ทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆมากมายนักทั้งดี-ร้าย เพราะอารมณ์นั่นเองที่เป็นตัวขับดันให้กายเรา "กระทำ" การใดๆลงไปในโลกแห่งรูปธรรม
..........การเข้าถึงอารมณ์อันเกิดแก่ตัวเราจึงเป็นจุดเริ่มต้นแรกสุดในการจะเข้าถึงตัวตนของเราเอง
..........แล้วจะอาศัยอะไรล่ะ?
..........ก็เหตุผลน่ะสิ
..........เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแต่เหตุกับผล อารมณ์ก็เช่นกัน ทุกๆอารมณ์ที่เกิดมาในจิตใจย่อมต้องมีเหตุอันจูงใจให้เกิดขึ้น เรารักใคร ก็เพราะเขาดีกับเรา เพราะถูกจริตเรา เราเกลียดใครเพราะเขาร้ายกับเรา เพราะเขาไม่ถูกจริตเรา ทุกอารมณ์มีเหตุอันก่อให้เกิดเสมอ ฉะนั้นการไตร่ตรองด้วยเหตุและผลในบ่อเกิดแห่งอารมณ์นั้นจึงเป็นการเข้าถึงตัวตนในชั้นแรก
..........การเข้าถึงทุกอารมณ์ในตัวเราจึงเป็นหลักพื้นฐานที่สุด ที่จะสามารถตอบทุกคำถามอันเกิดแก่จิตใจเราได้ และผู้ที่สามารถตอบ สามารถหาเหตุอันเกิดแก่อารมณ์ได้ครบถ้วน ก็คือผู้ที่เข้าถึงตนเองในขั้นแรกสุด
..........ทว่าการหาเหตุแห่งอารมณ์ได้ก็เป็นเพียงการรู้ถึงที่มาเท่านั้น เป็นเพียงการรู้จักตนเองโดยปราศจากการควบคุม เป็นเพียงการระลึกรู้ถ่ายเดียว เช่น เราโกรธ เรารู้ว่าโกรธเพราะอะไร ก็เพียงเท่านี้ แต่ความโกรธขึ้งนั้นก็ยังดำรงอยู่ เพราะเหตุและผลไม่สามารถ "แก้ไข" อะไรได้ มันทำได้แต่เพียง "ตอบปัญหา" และ หาเหตุให้เราเท่านั้น
..........ฉะนั้นการรู้จักอารมณ์ของตนเองก็เป็นเพียงการรู้จักตนเองอย่างผิวเผินเช่นกัน เพราะเมื่อเรารู้แล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือควบคุมมันได้ นั่นเรียกว่าเราเข้าถึงตัวเองได้ละหรือ? ต่างอะไรกับการที่เรารู้จักก้อนหินสักก้อน หรือตั๊กแตนสักตัว เราไม่สามารถควบคุมอะไรมันได้ ก็เหมือนกับการปล่อยให้รูปธรรมคือกาย กระทำการใดๆตามแต่นามธรรมที่หยาบที่สุดคืออารมณ์ สั่งการ โดยที่เรารับรู้แต่เพียงสาเหตุอันก่อให้เกิดอารมณ์เท่านั้น
..........แล้วเราจะควบคุมมันได้อย่างไร?
..........ก็อาศัยนามธรรมที่ละเอียดที่สุด คือความเหมาะสมนั่นอย่างไรเล่า!
..........ความเหมาะสม กาละเทศะ มารยาท จริยธรรม คุณธรรม ศีลธรรม มนุษยธรรม ฯลฯ สุดแล้วแต่จะเรียกเช่นไรก็มีความหมายเดียวกันทั้งสิ้น คือรูปแบบจิตใจที่มีความละเอียดอ่อนมากที่สุด และเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องเข้าถึงมากที่สุด เพราะสิ่งนี่เองที่จะเป็นตัวคัดกรองและควบคุมอารมณ์ โดยอาศัยข้อมูลจากเหตุผลที่เรามี
..........เปรียบง่ายๆคือ หากเราเกิดอารมณ์อยากทานกล้วยแขกสักถุงทั้งๆที่เจ็บคอ อารมณ์อยากจะถูกหาที่มาโดยเหตุและผล อาจจะเป็นว่าเพื่อนที่นั่งข้างๆพูดถึงร้านกล้วยแขกอร่อย หรืออาจจะเดินผ่านร้านกล้วยแขกและได้กลิ่นน้ำมันทอดอันแสนหอม นั่นคือเหตุผลสามารถหาคำตอบถึงที่มาของอารมณ์ "อยาก" นั้นได้แล้ว และสุดท้ายก็เป็นหน้าที่ของความเหมาะสมที่จะคัดกรองว่าอารมณ์นั้นๆที่เกิดขึ้นเหมาะสมหรือไม่ กรณีนี้ตอบได้ว่าไม่ เพราะทั้งๆที่เจ็บคอแต่ยังทานกล้วยแขกเข้าไปสักถุงก็คงไม่เป็นการดีแน่ (อาจจะไอค่อกแค่กจนเกิดอารมณ์อยากทานยาแก้ไอเพิ่มขึ้นอีกก็เป็นได้) ฉะนั้นแล้วผลสรุปออกมาว่าอารมณ์อยากกล้วยแขกในครั้งนี้ก็เป็นอันตกไป ไม่สามารถทำให้สัมฤทธิ์ผลได้
..........ทุกอารมณ์อันเกิดแก่ตัวเราก็ใช้ระบบนี้ด้วยกันทั้งนั้น หากแต่ยากง่ายต่างกันไป ฉะนั้นการจะเข้าถึงตนเองก็จะต้องรู้จักทั้งสามประการนั้นอย่างถี่ถ้วน
วันที่ 30 ม.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 57,048 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,810 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,862 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,295 ครั้ง |
เปิดอ่าน 176,569 ครั้ง |
|
|