Advertisement
|
เมฆสีรุ้ง ณ สนามบินสุวรรณภูมิ (ภาพโดย : ทัศนัย สุขขีวรรณ : Fuji FinePix S6500fd / F8 / 1/1250 วินาที / ISO 200 / -2/3 stop) |
|
|
สำหรับช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วง โลว์ซีซัน (LOW SEASON) ของการถ่ายภาพดาว ซึ่งประเทศไทยนั้น ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคมจะเป็นช่วงที่มีฝนตกมากที่สุดในรอบปี ถ้าอย่างนั้นวันนี้เรามาถ่ายภาพท้องฟ้ากันดีกว่าครับ หากเราลองสังเกตท้องฟ้าในช่วงฤดูฝนบ่อยครั้ง เราจะมีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์ต่างๆ ในบรรยากาศได้มากมาย เช่น ช่วงหลังฝนตกในช่วงที่มีแสงอาทิตย์ มักจะเกิดรุ้งกินน้ำในทิศตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ทรงกลดเกิดในช่วงเวลากลางวัน แต่ยังมีอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเช่นกัน ก็คือ เมฆสีรุ้ง (Rainbow Clouds) หากลองสังเกตท้องฟ้าบ่อยๆ ก็ไม่ใช้เรื่องยากที่จะมีโอกาสได้เห็นเมฆสีรุ้ง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ตื่นเต้นและน่าถ่ายภาพอีกปรากฏการณ์หนึ่ง เอาหล่ะครับเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า เมฆสีรุ้ง (Rainbow Clouds) ที่ใครๆเรียกกันจริงๆแล้วมันคืออะไร
ทำความเข้าใจกันก่อน
เมฆสีรุ้ง (Rainbow Clouds) ภาษาทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า Irisation (คำว่า irisation น่าจะมาจากคำว่า Iris ซึ่งในภาษากรีกคือ เทพธิดาแห่งรุ้ง) เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกิดจากการที่แสงอาทิตย์สีขาวตกกระทบเม็ดน้ำขนาดต่างๆ ในเมฆจางๆ ซึ่งเป็นเมฆที่มีจำนวนหยดน้ำไม่หนาแน่นมากนัก เมื่อแสงตกกระทบหยดน้ำแต่ละหยด จะเกิดการหักเหเปลี่ยนทิศทางไปจากแนวเดิม แต่เนื่องจากแสงสีต่างๆ (ที่ประกอบขึ้นเป็นแสงสีขาว) หักเหได้ไม่เท่ากัน ผลก็คือ แสงสีขาวแตกออกเป็นสีรุ้ง และเนื่องจากในเมฆจางๆ ที่ว่านี้มีเม็ดน้ำขนาดต่างๆ กัน ทำให้สีรุ้งสีหนึ่ง (เช่น สีเขียว) ที่หักเหออกจากเม็ดน้ำขนาดหนึ่งๆ ซ้อนทับกับสีรุ้งอีกสีหนึ่ง (เช่น สีเหลือง) ที่มาจากเม็ดน้ำอีกขนาดหนึ่ง จึงทำให้มองเห็นสีรุ้งมีลักษณะเหลือบซ้อนทับกันอย่างสลับซับซ้อน บางทีก็ซ้อนกันเป็นชั้นๆ จากประสบการณ์ของผมแล้ว เวลาที่สังเกตเห็นบ่อยๆ จะเป็นช่วงเวลาเย็นที่ดวงอาทิตย์กำลังลับขอบฟ้า แต่ช่วงเวลาอื่นก็เห็นเช่นกันครับแต่ไม่บ่อยเท่าช่วงเย็นครับ หรือหากสนใจจริงๆ ขอแนะนำหนังสือชื่อ คู่มือเมฆ & ปรากฏการณ์ท้องฟ้า Cloud Guidebook ของ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องปรากฏการณ์ทางแสงบนท้องฟ้าไว้มากเลยทีเดียว หรือ เข้าไปอ่าน (ตามลิงค์ครับ http://cloudloverclub.com/pages/first-page/) ซึ่งจะมีข้อมูลปรากฏการณ์ในบรรยากาศโลกมากมายครับ |
|
เมฆสีรุ้งที่มีลักษณะเหลือบซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ (ภาพโดย : ปิยพงศ์ สายแปง : Canon 50D / F16 / 1/160 วินาที / ISO 200) |
|
|
เทคนิคและวิธีการ
การถ่ายภาพเมฆ เป็นความหลงไหลของคนหลายๆ คน โดยเป็นความสนใจต่อความสวยงาม และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งของเมฆ เป็นจุดเริ่มของการถ่ายภาพเมฆก็คงจะเป็นการหมั่นสังเกตท้องฟ้าบ่อย และศึกษาเมฆให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ซึ่งนั้นจะทำให้ผู้ที่รักการถ่ายภาพเมฆหรือปรากฏการณ์ในบรรยากาศ รู้ว่าช่วงเวลา ทิศทา และตำแหน่งใหน อาจจะเกิดปรากฏการณ์อะไร รวมทั้งการสังเกตลักษณะที่เปลี่ยนแปลงของก้อนเมฆด้วยครับ และ
ในการถ่ายภาพเมฆสีจริงๆ แล้วไม่จำเป็นต้องใช้กล้องราคาแพงมากมายครับ กล้องดิจิตอลในปัจจุบันก็สามารถถ่ายภาพสวยๆได้เช่นกัน แต่ผมอาจจะแนะนำโดยรวมเลยแล้วกันนะครับ คงไม่ว่ากันนะครับ เอาล่ะครับมาดูกันว่ามีเทคนิควิธีการอย่างไรกันบ้าง
1. ปรากฏการณ์เมฆสีรุ้ง เกิดจาก เมฆฝนฟ้าคะนอง Thunder Cloud ขนาดใหญ่ หรือที่นักอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า Cumulonimbus ซึ่งปกติแล้วจะมีความสูงอยู่ในช่วง 7-10 กม. และอาจสูงสุดได้ถึง 23 กม. ดังนั้นหากเราสังเกตเห็นเมฆ โดยเมฆสีรุ้ง ที่อาจจะเกิดจะอยู่ด้านเดียวกับดวงอาทิตย ลองหมั่นสังเกตการเปลี่ยนแปลงของเมฆบ่อยๆ ซึ่งอาจเกิดปรากฏการณ์เมฆสีรุ้ง ให้เราได้ถ่ายภาพได้
2. ความไวแสงของกล้อง สำหรับกล้องดิจิตอลนั้นสามารถเลือกความไวแสงของกล้องได้ ผมแนะนำว่าควรเลือกค่าความไวแสงที่ต่ำที่สุดอาจจะเป็น 100 หรือ 200 แล้วแต่รุ่นและยี่ห้อของกล้อง ทั้งนี้เพราะแสงของดวงอาทิตย์มีความสว่างค่อนข้างมากอยู่แล้ว ดังนั้นการเลือกความไวแสงสูงๆอาจทำให้เกิดจุดรบกวน (Noise) หรือเกรนภาพที่ค่อนข้างหยาบได้ซึ่งจะส่งผลเสียต่อภาพเมื่อนำไปขยายใหญ่
3. รูรับแสง สำหรับการถ่ายภาพเมฆสีบนท้องฟ้าบริเวณกว้าง ควรตั้งรูรับแสงให้แคบเพื่อให้ได้ภาพชัดทั่วทั้งภาพ สำหรับค่าที่เหมาะสมน่าจะอยู่ประมาณ f8-f16 ซึ่งจากประสบการณ์แล้วค่ารูรับแสงที่ชัดที่สุดดีที่สุดของเลนส์ส่วนใหญ่มักอยู่ที่ค่าประมาณนี้ จะเห็นได้ว่าตัวแปรสองตัวแรกเราสามารถกำหนดค่าได้แล้ว ที่เหลือก็มีเพียงความเร็วชัตเตอร์เท่านั้น ซึ่งทั้งนี้อาจใช้ระบบกึ่งอัตโนมัติ หรือโหมด A (Aperture) ตามที่กล่าวมาแล้ว กล้องจะเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมให้เอง
4. วิธีการวัดแสงที่ดีที่สุดคือการเลือกวัดแสงเฉพาะจุด กล้องส่วนใหญ่จะมีระบบวัดแสงที่ชาญฉลาด กล้องจะพยายามทำให้ภาพมีแสงที่สว่างเห็นรายละเอียดไม่มืดดำ ซึ่งอาจทำแสงสี หรือ เมฆจางกว่าที่เห็น การวัดแสงควรเลือกวัดบริเวณเมฆที่เป็นสีรุ้งก็ได้ครับ เพราะจุดนั้นเป็นจุดที่ต้องการให้แสงพอดี และปรับชดเชยการเปิดรับแสงโดยให้กล้องวัดแสงอันเดอร์ลงมาประมาณ 2/3 -1 สตอป หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับความเข้มแสงในช่วงเวลานั้นๆด้วย
5. ความเร็วชัตเตอร์ โดยปกติแล้วในการถ่ายภาพเมฆสีรุ้ง ให้สังเกตว่ากล้องเลือกความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมหรือไม่ โดยความเร็วชัตเตอร์ไม่ควรต่ำกว่า 1/125 วินาที เพราะหากต่ำกว่านี้ภาพเมฆอาจจะเบลอได้ เนื่องจากเมฆจะมีการเคลื่อนที่เปลี่ยนรูปร่างตลอดเวลาครับ อาจปรับความไวแสงเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสม
6. สำหรับกล้องดิจิตอล SLR หากปรากฏการณ์เกิดในช่วงกลางวัน อาจใช้ฟิลเตอร์ C-PL (Circular Polarlize Filter ) ร่วมกับการถ่ายภาพด้วย จะทำให้ฟ้าจะเข้ม เมฆจะเด่นขึ้น แต่ไม่ควรใช้กับปรากฏารณ์ที่เกิดในตอนเย็น เพราะจะทำให้ความเร็วชัตเตอร์ช้าเกินไป
7. การบันทึกข้อมูลควรเลือกรูปแบบไฟล์เป็น RAW format เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับเปลี่ยนแก้ไขภาพเพิ่มเติมในภายหลังได้อย่างยืดหยุ่นกว่าไฟล์แบบ JPEG |
|
เมฆสีรุ้งที่มีลักษณะซ้อนทับกันเป็นชั้นๆ ของเมฆ Cumulonimbus ก่อนเกิดฝนตกในช่วงเย็นทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศเดียวกับดวงอาทิตย์ (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon 5D Mark2 / F8 / 1/1250 วินาที / ISO 200 / -2/3 stop) |
|
|
|
|
เมฆสีรุ้งของเมฆ Cumulonimbus ซึ่งด้านหลังกท้อนเมฆนั่นคือดวงอาทิตย์ (ภาพโดย : ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ : Canon 5D Mark2 / F8 / 1/1250 วินาที / ISO 200 / -2/3 stop) |
|
|
|
|
ชื่อภาพ “เมฆภูเขาสีรุ้ง” (ภาพโดย : เอกราช รอดจากทุกข์ : Nikon D5000 / F11 / 1/1600 วินาที / ISO 200) |
|
|
|
|
ชื่อภาพ “สายรุ้ง พริ้วไหว หยอกล้อกับก้อนเมฆ” (ภาพโดย : เอกราช รอดจากทุกข์ : Nikon D5000 / F11 / 1/1600 วินาที / ISO 200) |
|
สำหรับปัจจุบันเราสามารถดูผลงานภาพถ่ายได้ทันทีจากหน้าจอของกล้องดิจิตอล แต่ถ้าเรารู้วิธีการที่ถูกต้องและเข้าใจเรื่องวัดแสงแล้ว ก็จะทำให้เราถ่ายภาพได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว เพราะช่วงที่เกิดปรากฏการณ์นั้น อาจเป็นช่วงเวลาที่สั้นๆ หากเราเสียเวลากับการตั้งค่าที่ไม่ถูกต้องแล้วอาจพลาดโอกาสที่จะเก็บภาพงามๆ ไปเลยก็ได้ และภาพเมฆสวยๆ ที่เห็นจากนิตยสารต่างๆ นั้นไม่ได้มาจากการถ่ายส่งๆไป แต่ผู้ถ่ายต้องคิดและพยามยามถ่ายภาพออกมาให้เหมือนกับที่ตาเห็น ซึ่งก็ต้องใช้ประสบการณ์อยู่บ้างครับ
หากใครถ่ายภาพเมฆสีรุ้งได้ ท่านสามารถเข้าไปแลกเปลี่ยนภาพเมฆและท้องฟ้าที่สวยงามและน่าตื่นตาตื่นใจ ในชมรมคนรักมวลเมฆ สาขา Facebook ได้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้ามาแลกเปลี่ยนภาพเมฆและท้องฟ้าที่สวยงามและน่าตื่นตาตื่นใจกว่า 1,000 ภาพแล้ว
********************* |
เกี่ยวกับผู้เขียน
ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”
“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”
อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน |
ขอบคุณที่มาจาก Manager Online
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 97,414 ครั้ง เปิดอ่าน 14,195 ครั้ง เปิดอ่าน 16,486 ครั้ง เปิดอ่าน 22,316 ครั้ง เปิดอ่าน 72,149 ครั้ง เปิดอ่าน 46,956 ครั้ง เปิดอ่าน 14,535 ครั้ง เปิดอ่าน 6,141 ครั้ง เปิดอ่าน 14,062 ครั้ง เปิดอ่าน 27,002 ครั้ง เปิดอ่าน 29,583 ครั้ง เปิดอ่าน 206,743 ครั้ง เปิดอ่าน 21,483 ครั้ง เปิดอ่าน 21,768 ครั้ง เปิดอ่าน 19,534 ครั้ง เปิดอ่าน 15,747 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 37,465 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 1,520 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 21,436 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,837 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 28,301 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,885 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 86,909 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,703 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,604 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,932 ครั้ง |
เปิดอ่าน 101,519 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,566 ครั้ง |
|
|