Advertisement
|
คุณยายเปี่ยม อายุ 60 ปี ใช้ชีวิตคู่กับสามีอย่างมีความสุข วางแผนว่าจะเดินทางท่องเที่ยวรอบโลกตามที่ตั้งใจไว้ ขณะยืนขึ้นรู้สึกเจ็บเข่าด้านซ้ายขึ้นมา พอลองยืดดูอาการก็หายไป จนไม่ได้สนใจอะไร ต่อมาเวลาผ่านไปอาการเจ็บเข่าเป็นมากขึ้น และรู้สึกเข่าไม่มีแรง ทำให้นัดเที่ยวที่เคยวางแผนไว้กับสามีก่อนหน้านี้ต้องถูกยกเลิกไป สามีพาคุณยายไปเอกซเรย์ที่เข่า
พบว่า เข่ามีสภาพสึกกร่อนอย่างมาก คุณหมอบอกว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากการที่กระดูกอ่อนผิวข้อต่อของเข่าสึกกร่อนและถูกทำลายลง ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดที่เข่าขึ้น วิธีที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยป้องกันจากโรคข้อเข่าเสื่อมนี้ได้ก็คือ การออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง รวมทั้งการทำกายภาพบำบัด ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเจ็บปวดของข้อเข่า และบริหารกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อเข่าให้มีความแข็งแรง เมื่อกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง จะช่วยรับน้ำหนักของร่างกายได้อย่างมั่นคงทำให้ข้อต่อไม่หลวมไม่สึกหรอง่าย เพราะเมื่อข้อต่อสึกหรอ จะทำให้ข้อหัวเข่าหลวมกว่าปกติ ทำให้รู้สึกว่าขาไม่มีแรง เพราะกล้ามเนื้อรอบ ๆ ข้อหย่อนตัว ร่วมกับอาการปวดทำให้ไม่อยากออกไปเที่ยว หรือชอปปิง
6 เดือนผ่านไป คุณยายได้ทำกายบริหารอย่างสม่ำเสมอ รู้สึกว่าเข่าแข็งแรงขึ้น เดินเหินได้กระฉับกระเฉงดี แต่เวลาขึ้นหรือลงบันได ก็ยังมีอาการเสียวแปล๊บ ที่ด้านในหัวเข่าซ้ายอยู่เหมือนเดิม
สามีคุณยายเห็นว่าอาการของคุณยายเป็นมานานแล้ว จึงพาไปโรงพยาบาล เห็นมีวิธีการรักษาอยู่หลายวิธี ทั้งการส่องกล้องเจาะเข่าเป็นรูเล็ก ๆ แล้วก็มองผ่านจอโทรทัศน์ดูสภาพภายในข้อว่าสึกหรอมากแค่ไหนแล้ว หรือการเปลี่ยนข้อเทียม ตัวคุณยายเองก็ยังไม่อยากจะทำถึงขนาดนั้น เพราะคิดว่า อาการข้อที่เสื่อมยังพอรับได้ และไม่อยากมีอะไรแปลกปลอมเข้าไปอยู่ในร่างกายตัวเอง
ได้ยินคุณหมอบอกว่ามีวิธีการรักษาข้อเสื่อมของคุณยายโดยการ “ผ่าตัดดัดเข่า” ก็สงสัยอยู่ว่าเป็นยังไง คุณหมอได้อธิบายให้ทราบว่า เป็นการผ่าตัดที่มีชื่อย่อว่าการผ่าตัด HTO ที่ปัจจุบันมีการผ่าตัดโดยแพทย์บางท่าน โดยเฉพาะการผ่าตัดแบบเหมือนรูปโดม และยึดตรึงกระดูกไว้ด้วยเหล็กลักษณะคล้ายเสาอากาศทีวีเล็ก ๆ กระทำโดยแพทย์อาวุโสบางท่าน ซึ่งมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ภาวะแทรกซ้อนน้อยและไม่รุนแรง หลังจากที่แผลหายสมบูรณ์ ก็สามารถกลับไปใช้งาน หรือเล่นกีฬาได้เหมือนเดิม
นอกจากนั้น คุณหมอยังเล่าให้ฟังอีกว่า วิธีนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2501 โดยนายแพทย์ Jackson ได้รายงานการผ่าตัด HTO ไว้ว่า
ใช้ในการรักษาอาการปวดเข่าจากข้อเข่าเสื่อม ซึ่งการทำ HTO อาศัยหลักการกระจายน้ำหนักที่ลงไปยังข้อเข่าด้านที่มีการสึกกร่อน ซึ่งมักเป็นข้อด้านใน (เหมือนของคุณยาย) ไปยังข้อเข่าด้านที่ยังเป็นปกติ ซึ่งมักเป็นด้านตรงข้าม และหลังทำการรักษายังพบว่า ข้อเข่าด้านที่แคบจะกว้างขึ้นได้ รวมถึงลักษณะถุงน้ำใต้กระดูก อ่อนจะหายไปเมื่อแรงกดที่ทำต่อข้อเข่าด้านที่สึกกร่อนลดลง ใครเหมาะที่จะทำการรักษาโดยวิธีนี้บ้าง ผู้ที่เหมาะสมที่จะทำการผ่าตัด HTO ได้แก่ ผู้ที่มีอาการปวดเข่าด้านในด้านเดียว โดยที่ผิวข้อด้านตรงข้ามยังสมบูรณ์เป็นปกติอยู่ และกระดูกต้องไม่พรุน ซึ่งการรักษาวิธีนี้จะได้ผลดี สิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับการเลือกผู้ป่วยที่เหมาะสม สุดท้าย คุณยายเปี่ยมเลือกที่จะรักษาโดยวิธีการผ่าตัดดัดเข่า และหลังจากนั้นคุณยายก็มีความสุข ได้ทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีความสุข และที่สำคัญสามารถวางแผนไปท่องเที่ยวได้ตามที่สัญญากับคุณตาไว้
ข้อมูลจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พันเอก นายแพทย์จิระเดช ตุงคะเศรณี ศัลยแพทย์ กระดูกและข้อ.
|
|
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ |
ไม่อยากตัดเข่า หรือทานยาประจำ เชิญ คลิ๊ก!!!
http://yim-health.blogspot.com
http://submit-submit.blogspot.com
http://submit.iblog.co.th
วันที่ 27 ม.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,188 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,726 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 10,520 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,236 ครั้ง |
เปิดอ่าน 40,471 ครั้ง |
เปิดอ่าน 57,362 ครั้ง |
เปิดอ่าน 19,138 ครั้ง |
|
|